พิธีส่งมอบนวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิกส์เอสเพส (sPace) ให้แก่โรงพยาบาลทหารผ่านศึก

เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2566 ณ ห้องประชุม อาคาร 2 โรงพยาบาลทหารผ่านศึก กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์และศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ดำเนินการส่งมอบเท้าเทียมไดนามิกส์เอสเพส (sPace) นวัตกรรมที่ทันสมัย มีความปลอดภัยและได้รับมาตรฐาน จำนวน 10 เท้า ให้แก่โรงพยาบาลทหารผ่านศึก เพื่อให้ทหารผ่านศึกและพลเรือนที่มีความพิการขาขาดได้ใช้เท้าเทียมไดนามิกส์เอสเพส (sPace) ซึ่งเป็นผลงานการวิจัยของคนไทย ตามโครงการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้คนพิการขาขาดทั่วประเทศไทย โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ดร.ศุภิชัย ตั้งใจตรง กรรมการผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาฯ รองศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ตั้งพรประเสริฐ หัวหน้าโครงการวิจัยฯ รองศาสตราจารย์ ดร.ชัญญาพันธ์ วิรุฬห์ศรี ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวฯ เป็นผู้ส่งมอบ และมีพลเอก เดชนิธิศ เหลืองงามขำ ผู้อำนวยการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก และนายแพทย์สง่า พินิจพิชิตกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลทหารผ่านศึก เป็นผู้รับมอบ
นวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิกส์เอสเพส (sPace) ผลิตจากวัสดุมีคุณภาพสูงทำจากวัสดุคาร์บอนไฟเบอร์ มีแรงส่งช่วยลดการออกแรงในการเดิน ทำให้เดินขึ้นบันไดและทางชันได้ง่ายขึ้น และสามารถเดินได้ทุกพื้นผิวและได้หลากหลายความเร็ว บิดงอตัวได้รอบทิศทาง ทำให้เดินได้ทั้งพื้นที่ขรุขระ ทางลาด ทางชัน ซึ่งนวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิกส์เอสเพส (sPace) มีประสิทธิภาพเทียบเท่าเท้าเทียมไดนามิกคุณภาพสูงในระดับสากล และเหมาะสมกับขนาดเท้าและน้ำหนักของผู้พิการแต่ละราย ซึ่งประกอบด้วยเท้า 11 ขนาด ตามความยาวและน้ำหนักตัวของผู้พิการ

สภาวิศวกรรับรองปริญญาของหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมีและกระบวนการ (แขนงวิชาวิศวกรรมกระบวนการชีวภาพ) (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2564) และ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมีและกระบวนการ (แขนงวิชาพลังงานยั่งยืน) (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2564) คณะวิศวฯ จุฬาฯ

เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2566 คณะกรรมการสภาวิศวกร มีมติรับรองปริญญาของหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมีและกระบวนการ (แขนงวิชาวิศวกรรมกระบวนการชีวภาพ) (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2564) และ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมีและกระบวนการ (แขนงวิชาพลังงานยั่งยืน) (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2564) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำหรับผู้ที่เข้าศึกษาตามหลักสูตรปีการศึกษา 2565 – 2569 เพื่อใช้ในการยื่นขอใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเคมี เมื่อจบการศึกษา

 

คณะวิศวฯ ขอแสดงความยินดีแด่ ศ. ดร.ปิยะสาร ประเสริฐธรรม ในโอกาสที่ได้ขึ้นรับตำแหน่ง President ของ Asia-Pacific Association of Catalysis Societies (APACS)

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีแด่ ศาสตราจารย์ ดร.ปิยะสาร ประเสริฐธรรม อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเคมี และ Founding Director ของ Center of Excellence on Catalysis and Catalytic Reaction Engineering (CECC) ในโอกาสที่ได้ขึ้นรับตำแหน่ง President ของ Asia-Pacific Association of Catalysis Societies (APACS) คนที่ 7 ของสมาคมฯ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2566
.
โดยสมาคม Asia-Pacific Association of Catalysis Societies ประกอบด้วยสมาชิกสมาคมตัวเร่งปฏิกิริยาในประเทศแถบเอเชียแปซิฟิก จำนวน 14 สมาคม
.
——————————————————–
On the November 2nd, 2023
Prof. Piyasan Praserthdam, Dr. -Ing, the Founding Director of the Center of Excellence on Catalysis and Catalytic Reaction Engineering – CECC and Competive-track Professor, Department of Chemical Engineering, Faculty of Engineering, Chulalongkorn University, becomes the 7th President of the Asia-Pacific Association of Catalysis Societies (APACS)
.
the Asia-Pacific Association of Catalysis Societies consisted of 14 Catalysis Societies in the Asia-Pacific Region
.

คณะวิศวฯ จัดงานเสวนา Chula ลองก่อน! ในหัวข้อ “หาที่ยืนในโลกยั่งยืน” เมื่อวันที่ 1 พ.ย. 66

เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานเสวนา Chula ลองก่อน! ในหัวข้อ “หาที่ยืนในโลกยั่งยืน” ณ หอประชุม Hall of Intania โดยได้รับเกียรติจากวิทยากร ได้แก่ คุณณัฐชาต เจิดนภาพันธ์ CPO at Mekha-V สตาร์ทอัพ สปินออฟรุ่นใหม่จาก ปตท. คุณชยุตม์ สกุลคู CEO at Tact Social Consulting บริษัทที่ปรึกษาด้านความยั่งยืน และคุณพรศักดิ์ จันทร์ชูเชิด Environmental Sustainability Specialist จาก AIS มาร่วมเสวนาเพื่อเป็นแรงบันดาลใจในการต่อยอดอาชีพและพัฒนาทักษะให้ก้าวทันการทำงานในโลกยุคใหม่ที่จะเติบโตต่อไปอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังพร้อมเปิดรับความคิดเห็นจากนิสิตที่เข้าร่วมหลากหลายคณะ โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ กล่าวเปิดงาน

.

.
สรุปเนื้อหาใจความสำคัญจากทั้ง 3 วิทยากร
.
“เป็นช่วงที่น่าตื่นเต้นของวงการ มันมีทั้งโอกาสและความเสี่ยง เป็นช่วงที่ทุกบริษัทกำลังมองหานวัตกรรมใหม่ ๆ มาตอบโจทย์เรื่องความยั่งยืน เรียกได้ว่าเป็นตลาดแห่งการแข่งขันที่กำลังคุกรุ่น – พี่กัส ณัฐชาต เจิดนภาพันธ์ CPO at Mekha-V สตาร์ทอัพ สปินออฟรุ่นใหม่จาก ปตท.

.

“วงการที่ปรึกษาต่างมุ่งเน้นมายัง business unit ที่เป็นเรื่องความยั่งยืน เพราะนักลงทุนไม่เพียงแต่ดูข้อมูลด้านการเงินอีกต่อไป แต่ยังสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล – พี่แม็ก ชยุตม์ สกุลคู CEO at Tact Social Consulting บริษัทที่ปรึกษาด้านความยั่งยืน

.

“ทุกวิชาชีพสามารถดึงจุดเด่น และลงมาเล่นในสนามของความยั่งยืน เพราะทุกตำแหน่งจะต้องปรับตัวตามข้อกำหนด และพูดภาษาความยั่งยืนเดียวกัน” – พี่ตี๋ พรศักดิ์ จันทร์ชูเชิด Environmental Sustainability Specialist จาก AIS

.

 

#ChulaEngineering #วิศวจุฬา #ActNow #Chula #Move #MoveforChula

คณะวิศวฯ จุฬาฯ จัดเสวนาในหัวข้อ “ยุค AI มาถึงแล้ว สายศิลป์ปรับตัวอย่างไร?”

เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2566 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานเสวนาพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถให้เท่าทันโลกขึ้น ในหัวข้อ “ยุค AI มาถึงแล้ว สายศิลป์ปรับตัวอย่างไร?” ภายใต้ความร่วมมือระหว่างคณะนิเทศศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ปรีดา อัครจันทโชติ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สรายุทธ ทรัพย์สุข คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และศาสตราจารย์ ดร.บุษกร บิณฑสันต์ ผู้แทนคณบดี คณะศิลปกรรมศาสตร์ มาร่วมเป็นวิทยากรบอกเล่าถึงมุมมองเรื่อง AI จากภาคส่วนวิชาต่าง ๆ เพื่อต่อยอดนวัตกรรมในปัจจุบันและอนาคต โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ กล่าวต้อนรับและกล่าวเปิดงานเสวนา และ ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินรายการ
.
.
สรุปเนื้อหาใจความสำคัญจากวิทยากรทั้ง 4 ท่าน
.
“แต่ก่อนนั้นการสื่อสาร สามารถทำได้ด้วยตนเองโดยที่ไม่ต้องพึ่งเทคโนโลยี แต่ในปัจจุบัน AI เป็นตัวช่วยได้ตั้งแต่การตั้งต้นทางความคิด จนถึงขั้นเสร็จสิ้นกระบวนการ production” – รองศาสตราจารย์ ดร.ปรีดา อัครจันทโชติ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์
.
“การฉุกคิด การตั้งประเด็นทางความคิดเชิงปรัชญาและจริยธรรมถึงความก้าวหน้าของสมองกล จะทำให้เราเตรียมความพร้อมถึงบางเรื่องที่อาจจะ disrupt ถึงเราได้” – รองศาสตราจารย์ ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์
.
“สิ่งที่เราเรียนรู้จาก AI คือกระบวนการสั่งสม data base ทั้งหมดเพื่อประกอบการเป็นตัวช่วยสำหรับการออกแบบและการวางแผน” – ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สรายุทธ ทรัพย์สุข คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
.
“สายศิลป์ และสายวิทย์ไม่ได้ตัดขาดอย่างสิ้นเชิงอีกต่อไป กระบวนการเรียนรู้ถูกส่งเสริมซึ่งกันและกัน วิศวกรเข้าใจเรื่องศิลปะ ศิลปินก็เข้าใจเรื่องระบบต่าง ๆ” – ศาสตราจารย์ ดร.บุษกร บิณฑสันต์ ผู้แทนคณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์

คณะวิศวฯ ขอแสดงความยินดีแด่คณาจารย์ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ รองศาสตราจารย์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีแด่คณาจารย์ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ดังนี้
.
– รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณี แสงแก้ว อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์
– รองศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ สุทธิธารธวัช อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเคมี
เนื่องในโอกาสได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ตำแหน่ง “รองศาสตราจารย์”
.
.
– ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิชญะ สิทธีอมร อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
เนื่องในโอกาสได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ตำแหน่ง “ผู้ช่วยศาสตราจารย์”

คณะวิศวฯ ขอแสดงความยินดีกับนายตฤณ อุทัยสาง นิสิตหลักสูตรวิศวกรรมนานาชาติ ในโอกาสที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อรับทุนการศึกษา ทุนเยาวชนคุณภาพแห่งปี 2023 จากมูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.)

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีกับนายตฤณ อุทัยสาง นิสิตหลักสูตรวิศวกรรมนานาชาติ ในโอกาสที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อรับทุนการศึกษา ทุนเยาวชนคุณภาพแห่งปี 2023 จากมูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.)
.
โดยพิธีรับมอบทุนการศึกษา “ทุนเยาวชนคุณภาพแห่งปี 2023” จัดขึ้นเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2566 ณ โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา ศูนย์ราชการ และ คอนเวนชันเซ็นเตอร์ ซึ่งนายตฤน อุทัยสาง ไม่สามารถเข้าร่วมพิธีได้ โดยมี นางสาวรชยา ดีเลิศกุลชัย เป็นผู้แทนขึ้นรับมอบทุนการศึกษาดังกล่าว
.

ผู้บริหารจุฬาฯ และผู้บริหารคณะวิศวฯ ให้การต้อนรับนางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2566 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ คณะวิศวกรรมศาสตร์ นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี พร้อมด้วยผู้บริหารจุฬาฯ ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี ผู้บริหารคณะวิศวฯ ผู้บริหารสมาคมนิสิตเก่าคณะวิศวฯ และนิสิต คณะกรรมการกิจการนิสิตได้ให้การต้อนรับนางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมทั้งร่วมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสที่ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
.
ในโอกาสนี้ นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้รับฟังการนำเสนอเป้าหมายและคุณภาพด้านงานวิจัยและนวัตกรรมของจุฬาฯ และภาพรวมการพัฒนานิสิต และการดูแลนิสิตจุฬาฯ จากนั้นได้เยี่ยมชมชมรมนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ ห้อง MI The Making of Innovatist และห้องสมุดคณะวิศวกรรมศาสตร์

#ChulaEngineering #Chula #CU #ACTNOW #MOVE

 

คณะวิศวฯ จุฬาฯ ร่วมกับ CU Engineering Enterprise จัดกิจกรรม CU Engineering Club Spinoff Talk ในหัวข้อ “Elevating Research – Driving Startups: Supported by University Resources” และภายในงาน บริษัท Spinoffs ของคณาจารย์คณะวิศวฯ ได้มอบหุ้นให้แก่ CU Engineering Enterprise

เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2566 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ บริษัท CU Engineering Enterprise จัดกิจกรรม CU Engineering Club Spinoff Talk ประจำเดือนตุลาคม 2566 ในหัวข้อ “Elevating Research – Driving Startups: Supported by University Resources” ให้กับคณาจารย์ นักวิจัย นิสิต และบุคลากรของจุฬาฯ โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ CEO and Co-founder จาก EngineLife และ ศาสตราจารย์ ดร.จูงใจ ปั้นประณต CEO and Co-founder จาก CrystalLyte เป็นวิทยากร มาร่วมบอกเล่าแนวคิดการตั้งบริษัท สตาร์ทอัพ และสปินออฟ ประสบการณ์การเปลี่ยนงานวิจัยสู่ธุรกิจจริง และแนวทางการสนับสนุนทุนวิจัยของบริษัท CU Engineering Enterprise สำหรับนวัตกรและนักวิจัยที่มีไอเดียและพร้อมก้าวข้ามขีดจำกัด โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี เป็นประธานกล่าวเปิดงาน
.
นอกจากนี้ ภายในงานบริษัท Spinoffs ของคณาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้แก่ บริษัท เอนจินไลฟ์ จำกัด (EngineLife) โดย รองศาสตราจารย์ ดร.จุฑามาศ รัตนวรภรณ์ CEO และ Co-founder บริษัท คริสตัลไลต์ จำกัด (CrystalLyte) โดย ศาสตราจารย์ ดร.จูงใจ ปั้นประณต CEO และ Co-founder บริษัท แฮ็กซ์เตอร์ โรโบติกส์ จำกัด (Haxter Robotics) โดย ดร.อานันท์ สุตาพันธ์ หัวหน้าฝ่ายผลิตภัณฑ์ และ บริษัท มุทา จำกัด (MUTHA) โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ตั้งพรประเสริฐ และ รองศาสตราจารย์ ดร.ชัญญาพันธุ์ วิรุฬห์ศรี Co-founder ได้ทำการมอบหุ้นให้กับบริษัท CU Engineering Enterprise โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี เป็นผู้รับมอบ
.

คณะวิศวฯ จัดงานเสวนา Chula ลองก่อน! ในหัวข้อ “งานครีเอทีฟทางตีบหรือทางโต” เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 66

เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2566 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานเสวนา Chula ลองก่อน! ในหัวข้อ “งานครีเอทีฟทางตีบหรือทางโต” ณ หอประชุมคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยได้รับเกียรติจากวิทยากร ได้แก่ คุณสุนาถ ธนสารอักษร CEO, Rabbit’s Tale AD คุณธนชาติ ศิริภัทราชัย ผู้กำกับ/ช่างภาพ/นักเขียน ประจำ Salmon House และคุณภัทรพงศ์ วงค์เที่ยง ครีเอทีฟเจ้าของช่อง OKWEGO มาร่วมเสวนาเพื่อเป็นแรงบันดาลใจในการต่อยอดอาชีพและพัฒนาทักษะให้ก้าวทันอุตสาหกรรมสื่อในปัจจุบันและอนาคต อีกทั้งยังพร้อมเปิดรับความคิดเห็นจากนิสิตที่เข้าร่วมหลากหลายคณะ โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ กล่าวเปิดงาน
.
สรุปเนื้อหาใจความสำคัญจากทั้ง 3 วิทยากร
.
“ครีเอทีฟไทย ผู้กำกับไทย เป็นที่ 1 ของโลกมาแล้ว และเชื่อว่าคนไทยมีความสามารถจริง ๆ ไปต่อได้อีกไกล งานโฆษณาคือการผนวกทั้งฝั่งกลยุทธ์และความสร้างสรรค์ที่จะต้องร่วมมือกัน และคนไทยไม่แพ้ใครในโลก” – พี่แมค สุนาถ ธนสารอักษร CEO,Rabbit’s Tale AD
.
“การเริ่มต้น อาจจะไม่ต้องใช้ต้นทนสูง คนไทยเป็นคนอารมณ์ขัน ถ้าเราเข้าใจการสื่อสาร สามารถใช้ทุนต่ำได้ ซึ่งบางทีไม่ต้องเริ่มจากศูนย์ หาความรู้อื่นมาประกอบต่อยอดได้ทุกทาง ยิ่งเปิดประสบการณ์ใหม่ ๆ อ่านหนังสือใหม่ ๆ ก็ได้ไอเดียเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตลอด – พี่เบนซ์ ธนชาติ ศิริภัทราชัย ผู้กำกับ/ช่างภาพ/นักเขียน ประจำ Salmon House
.
“เราต้องคอยอัพเดตข้อมูลแต่ไม่ต้องทำตามซะทีเดียว เพราะอัลกอริทึมเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา อะไรที่ตั้งใจมาก ๆ อาจจะไม่ได้ไม่ตอบโจทย์อัลกอริทึมแล้ว ต้องยึดเนื้อหาที่อยากสื่อสารเป็นหลัก” – พี่ภัทร ภัทรพงศ์ วงค์เที่ยง ครีเอทีฟเจ้าของช่อง OKWEGO

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้

บันทึกการตั้งค่า