คณะวิศวฯ จุฬาฯ ขอแสดงความยินดีกับคณาจารย์ ที่มีผลงานติดอับดับ World’s Top 2% Most-cited Scientists by Stanford University Ranking 2023 (Scopus)

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีกับคณาจารย์ ที่มีผลงานติดอับดับ World’s Top 2% Most-cited Scientists by Stanford University Ranking 2023 (Scopus)
.
.
Career-long data are updated to end-of-2022
– ศาสตราจารย์ ดร.สุทธิชัย อัสสะบำรุงรัตน์ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี
– ศาสตราจารย์ ดร.วิบูลย์ ศรีเจริญชัยกุล ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
– รองศาสตราจารย์ ดร.มาณิศา พิพัฒนสมพร ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
.
.
Single recent year data pertain to citations received
during calendar year 2022
– ศาสตราจารย์ ดร.สุเชษฐ์ ลิขิตเลอสรวง ภาควิชาวิศวกรรมโยธา
– ศาสตราจารย์ ดร.สุทธิชัย อัสสะบำรุงรัตน์ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี
– ศาสตราจารย์ ดร.บุญชัย อุกฤษฏชน ภาควิชาวิศวกรรมโยธา
– รองศาสตราจารย์ ดร.มาณิศา พิพัฒนสมพร ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
-Dr. Sushank Chaudhary อาจารย์ที่ปรึกษา รองศาสตราจารย์ ดร.ลัญฉกร วุฒิสิทธิกุลกิจ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
– Dr.Malathi Arumugam อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร.ปิยะสาร ประเสริฐธรรม ภาควิชาวิศวกรรมเคมี
– Dr.Akhilesh Kumar Pathak อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จรัสรัก วิภาวกิจ หลักสูตรวิศวกรรมนานาชาติ (ISE)
.

คณะวิศวฯ ขอแสดงความยินดีแก่ รองศาสตราจารย์ ดร.อมรชัย อาภรณ์วิชานพ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเคมี และคณะผู้ร่วมงาน ในโอกาสที่ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานวิจัย ประจำปีงบประมาณ 2567

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีแก่ รองศาสตราจารย์ ดร.อมรชัย อาภรณ์วิชานพ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเคมี และคณะผู้ร่วมงาน
ในโอกาสที่ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานวิจัย ประจำปีงบประมาณ 2567
.
จากผลงาน “การพัฒนาและทำนายวัสดุขั้วไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง โดยใช้การเรียนรู้ของเครื่องสำหรับการผลิตพลังงานไฟฟ้าสะอาด”
Developing and Predicting Fuel Cell Electrode Material Through Machine Learning for Generation of CleanElectrical Energy

 

คณะวิศวฯ จุฬาฯ จัดงานเสวนา Chula ลองก่อน! ในหัวข้อ “จาก Wellness สู่ Wealthiness”

เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2566 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานเสวนา Chula ลองก่อน! ในหัวข้อ “จาก Wellness สู่ Wealthiness” ณ หอประชุมคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยได้รับเกียรติจากวิทยากร ได้แก่ พญ.ปิยะมาศ สิทธิปรีดานันท์ ผู้อำนวยการคลินิกผิวพรรณ ความงาม และสุขภาพเส้นผม และแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์ป้องกัน (Preventive Medicine) BDMS คุณฐิติพัฒน์ ศุภภัทรานนท์ ผู้ก่อตั้ง THANN และ คุณชยธร กิติยาดิศัย เจ้าของช่อง Ingck – พลิกหลังกล่อง และผู้ก่อตั้งผลิตภัณฑ์แบรนด์ INGU โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภัทรา วิเศษศรี ผู้ช่วยคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน และ ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ กล่าวปิดงานเสวนา พร้อมมอบของที่ระลึกให้แก่วิทยากร
.
.
โดยภายในงาน นอกจากจะได้ร่วมฟังเสวนาจากวิทยากรทั้ง 3 ท่าน เพื่อเตรียมทักษะให้พร้อมรับโอกาสของธุรกิจสายสุขภาพและ Wellnesss ยังเป็นแรงบันดาลใจในการต่อยอดอาชีพและพัฒนาทักษะให้ก้าวทันเทรนด์สุขภาพในปัจจุบันและอนาคต อีกทั้งยังพร้อมเปิดรับความคิดเห็นจากนิสิตที่เข้าร่วมจากหลากหลายคณะ
.
สรุปเนื้อหาใจความสำคัญจากทั้ง 3 วิทยากร
.
“คนส่วนใหญ่เริ่มสนใจการดูแลตัวเองมากขึ้น มีการหาข้อมูลมาค่อนข้างเยอะ มีความรู้ หมอเปรียบเสมือนเป็น health coach การมาหาหมอจะไม่ใช่แค่การรักษาตัวเพราะเจ็บป่วยแต่ให้ตัวเองแข็งแรงขึ้น” – พญ.ปิยะมาศ สิทธิปรีดานันท์ ผู้อำนวยการคลินิกผิวพรรณ ความงาม และสุขภาพเส้นผม และแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์ป้องกัน (Preventive Medicine)
.
“Wellness ไม่ใช่ไม่ป่วยแต่หมายถึงการมีสุขภาพกายและใจที่ดีมีชีวิตสมดุล และมีความหมายไม่ใช่แค่ physical health รวมไปถึง Mind Spirit Environmental Intellectual และ Social ถึงจะเรียกว่าการมีชีวิตที่ดีงาม” – คุณฐิติพัฒน์ ศุภภัทรานนท์ ผู้ก่อตั้ง THANN แบรนด์เครื่องหอมและสปาของไทย
.
“Trend เรื่องการดูแลสุขภาพ ตั้งแต่โควิดที่ผ่านมาเรียกว่าเป็นช่วง Selfcare และผู้คนหาความรู้และมีความรู้ในเชิงลึกมากขึ้นสะท้อนถึงความสนใจจากผู้บริโภคอย่างแพร่หลายมากขึ้น”- คุณชยธร กิติยาดิศัย เจ้าของช่อง Ingck – พลิกหลังกล่อง และผู้ก่อตั้งผลิตภัณฑ์แบรนด์ INGU

ศ. ดร. เกษม ชูจารุกุล รองคณบดีและผู้จัดการศูนย์ความเป็นเลิศ ThaiRAP คณะวิศวฯ จุฬาฯ ส่งมอบรางวัล Finalist – Best Performing Road Authority Eliminating High-risk Roads จาก International Road Assessment Programme (iRAP) ให้นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2566 ศาสตราจารย์ ดร. เกษม ชูจารุกุล รองคณบดีและผู้จัดการศูนย์ความเป็นเลิศ ThaiRAP คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยส่งมอบรางวัล Finalist – Best Performing Road Authority Eliminating High-risk Roads จาก International Road Assessment Programme (iRAP) ให้นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่ง กทม. ถือเป็นหน่วยงานแรกและหนึ่งเดียวจากเอเชียที่ได้รับรางวัลนี้ แสดงให้เห็นถึงการพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยทางถนนของไทยที่ไปสู่ระดับสากล โดยมีนายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่ากรุงเทพมหานคร และคณะผู้บริหารสำนักการจราจรและขนส่งเข้าร่วม
.
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ลงนามความร่วมมือกับ iRAP เมื่อปี พ.ศ. 2561 เพื่อก่อตั้งและพัฒนา Thailand Road Assessment Programme หรือ ThaiRAP พร้อมทั้งผลักดันมาตรฐานความปลอดภัยทางถนนในประเทศไทยสู่ระดับสากล โดยกรุงเทพมหานครเป็นหนึ่งในหน่วยงานที่ ThaiRAP คณะวิศวกรรมศาสตร์ให้ความร่วมมือในด้านวิชาการ

คณะวิศวฯ จุฬาฯ เปิดบ้านลงนามร่วม 2 บริษัทผู้นำด้านธุรกิจอย่าง Synhub Digi-Tech Community และ Infra Plus Co., Ltd. เพื่อพัฒนานิสิตหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล (CEDT) สู่การทำงานในสายเทคโนโลยดิจิทัลในอนาคต

คณะวิศวฯ จุฬาฯ เปิดบ้านลงนามร่วม 2 บริษัทผู้นำด้านธุรกิจอย่าง Synhub Digi-Tech Community และ Infra Plus Co., Ltd. เพื่อพัฒนานิสิตหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล (CEDT) สู่การทำงานในสายเทคโนโลยดิจิทัลในอนาคต
.
เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2566 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดพิธีลงนามความร่วมมือกับ 2 บริษัท ได้แก่ บริษัท ซีนเนอร์ยี่ อินโนเวชั่น จำกัด หรือ Synhub และบริษัท อินฟรา พลัส จํากัด โดยความร่วมมือในครั้งนี้ เพื่อให้บริษัททั้ง 2 แห่งได้เข้ามาร่วมจัดกิจกรรม ฝึกฝน และช่วยพัฒนานิสิตหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล (Computer Engineering and Digital Technology: CEDT) สู่การทำงานในสายเทคโนโลยดิจิทัลในอนาคต พร้อมทั้งมีการพูดคุยแสดงความยินดีต่อความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับทั้ง 2 บริษัทและถ่ายภาพร่วมกัน นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.อนงค์นาฏ สมหวังธนโรจน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะวิศวฯ จุฬาฯ
.
ทั้งนี้ บริษัท ซีนเนอร์ยี่ อินโนเวชั่น จำกัด เป็นบริษัท Startup ที่อยู่ภายใต้การสนันสนุนจากหน่วยงานของรัฐ เช่น DEPA (สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล) และ BOI (สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน) ผู้เชี่ยวชาญด้านบริการ INCUBATION & ACCELERATION สำหรับทั้งสตาร์ทอัพและ SMEs ที่ต้องการปรับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เป็นนวัตกรรมใหม่
.
บริษัท อินฟรา พลัส จํากัด เป็นบริษัทที่มีประสบการณ์ทางด้านการจัดการโครงสร้างพื้นฐาน มากกว่า 20 ปี ให้บริการทางด้านวิชาการ การวิจัย และให้คําปรึกษา การบริหารจัดการทางด้านโครงสร้างพื้นฐานทั้งในประเทศและต่างประเทศ
.
สามารถติดตามรายละเอียดของหลักสูตร CEDT เพิ่มเติมได้ที่
เว็บไซต์: https://www.cp.eng.chula.ac.th/cedt

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยลงนามความร่วมมือกับบริษัท ซีนเนอร์ยี่ อินโนเวชั่น

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยลงนามความร่วมมือกับบริษัท อินฟรา พลัส จํากัด

คณะวิศวฯ ร่วมแสดงความยินดีกับ ศ. ดร.สมศักดิ์ ปัญญาแก้ว เนื่องในโอกาสที่ได้รับเสนอแต่งตั้งศาสตราจารย์กิตติคุณ และคุณประทีป เลี่ยวไพรัตน์ นิสิตเก่า วศ.2508 เนื่องในโอกาสที่ได้รับพระราชทานปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประจำปีการศึกษา 2565

เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2566 ศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย ชรินพาณิชกุล รองคณบดี พร้อมด้วย ผู้บริหาร คณาจารย์ และนิสิตเก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมแสดงความยินดีกับ ศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ ปัญญาแก้ว เนื่องในโอกาสที่ได้รับแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์กิตติคุณ ประจำปีการศึกษา 2565 และร่วมแสดงความยินดีแด่ คุณประทีป เลี่ยวไพรัตน์ นิสิตเก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ วศ.2508 เนื่องในโอกาสที่เข้ารับพระราชทานปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประจำปีการศึกษา 2565

ผนึกกำลัง 4 หน่วย กรมควบคุมมลพิษ จุฬาฯ DGA และ AIS เสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าช่วยบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ มุ่งแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ตอบโจทย์นโยบายนายกฯ เศรษฐา เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ประชาชน

กรมควบคุมมลพิษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ DGA และ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด หรือ AIS ลงนาม MOU โครงการสร้างความร่วมมือส่งเสริมการพัฒนาแพลตฟอร์มเทคโนโลยีดิจิทัลบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ประชาชนในการมีชีวิตที่มีสิ่งแวดล้อมสะอาดสำหรับทุกคน
.

.
จากสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศโดยเฉพาะคุณภาพอากาศค่าฝุ่น PM2.5 ทั้งในภาคเหนือของประเทศไทย , กทม. และปริมณฑล เป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศที่สำคัญและเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ กรมควบคุมมลพิษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ DGA และ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด หรือ AIS เล็งเห็นถึงปัญหาร่วมกัน อีกทั้งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลตามคำแถลงของ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เมื่อวันจันทร์ ที่ 11 กันยายน 2566 รัฐบาลจะดำเนินนโยบายเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี นําความปลอดภัย สร้างศักดิ์ศรี และนําความภาคภูมิใจมาสู่ประชาชนไทยทุกคน โดยคุณภาพชีวิตที่ดีประการหนึ่งคือชีวิตที่มีสิ่งแวดล้อมที่สะอาดสำหรับทุกคน รัฐบาลจะดูแลรักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของประเทศซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญในการพัฒนาประเทศและส่งผลต่อสุขภาพของประชาชน รัฐบาลจะแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นวาระแห่งชาติโดยเฉพาะเรื่องฝุ่นควัน PM2.5 ที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกปีและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนทุกคนด้วย
.
การดูแลสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น แก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว สร้างเครื่องมือที่เป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนจากทุกมิติ โดยสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้จากชุดข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม จึงได้เกิดความร่วมมือจากทุกภาคส่วนภายใต้ โครงการสร้างความร่วมมือส่งเสริมการพัฒนาแพลตฟอร์มเทคโนโลยีดิจิทัลบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ ในครั้งนี้ เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาคเอกชน และเครือข่ายความร่วมมืออื่น และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการพร้อมทั้งส่งเสริมการนำเทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศรวมถึงนวัตกรรมต่างๆ มาใช้ประโยชน์ จึงถือได้ว่าเป็นเครื่องมือในเฝ้าระวังและการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังต่อยอดให้เกิดแพลตฟอร์มเทคโนโลยีดิจิทัลบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ ซึ่งทั้งหมดนี้เพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชนที่มีสิ่งแวดล้อมที่สะอาดสำหรับทุกคน
.
กรมควบคุมมลพิษเป็นหน่วยงานสำคัญของประเทศที่มีบทบาทในการเสนอแนะ กำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม และมาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิด และป้องกันและแก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากภาวะมลพิษ โดยนายปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวว่า กรมควบคุมมลพิษมีความมุ่งหวังที่จะผลักดันในการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือในการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อกำหนดมาตการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากมลพิษ มีความยินดีให้การสนับสนุนข้อมูล ตลอดจนองค์ความรู้ด้านบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ เพื่อการดำเนินงานภายใต้โครงการสร้างความร่วมมือส่งเสริมการพัฒนาแพลตฟอร์มเทคโนโลยีดิจิทัลบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและประเทศชาติต่อไป
.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้มีการศึกษาวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมและ “ระบบเตือนภัยฝุ่น” พร้อมจัดทำอุปกรณ์ตรวจวัดค่าฝุ่น PM2.5 มาอย่างต่อเนื่องกว่า 5 ปี จนมีแพลตฟอร์มแจ้งสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ผ่านแพลตฟอร์ม CuSense และ Sensor for All รวมถึง API ที่สามารถดึงค่าฝุ่นจากในระบบ ไปต่อยอด Application ต่าง ๆ ได้เอง ซึ่ง ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวเพิ่มเติมว่า เป็นโอกาสอันดีของความร่วมมือนี้จะได้ร่วมกันต่อยอดจากทรัพยากรต่างๆ ที่มีของแต่ละองค์กร เพื่อให้เกิดแพลตฟอร์มเทคโนโลยีดิจิทัลบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศสำหรับข้อมูลเปิดด้านสิ่งแวดล้อม เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนนำข้อมูลเปิดไปใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางและสะดวก ซึ่งเป็นกลไกสำคัญหนึ่งในการขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์จากชุดข้อมูลเปิดที่จะแก้ไขปัญหาคุณภาพอากาศ PM2.5 ของประเทศไทย
.
ทางด้านบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด โดย นายวทัญญู เสวิกุล หัวหน้าแผนกงานขายลูกค้าองค์กร ด้านการเงินและหน่วยงานราชการ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด เปิดเผยว่า เทคโนโลยี 5G ถือเป็นเมกะเทรนด์ที่ได้ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก และเป็นโครงสร้างพื้นฐานในการพัฒนาอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดระยะเวลา และลดต้นทุนในการผลิต ซึ่ง IoT จะเป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่งที่จะสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้แก่คนไทยและภาคธุรกิจ AIS ในฐานะผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมเพื่อประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างโครงข่ายให้ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศ เป็นรายแรกและรายเดียวในไทย ตลอดจนการสนับสนุนและร่วมพัฒนานวัตกรรมให้กับทุกภาคส่วน เพื่อสร้าง ecosystem ของประเทศให้แข็งแกร่ง โดยมีเป้าหมายในการนำเทคโนโลยี 5G มาพัฒนาเพื่อยกระดับประสบการณ์ดิจิทัล และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของทุกภาคส่วนในทุกมิติ
.
และ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ DGA โดย ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล กล่าวว่า ในฐานะที่ DGA เป็นหน่วยงานกลางในการขับเคลื่อนดิจิทัลภาครัฐ ได้หารือแนวทางการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยจัดการคุณภาพอากาศร่วมกันระหว่างกรมควบคุมมลพิษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ AIS โดยทุกฝ่ายเห็นพ้องตรงกันที่จะประสานความร่วมมือในการ ขับเคลื่อนการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการจัดการระบบนิเวศสิ่งแวดล้อม ตามบันทึกความร่วมมือนี้ DGA ซึ่งมีภาระกิจสำคัญหนึ่งในการทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ เพื่อทำหน้าที่สนับสนุน กระตุ้น ติดตามให้คำปรึกษา ตลอดจนส่งเสริมหน่วยงานรัฐให้มีการพัฒนาข้อมูลเปิดให้มีความทันสมัย มีความถูกต้อง และนำไปใช้งานได้หลากหลายเกิดประโยชน์แก่ประชาชน ภาคเอกชน และภาครัฐ พร้อมยินดีให้การสนับสนุนและผลักดันเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากชุดข้อมูลเปิดด้านสิ่งแวดล้อมภายใต้ความร่วมมือในโครงการนี้ นอกจากนี้ DGA ได้พัฒนาแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” ซึ่งเสมือน SUPER APP ของภาครัฐที่รวมการให้บริการจากทุกหน่วยงานรัฐที่ช่วยแก้ปัญหาประชาชน ปัจจุบันมีบริการแล้วกว่า 112 บริการ โดย DGA มีความมุ่งหวังที่จะต่อยอดผลจากการดำเนินงานโครงการนี้ให้สามารถให้บริการแก่ประชาชนได้บน แอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” ต่อไป ทั้งนี้โครงการสร้างความร่วมมือดังกล่าวจะได้ช่วยผลักดันนโยบายเพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในมิติของการมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีสิ่งแวดล้อมที่สะอาดสำหรับทุกคน

 

วิศวฯ จุฬาฯ และ บริษัท อโยเดีย จำกัด ร่วมกันพัฒนานิสิตหลักสูตร CEDT เพื่อก้าวสู่ยุคใหม่ของเทคโนโลยีดิจิทัล

เมื่อวันพุธที่ 27 กันยายน 2566 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเจ้าภาพจัดพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือกับ บริษัท อโยเดีย จำกัด ในการร่วมพัฒนานิสิตหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล (Computer Engineering and Digital Technology: CEDT) ณ คณะวิศวฯ จุฬาฯ

 

 

โดย บริษัท อโยเดีย จำกัด เป็นองค์กรผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ มากกว่า 10 ปี กับความสามารถในการวิเคราะห์ ออกแบบระบบตามความต้องการของลูกค้าทั้งองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และเป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำที่ผ่านการประเมินมาตรฐาน ISO/IEC 29110 และ CMMI DEV Level 3 แห่งแรก ๆ ของไทย ถือเป็นบริษัทที่มีศักยภาพในแวดวงเทคโนโลยีและประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลให้เกิดความร่วมมือในการร่วมพัฒนานิสิตหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล (Computer Engineering and Digital Technology: CEDT) ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการผลิตบุคลากรด้านดิจิทัลให้กับวงการธุรกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ
.
คณะวิศวกรรมศาสตร์ นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรรถวิทย์ สุดแสง หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ได้กล่าวถึงแนวทางต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยและบริษัทที่จะเกิดขึ้นในอนาคต พร้อมถ่ายภาพร่วมกับคุณอานนท์ ตั้งสถิตพร กรรมการผู้จัดการ และคุณจักรพงศ์ นาคเดช Software Development Director บริษัท อโยเดีย จำกัด

 

 

สมาคมนิสิตเก่าวิศวฯ จุฬาฯ ร่วมกับคณะวิศวฯ จุฬาฯ จัดงานประกาศเกียรติคุณวิศวจุฬากิตติคุณอาวุโสดีเด่น ครั้งที่ 9 (พ.ศ. 2566) และวิศวจุฬาดีเด่น ครั้งที่ 18 (พ.ศ. 2566)

เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2566 สมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานประกาศเกียรติคุณวิศวจุฬากิตติคุณอาวุโสดีเด่น ครั้งที่ 9 (พ.ศ. 2566) และวิศวจุฬาดีเด่น ครั้งที่ 18 (พ.ศ. 2566) ณ โรงแรม ดิ แอทธินี โฮเทล แบงค็อก, อะ ลักซ์ซูรี คอลเล็คชั่น โฮเทล
.
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกย่อง เชิดชูและประกาศเกียรติคุณแก่นิสิตเก่าและคณาจารย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ที่มีคุณงามความดี มีจริยธรรมอันดีงาม มีความรับผิดชอบต่อครอบครัว สังคม สร้างคุณประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติ และประสบความสำเร็จในการทำงาน ซึ่งมีผู้ที่ได้รับรางวัล ดังนี้
.
รางวัลวิศวจุฬากิตติคุณอาวุโสดีเด่น ครั้งที่ 9 (พ.ศ.2566) จำนวน 8 ท่าน
1. ผศ. ดร.ทวี เลิศปัญญาวิทย์ วศ.2500
2. นายอนันต์ วงศ์พานิช วศ.2503
3. รศ. ดร.พิชนี โพธารามิก วศ.2504
4. นายประเจิด สุขแก้ว วศ.2505
5. นายสุเมธ ตันธุวนิตย์ วศ.2506
6. นายอดิเทพ พิศาลบุตร์ วศ.2508
7. นายศุภชัย สุทธิพงษ์ชัย วศ.2510
8. นายฤทธิ์ ธีระโกเมน วศ.2512
.
รางวัลวิศวจุฬาดีเด่น ครั้งที่ 18 (พ.ศ. 2566) จำนวน 9 ท่าน
1. นายชัยสิทธิ์ ธรรมพีร วศ.2515
2. นายศิลปชัย วัชระ วศ. 2519
3. นายธิติ โตวิวัฒน์ วศ.2524
4. นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส วศ.2524
5. นายกฤษณ์ อิ่มแสง วศ.2526
6. นายธนพล ศิริธนชัย วศ.2527
7. รศ. ดร.วิศณุ ทรัพย์สมพล วศ.2529
8. นายกำพล โชติปทุมวรรณ วศ.2530
9. นายดนุชา พิชยนันท์ วศ.2532
.
ในการนี้ ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี พร้อมด้วยผู้บริหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้ไปร่วมแสดงความยินดีแก่ผู้ที่ได้รับรางวัล

 

คณะวิศวฯ ขอแสดงความยินดีแด่ รศ. ดร.เสวกชัย ตั้งอร่ามวงศ์ ในโอกาสที่ได้รับรางวัล Australian Alumni Award “Alumni Innovation 2023”

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีแด่ รองศาสตราจารย์ ดร.เสวกชัย ตั้งอร่ามวงศ์ ผู้ช่วยคณบดี และอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา ในโอกาสที่ได้รับรางวัล Australian Alumni Award “Alumni Innovation 2023” จากทาง AAA – Australian Alumni Association Thailand สมาคมนักเรียนเก่าออสเตรเลีย และ Australian Embassy, Thailand เมื่อวันศุกร์ที่ 22 กันยายน 2566

 

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้

บันทึกการตั้งค่า