วิศวฯ จุฬาฯ ร่วมกับ สถานีวิทยุจุฬาฯ จัดการประกวดนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมรอบชนะเลิศ (Final Pitching) ภายใต้โครงการ Envi Mission ภารกิจรักษ์สิ่งแวดล้อม ปีที่ 4 “Decode the Pipeline : Electrify the Future รวมพลังคิด(ส์) ฝ่าวิกฤตพลังงาน”

เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2565 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ สถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการประกวดนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมรอบชนะเลิศ (Final Pitching) ภายใต้โครงการ Envi Mission ภารกิจรักษ์สิ่งแวดล้อม ปีที่ 4 “ Decode the Pipeline : Electrify the Future รวมพลังคิด(ส์) ฝ่าวิกฤตพลังงาน ” ณ ห้องประชุม ดร.เทียม โชควัฒนา อาคารมงกฎสมมติวงศ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

.

.
ก่อนเริ่มการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ (Final Pitching) ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวต้อนรับและสรุปผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการฯ ที่ผ่านมา
.

ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล กล่าวว่า สถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะสื่อมวลชนได้ตระหนักถึงความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด ทั้งด้านการศึกษาและเผยแพร่ความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างความตระหนักรู้ (awareness) ผ่านรายการ Envi Insider หนึ่งในรายการวิทยุของสถานีฯ โดยมีคณาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และแขกรับเชิญ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขาวิชาและจากหลากหลายภาคส่วนมาร่วมรายการเพื่อแพร่ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมให้กับประชาชนทั่วไป นำไปสู่ความร่วมมือระหว่างสถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันจัดโครงการ ENVI Mission ภารกิจรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยได้ดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 แล้ว สำหรับโครงการ ENVI Mission ภารกิจรักษ์สิ่งแวดล้อม ปีที่ 4 นี้ได้จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “Decode the Pipeline: Electrify the Future รวมพลังคิด(ส์) ฝ่าวิกฤตพลังงาน” โดยมีเป้าหมายเพื่อปลูกฝังแนวคิดรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา และส่งเสริมให้นักเรียนนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการฯ ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในชุมชนของตนเองผ่านการทำโครงงานนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา จากการคัดเลือกผู้สมัครเข้าร่วมโครงการฯ จำนวนกว่า 800 ทีมจากโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาจากทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย มีเพียง 20 ทีมเท่านั้นที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรก และได้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ ณ ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดสระบุรีเป็นเวลา 3 วัน 2 คืน และจากทีมที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรกจำนวน 20 ทีมนี้มีเพียง 8 ทีมเท่านั้นที่ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ และได้เข้าร่วมกิจกรรมเหลาคม (sharpening session) เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นก่อนเข้าร่วมการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศในวันนี้
.
ในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ (Final Pitching) แต่ละทีมได้นำเสนอโครงงานนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของตนเองและตอบคำถามจากคณะกรรมการรวมเป็นเวลา 10 นาที โดยผลการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศมีรายละเอียดดังนี้

รางวัลชนะเลิศ จำนวน 1 รางวัล ได้แก่ ทีม MVSK SMA BOYZ จากโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา ได้รับเงินรางวัล 30,000 บาท ซึ่งได้นำเสนอนวัตกรรม “ทุ่นลอยน้ำไดนาโม”
สมาชิกในทีมประกอบด้วย (1) นายหาญพล พรหมสมบัติ (2) นายศักดิ์นที อ่อนรักษ์ และ (3) นายจักรวัฒน์ ชูเกิด โดยมีครูสมศักดิ์ คงสกุล เป็นครูที่ปรึกษา
.
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จำนวน 1 รางวัล ได้แก่ ทีม ACS ENVI YAISON จากโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา จังหวัดชลบุรี ได้รับเงินรางวัล 20,000 บาท ซึ่งได้นำเสนอนวัตกรรม “ฉนวนกันความร้อนจากใยสน”
สมาชิกในทีมประกอบด้วย (1) นายเสฏฐนันท์ พลคำ (2) นายกรวิชญ์ สุรฤทธิ์โยธิน และ (3) นายศิวัจน์ เวชสวัสดิ์ โดยมีครูเดชา ขันธจิตต์ เป็นครูที่ปรึกษา
.
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จำนวน 1 รางวัล ได้แก่ ทีมเอิ้ดเอิ้ดพร้อมติด จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท ซึ่งได้นำเสนอนวัตกรรม “เครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานคลื่นสำหรับเรือประมง”
สมาชิกในทีมประกอบด้วย (1) นายพันธุ์ธัช ปราการรัตน์ (2) นางสาวโรสลิล เมฆทวีพงศ์ และ (3) นายภัทรพล สีเที่ยงธรรม โดยมีครูนาอีม บินอิบรอเฮง เป็นครูที่ปรึกษา
.
รางวัลชมเชย จำนวน 2 รางวัล รางวัลละ 5,000 บาท ได้แก่
– ทีม Care Energy Care World จากโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ กาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งได้นำเสนอนวัตกรรม “ร่ม Solar Cell ติดพัดลม”
สมาชิกในทีมประกอบด้วย (1) นายนัทธพงศ์ เทพบุรี (2) นางสาวกฤติยาภรณ์ แซ่อึ้ง และ (3) นางสาวกัญญาวีร์ กาญจนกุล โดยมีครูสุกัญญา นาคอ้น เป็นครูที่ปรึกษา
– ทีม INFINIX จากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งได้นำเสนอนวัตกรรม “การผลิตไฟฟ้าจากลมของแอร์ คอมเพรสเซอร์”
สมาชิกในทีมประกอบด้วย (1) นายธีรภัทร สอาดสุด (2) นายอติคุณ ชัยวรรณะ และ (3) นายโชติวัฒนา ทองสะอาด โดยมีครูกฤติพงศ์ วชิรางกุล เป็นครูที่ปรึกษา
.
หลังจากการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศเสร็จสิ้น ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวแสดงความยินดีและกล่าวปิดโครงการฯ
.
ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล กล่าวว่า จากการดำเนินโครงการฯ ตลอด 5 เดือนที่ผ่านมา เราได้เห็นความมุ่งมั่นตั้งใจและศักยภาพของเยาวชนคนรุ่นใหม่ในการเรียนรู้และนำเสนอแนวคิดและนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ซึ่งประเด็นความยั่งยืนเป็นสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้กันไปแล้วจากการเข้าร่วมโครงการฯ นี้ นอกเหนือจากความยั่งยืนแล้ว อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่จะมีบทบาทสำคัญในวันข้างหน้าคือปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งทั้ง 2 ประเด็นนี้เป็นสิ่งที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก สำหรับแนวคิดและนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมที่นักเรียนได้นำเสนอในวันนี้ หากทีมใด (ไม่จำเพาะว่าต้องเป็นทีมที่ได้รับรางวัลเท่านั้น) ต้องการต่อยอดนวัตกรรมของตนเอง ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็ได้เตรียมทุนการศึกษาไว้จำนวนหนึ่งสำหรับการพัฒนาต่อยอดโครงงานฯ ของนักเรียนด้วย หลังจากโครงการฯ นี้ได้ดำเนินงานเสร็จสิ้นลงไปแล้ว คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่ได้ผ่านการเข้าร่วมโครงการฯ นี้กับเราจะยังคงพัฒนาและต่อยอดแนวความคิดของทีมตนเองไปสู่การปฏิบัติ อันเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อมุ่งสู่ Thailand Inclusive Growth ไปด้วยกันต่อไป

 

วิศวฯ จุฬาฯ จับมือบริษัทชั้นนำ Sense Info Tech ซึ่งเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการสร้างโปรแกรมต่าง ๆ ของภาครัฐ มาร่วมพัฒนานิสิตวิศวฯ คอมฯ หลักสูตร CEDT

เมื่อวันพุธที่ 13 กันยายน 2566 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นเจ้าภาพจัดพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ บริษัท เซ็นส์ อินโฟ เทค จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านซอฟต์แวร์และการสร้างสรรค์โปรแกรม ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี ได้กล่าวต้อนรับและร่วมพูดคุยแสดงความยินดีกับคุณภัสสร ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม กรรมการผู้จัดการบริษัท Sense Info Tech ถึงความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและบริษัทครั้งนี้ที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการผลิตบุคลากรด้านดิจิทัลให้กับประเทศ โดยนิสิตในหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล (Computer Engineering and Digital Technology: CEDT) จะมาเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเทคโนโลยีของโลกธุรกิจในปัจจุบัน

 

บริษัท เซ็นส์ อินโฟ เทค จำกัด มีความเชี่ยวชาญทางด้านซอฟต์แวร์และการให้คำปรึกษา รวมถึงบทบาทสำคัญคือเป็นเบื้องหลังผู้สร้างโปรแกรมของภาครัฐ เช่น โปรแกรม LandsMaps ใช้สำหรับการหารูปแปลงที่ดินจากแผนที่และโปรแกรมนัดหมายติดต่อศาล ที่จะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้กับประชาชนที่ต้องทำการติดต่อฟ้องร้อง คดีความต่าง ๆ โดยบริษัทได้สร้างสรรค์นวัตกรรมมากมายและเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีเพื่อส่งมอบบริการที่ดีในระดับมาตรฐานสากล

 

คณะวิศวฯ ขอแสดงความยินดีกับทีม “ต่อให้เราจะเป็นฝุ่น ก็ยังไม่เข้าตาเธออยู่ดี” ซึ่งเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ที่ผลงานนวัตกรรมปอดในกรุง (ใช้หลักการ PCO) ได้รับรางวัล Best Analysis ในการแข่งขัน YouTHful Issue competition

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีกับทีม “ต่อให้เราจะเป็นฝุ่น ก็ยังไม่เข้าตาเธออยู่ดี” ซึ่งเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ผลงานนวัตกรรมปอดในกรุง (ใช้หลักการ PCO) ได้รับรางวัล Best Analysis ในการแข่งขัน YouTHful Issue competition จัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรุงเทพมหานคร fhi360 SABINA และ Scenario Thailand Foundation เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2566 ณ ศูนย์การค้า สยาม ดิสคัฟเวอรี่
.
.
การแข่งขันที่จัดขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่แสดง Idea สร้างสรรค์นวัตกรรมในการแก้ไขปัญหา PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยการเปิดโอกาสให้ทุกคนทั่วประเทศไทยได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหา PM 2.5 ผ่านการนำเสนอนวัตกรรม แนวคิดการแก้ปัญหาครั้งนี้จะถูกนำไปใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาต่อไปในอนาคต
.
ผลงาน : นวัตกรรมปอดในกรุง (ใช้หลักการ PCO)
รางวัล : Best Analysis
ชื่อทีม ต่อให้เราจะเป็นฝุ่น ก็ยังไม่เข้าตาเธออยู่ดี
รายชื่อสมาชิก ประกอบด้วย
1. พิพรรธ จงพิพัฒน์ชัย ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
2. ธีรินท์ เพ็ชร์รัตน์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
3. นฤพล พูนวิทย์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์
4. ณภัทร์ โคตรชัย คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
5. เจษฎา เถกิงผล คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

คณะวิศวฯ จุฬาฯ ขอแสดงความยินดีกับนิสิตวิศวฯ ที่ได้รับรางวัลจากการแข่งขันการพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อการชดเชยคาร์บอนในหน่วยธุรกิจขนาดเล็ก ครั้งที่ 1/2566

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีกับนิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล และ หลักสูตรนานาชาติ สาขาวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร (ICE) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ที่ได้รับรางวัลจากการแข่งขันการพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อการชดเชยคาร์บอนในหน่วยธุรกิจขนาดเล็ก ครั้งที่ 1/2566 จัดโดย พลังงานสะอาดเพื่อประชาชน ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน 8 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก สถาบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จํากัด คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท เอสโคโพลิส จำกัด เมื่อวันที่ 10-11 สิงหาคม 2566 ณ โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพฯ โดยมีนิสิตที่ได้รับรางวัล ดังนี้

1. กลุ่ม Chestnut ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ประกอบด้วย
– รัชพล กิมอ่วม สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล (CEDT)
– ศิษฏ์ ศรีอรพินท์งาม สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล (CEDT)
– อริญชย์ อริยะตา สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (CP)
– กษิดิศ แซ่เกาะ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล (CEDT)
– จิรวัฒน์ สุทธิศิริมงคล สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล (CEDT)

 

2. กลุ่ม Viridis ได้รับรางวัลชมเชย ประกอบด้วย
– ณัฐพล โห้วงศ์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล (CEDT)
– กฤษฎิ์ บุญเอื้อเบญจมาส สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (CP)
– ฆนากร สุขเอี่ยม สาขาวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร (ICE)
– ธีธัช ธารีเวทย์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (CP)
– อภิมุข สาโรวาท สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (CP)

 

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ขอแสดงความยินดีกับนิสิตภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ทีม Midnightdev Extended จากผลงาน Offix ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันคอยตรวจจับการนั่งผิดท่า และทำกายบริหารเพื่อป้องกันอาการออฟฟิศซินโดรม ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 จากการแข่งขัน Digital Youth Network Thailand ภายใต้งาน HACKA THAILAND 2023 จัดโดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA)

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีกับนิสิตภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ทีม Midnightdev Extended จากผลงาน Offix ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันคอยตรวจจับการนั่งผิดท่า และทำกายบริหารเพื่อป้องกันอาการออฟฟิศซินโดรม ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 จากการแข่งขัน Digital Youth Network Thailand ภายใต้งาน HACKA THAILAND 2023 จัดโดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) เมื่อวันศุกร์ที่ 25 สิงหาคม 2566

 

โดยมีสมาชิกในทีมจากหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล (CEDT) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย
– นายธนกฤษ สายพันธ์
– นายศุภโชค บุตรดีขันธ์
– นายนนทพรรษ วงษ์กัณหา
– นายรัชชานนท์ มุขแก้ว
– นายเทพบดินทร์ ใจอินสม
– นายทัศน์พล สวัสดี
และจากสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ (FIBO) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ประกอบด้วย
– นางสาววรกาญจน์ ลาสุดี
และจากหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (CPE) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ประกอบด้วย
– นางสาวจอมสุดา นาคใหญ่

 

คณะวิศวฯ ขอแสดงความยินดีกับนายธีรธัช บรรณสารตระกูล นิสิตสาขาวิศวกรรมนาโนที่ได้รางวัลรองชนะเลิศงาน Falling Walls Lab Thailand 2023

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีกับนายธีรธัช บรรณสารตระกูล นิสิตสาขาวิศวกรรมนาโนที่ได้รางวัลรองชนะเลิศงาน Falling Walls Lab Thailand 2023 เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2566 และจะได้เดินทางไปร่วมงานที่ Berlin

Congratulations to Mr. Teeratat Bunsantrakul, who is the ISE Nano-Engineering student, and Ms. Maliha Sharmin, the winner and the first runner-up of Falling Walls Lab Thailand 2023 on 26 August!

 

 

For moment of celebration, please visit https://fb.watch/mFLqQ_x4ER/?mibextid=HIDgL9

 

ขอขอบคุณรูปจาก Falling Walls Lab Thailand

คณะวิศวฯ จุฬาฯ ขอแสดงความยินดีกับนิสิตกลุ่ม “M.E.See You” ที่ได้รับรางวัลอันดับที่ 2 จากการแข่งขันนำเสนอผลงานในโครงการ The Comprehensive Course in Japanese Business Innovation Program 2023

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีกับนิสิตกลุ่ม “M.E.See You” ที่ได้รับรางวัลอันดับที่ 2 จากการแข่งขันนำเสนอผลงานในโครงการ The Comprehensive Course in Japanese Business Innovation Program 2023

 

 

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย รองศาสตราจารย์ ดร.มนัสกร ราชากรกิจ และเจ้าหน้าที่จากภารกิจบูรณาการการศึกษาได้นำนิสิตผู้แทนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันนำเสนอผลงานในโครงการ The Comprehensive Course in Japanese Business Innovation Program 2023 จัดโดย หอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพ (JCC) เมื่อวันศุกร์ที่ 25 สิงหาคม 2566 ณ โรงแรม The Landmark Bangkok (ห้อง Ballroom ชั้น 7) ภายในงานประกอบด้วยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตัดสินการประกวดแข่งขัน ได้แก่ ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ คุณโคโซ โท ประธานส่วนการศึกษา คณะกรรมการฝ่ายความช่วยเหลือสังคม หอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ คุณเทตซึยะ โฮริอิ ประธานคณะกรรมการฝ่ายการพัฒนาบุคลากร หอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ คุณโนบูยูกิ อิชิอิ กรรมการผู้จัดการ หอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ คุณพรชัย ยงวัฒนสุนทร กรรมการบริหาร สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) โดยนิสิต กลุ่ม M.E.See You นำเสนอผลงาน “MASKO” ได้รับรางวัลอันดับที่ 2

 

 

กิจกรรมในครั้งนี้มีผู้แทนนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมการแข่งขันจำนวน 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม M.E.See You นำเสนอผลงาน “MASKO” เป็นแนวคิดในการออกแบบ Mask โดยนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ และการ Design แบบต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ทำต้นแบบผลงาน เพื่อตอบโจทย์คนกรุงเทพฯ เช่น  Mask ที่หายใจได้สะดวกขึ้น สามารถป้องกันเชื้อโรค และสามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการ และกลุ่ม Zurui Dzurai นำเสนอผลงานชื่อ “PAOBAO” เป็นแนวคิดในการออกแบบ Smart wearable เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดไหล่ของผู้สะพายกระเป๋า เช่น กลุ่มนักเรียน นักเดินทาง โดยใช้การกระจายการรับน้ำหนักของสายสะพายกระเป๋าด้วยวัสดุเฉพาะ และสามารถปรับสีลวดลายสายสะพายกระเป๋าตามความชอบของผู้ใช้ได้อย่างอิสระ ทั้งสองผลงานมีการนำความรู้ด้าน Green Technology มาปรับใช้อีกด้วย

 

กลุ่ม “M.E.See You”

ผลงานชื่อ “MASKO”

สมาชิกกลุ่ม:

  1. นายเดชาธร เทวะผลิน นิสิตชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์
  2. นายไกร นฤพรเมธี นิสิตชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์
  3. นายธนภัทร จันทร์แก้ว นิสิตชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์
  4. นายกนกพล แซ่แต้ นิสิตชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์
  5. นายธนากร รัตนบุรี นิสิตชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์

 

กลุ่ม “Zurui Dzurai”

ผลงานชื่อ “PAOBAO”

สมาชิกกลุ่ม:

  1. นายจิรัฏฐ์ ชลเกตุ นิสิตชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์
  2. นายกษมวัต จงพิพัฒน์วณิชย์ นิสิตชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์
  3. นายกันตภณ เลี้ยงมหาวงศ์ นิสิตชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์
  4. นายกันตชัย ควรเสนาะ นิสิตชั้นปีที่ 2 สาขาการบัญชี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
  5. นางสาวศตพร ดีสมจิตร นิสิตชั้นปีที่ 2 สาขาการบัญชี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

 

ขอเชิญร่วมถ่ายภาพหมู่บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เนื่องในโอกาสพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา 2565

ขอเชิญร่วมถ่ายภาพหมู่บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เนื่องในโอกาสพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา 2565

ในวันพฤหัสบดีที่ 5 ตุลาคม 2566 และ วันศุกร์ที่ 6 ตุลาคม 2566

ณ บริเวณป้ายแบรนด์ Chula Engineering ลานเกียร์

 

 

กำหนดการรับพระราชทานปริญญาบัตรบัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2565 กำหนดวันฝึกซ้อม และวันถ่ายภาพหมู่บัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์

กำหนดการรับพระราชทานปริญญาบัตรบัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2565
กำหนดวันฝึกซ้อม และวันถ่ายภาพหมู่บัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์
.
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.chula.ac.th/news/123591/

ขอแสดงความยินดีกับคณาจารย์คณะวิศวฯ ในโอกาสที่ได้รับพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีกับ ศาสตราจารย์ ดร.เหยียน จ้าว และ ศาสตราจารย์ ดร.ลัญฉกร วุฒิสิทธิกุลกิจ ในโอกาสที่ได้รับพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง “ศาสตราจารย์” ในสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้

บันทึกการตั้งค่า