คณะวิศวฯ จุฬาฯ ลงนามร่วมกับบริษัท เทรนด์ วีจี 3 จำกัด หรือไทยรัฐออนไลน์ พัฒนานิสิตหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล (CEDT) ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการผลิตบุคลากรด้านดิจิทัลให้กับวงการธุรกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ

เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าภาพจัดพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับบริษัท เทรนด์ วีจี 3 จำกัด หรือไทยรัฐออนไลน์ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือไทยรัฐกรุ๊ป โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรรถวิทย์ สุดแสง หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คุณชยณัฏฐ์ วัฒนวิจิตร ผู้จัดการอาวุโสแผนกการจัดการทรัพยากรบุคคล และทีมงาน บริษัท เทรนด์ วีจี 3 จำกัด ร่วมลงนาม

.

.

บริษัท เทรนด์ วีจี3 จำกัด หรือ ไทยรัฐออนไลน์ เป็นบริษัทลูกในเครือไทยรัฐกรุ๊ป ด้วยประสบการณ์มากกว่า 10 ปี กับ ในฐานะสื่อออนไลน์ที่มุ่งเน้นในการสื่อสารข่าวสาร และเนื้อหาคุณภาพที่เป็นประโยชน์ ตั้งแต่เรื่องราวการเมือง สังคม ไปจนถึงเรื่องความบันเทิง และสไตล์การดำเนินชีวิตที่หลากหลาย ด้วยแพลตฟอร์มที่ทันสมัย ตามวิสัยทัศน์ของไทยรัฐออนไลน์เองที่ต้องการเป็น Technology-Driven Media Company หรือเป็นบริษัทสื่อที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี จึงส่งผลให้เกิดความร่วมมือในการร่วมพัฒนานิสิตหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล (Computer Engineering and Digital Technology: CEDT) ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการผลิตบุคลากรด้านดิจิทัลให้กับวงการธุรกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ

 

#ChulaEngineering #วิศวจุฬา #ActNow #Chula #Move #MoveforChula #CEDT #ComputerEngineering

พิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการในการจัดหลักสูตรสองปริญญาข้ามสถาบัน ระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และ College Of Engineering, Chung Yuan Christian University ไต้หวัน

เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการในการจัดหลักสูตรสองปริญญาข้ามสถาบัน ระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ College Of Engineering, Chung Yuan Christian University ไต้หวัน พร้อมกันนี้ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ยังได้ให้การต้อนรับคุณ Chen Wang, Section Chief of Environmental Management Administration, Ministry of Environment ซึ่งได้ให้เกียรติมาเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามความร่วมมือดังกล่าว

คณะวิศวฯ จุฬาฯ จับมือ กลุ่มบีเจซี บิ๊กซี ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการเพื่อสร้างโครงการนวัตกรรมนำความรู้สู่สังคมไทย

เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย ชรินพาณิชกุล รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรรถวิทย์ สุดแสง หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับกลุ่มบีเจซี บิ๊กซี โดย คุณอัศวิน เตชะเจริญวิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ พร้อมด้วย คุณธีระ วีรธรรมสาธิต ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และ คุณเหมวรรณ พูนผล รองประธานเจ้าหน้าที่ สายงานทรัพยากรมนุษย์ บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน)
.

.
บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานิสิตหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล (CEDT) ภายใต้การจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา (Higher Education Sandbox) ส่งเสริมการฝึกประสบการณ์ทางวิชาชีพให้นิสิตได้รับความรู้และประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติงานจริง ในรูปแบบของการฝึกงานและสหกิจศึกษา และเพื่อพัฒนาบุคลากรคุณภาพออกสู่สังคมไทยในอนาคต

#ChulaEngineering #วิศวจุฬา #ActNow #Chula #Move #MoveforChula #CEDT #ComputerEngineering

คณะวิศวฯ จุฬาฯ ขอเชิญคณาจารย์ บุคลากร นิสิตและผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ Smart Mechanical Systems for Sustainability

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญคณาจารย์ บุคลากร นิสิตและผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ Smart Mechanical Systems for Sustainability
.
จัดโดย ศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืน ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์
ภายใต้โครงการอาศรมความคิด อรุณ สรเทศน์ ณ ลานเกียร์ (เปิดโลกลานเกียร์)
.
ในวันพฤหัสบดีที่ 7 ธันวาคม 2566
เวลา 13.00-16.30 น.
ณ ห้องประชุมใหญ่ 117 ชั้น 1 อาคาร 3
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
.
บรรยายพิเศษโดยวิทยากร
One Health Concept on Sustainable Food Security in the Region: Challenge & Opportunities
โดย ศาสตราจารย์สพ.ญ. ดร.อัจฉริยา ไศละสูต ผู้อำนวยการสำนักงานเลขาธิการองค์การสมาพันธ์สมาคมสัตวแพทย์
แห่งเอเซีย(FAVA) สำนักงานกรุงเทพฯ ประเทศไทย

Integrating AI in Manufacturing for Sustainability: Opportunities and Challenges
โดย คุณโสภณ อารยะสถาพร Plant Reliability & Innovation Technology Center Manager
บริษัทระยองวิศวกรรมและซ่อมบำรุง จำกัด ในธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี

Integrated Approaches to Carbon Neutrality: Advancements in EV Charging Stations and Energy Solutions
โดย คุณณิศรา ธัมมะปาละ วิศวกร ระดับ 11 รองผู้ว่าการธุรกิจเกี่ยวเนื่อง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
.
พร้อมด้วยการเสวนาแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น: ความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา ในการขับเคลื่อนการพัฒนาสู่ความยั่งยืน โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานต่าง ๆ
.
ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม
https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSfU57F75MEKN0L4MaxLJrXUbm2v9ZDIn4hNECFZ8idM8He_lA/viewform
.

.

กำหนดการ

12.30 – 13.00 น. ลงทะเบียนร่วมงาน
13.00 – 13.15 น. ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี วิศวกรรมศาสตร์ ประธานกล่าวเปิดงานและบทบาทของภาคการศึกษาต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
13.15 – 13.30 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สรัล ศาลากิจ ผู้อำนวยการศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืน กล่าวแนะนำศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืน
13.30 – 14.00 น. One Health Concept on Sustainable Food Security in the Region: Challenge & Opportunities โดย ศาสตราจารย์ สพ.ญ. ดร.อัจฉริยา ไศละสูต ผู้อำนวยการสำนักงานเลขาธิการองค์การสมาพันธ์สมาคมสัตวแพทย์แห่งเอเซีย (FAVA) สำนักงานกรุงเทพฯ ประเทศไทย
14.00 – 14.15 น. พัก
14.15 – 14.45 น. Integrating AI in Manufacturing for Sustainability: Opportunities and Challenges โดย คุณโสภณ อารยะสถาพร Plant Reliability & Innovation Technology Center Manager บริษัทระยองวิศวกรรมและซ่อมบำรุง จำกัด ในธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี
14.45 – 15.15 น. Integrated Approaches to Carbon Neutrality: Advancements in EV Charging Stations and Energy Solutions โดย คุณณิศรา ธัมมะปาละ วิศวกร ระดับ 11 รองผู้ว่าการธุรกิจเกี่ยวเนื่อง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
15.15 – 16.25 น. การเสวนาแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น: ความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา ในการขับเคลื่อนการพัฒนาสู่ความยั่งยืน
• ศ. สพ.ญ. ดร.อัจฉริยา ไศละสูต สำนักงานเลขาธิการองค์การสมาพันธ์สมาคมสัตวแพทย์แห่งเอเซีย (FAVA) สำนักงานกรุงเทพฯ ประเทศไทย
• ผศ. ดร.สุภชัย วงศ์บุณย์ยง ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
• คุณโสภณ อารยะสถาพร บริษัทระยองวิศวกรรมและซ่อมบำรุง จำกัด ในธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี
• คุณณิศรา ธัมมะปาละ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
• ดร.รณกร ไวยวุฒิ สถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้ดำเนินการเสวนา: รศ. ดร.อังคีร์ ศรีภคากร หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
16.30 น. ปิดการเสวนา

#Chula #CU #ChulaEngineering #ACTNOW #SMSS #MOVE

วิศวฯ จุฬาฯ ร่วมกับสถาบันคาร์บอนเพื่อความยั่งยืน (CBiS) เปิดตัวแอปพลิเคชัน CFiD (Carbon Footprint in Daily life) ชวนชาวจุฬาฯ ลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากกิจกรรมประจำวันของตนเอง สู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนขององค์กร

เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2566 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดกิจกรรมเชิญชวนรณรงค์ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยการใช้แอปพลิเคชัน CFiD (Carbon Footprint in Daily life) นำทีมโดย ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี และศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองคณบดีด้านยุทธศาสตร์นวัตกรรมและความยั่งยืน ลงพื้นที่ตลาดนัดจุฬาฯ ณ ศาลาพระเกี้ยว ชวนชาวจุฬาฯ โหลดแอปพลิเคชัน (Carbon Footprint in Daily life) บันทึกและติดตามคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เพื่อส่งเสริมการปรับพฤติกรรมที่จะนำไปสู่เป้าหมายการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในกิจกรรมประจำวัน ที่จะเชื่อมโยงไปยังการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร และเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของจุฬาฯ และประเทศไทย
.
แอปพลิเคชัน CFiD (Carbon Footprint in Daily life) เป็นนวัตกรรมที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้พัฒนาและสร้างสรรค์ขึ้น เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ สร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีในชีวิตของผู้เข้าร่วมโครงการ และได้ตระหนักถึงความรับผิดชอบที่มีต่อสังคมและโลกเรื่องของคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) หรือการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยการวัดผลกระทบของกิจกรรมที่มนุษย์กระทำซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในชีวิตประจำวัน CFID (Carbon Footprint in Daily life)

คณะวิศวฯ จุฬาฯ โดย สถาบันคาร์บอนเพื่อความยั่งยืน (CBiS) ร่วมพัฒนาหลักสูตรอบรม “การพัฒนาศักยภาพบุคลากรของธนาคารกสิกรไทย เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน” เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรภาคการเงินให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ : #SEEDs

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย สถาบันคาร์บอนเพื่อความยั่งยืน (CBiS) ร่วมพัฒนาหลักสูตรอบรม “การพัฒนาศักยภาพบุคลากรของธนาคารกสิกรไทย เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน” เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรภาคการเงินให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ : #SEEDs
.
.
เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 เวลา 09.00 – 12.00 น. บุคลากรของธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ทั้งสิ้น 70 ท่าน ได้เข้าร่วมพิธีเปิดหลักสูตรอบรม “การพัฒนาศักยภาพบุคลากรของธนาคารกสิกรไทย เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน” ณ KBank Co-working Space ชั้น 1 ธนาคารกสิกรไทยสำนักงานใหญ่ สาขาสำนักพหลโยธิน
.
หลักสูตรอบรม “การพัฒนาศักยภาพบุคลากรของธนาคารกสิกรไทย เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน” เป็นความร่วมมือระหว่าง 3 หน่วยงาน ประกอบด้วย คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันคาร์บอนเพื่อความยั่งยืนและธนาคารกสิกรไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในหลากหลายมิติให้กับบุคลากรของธนาคารกสิกรไทย สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน เกิดการพัฒนาต่อยอดภาคธุรกิจสู่การสร้างสังคมเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน รวมถึงสามารถส่งต่อองค์ความรู้สู่กลุ่มลูกค้าให้สามารถปรับตัวต่อผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างยั่งยืน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่การขับเคลื่อนเพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนและการลดก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ขององค์กรและประเทศไทย โดยมีระยะเวลาหลักสูตรทั้งสิ้น 64 ชั่วโมง เริ่มตั้งแต่ 21 พฤศจิกายน 2566 – 16 กุมภาพันธ์ 2567
.
ภายในงานพิธีเปิดหลักสูตร ฯ ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.กรินทร์ บุญเลิศวณิชย์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองคณบดี ด้านยุทธศาสตร์นวัตกรรมและความยั่งยืน คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการสถาบันคาร์บอนเพื่อความยั่งยืน (CBiS) ร่วมกล่าวต้อนรับผู้เข้ารับการอบรม
.
ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวถึงความสำคัญของการพัฒนาหลักสูตรฯ โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เดินหน้าส่งต่อความรู้และนวัตกรรมทางวิศวกรรม เพื่อเสริมสร้างประชาคมโลกที่ยั่งยืนผ่าน 1 ในโครงการสำคัญของคณะฯ “#MOVEtowardSustainability”รวมถึงการร่วมจัดตั้งสถาบันคาร์บอนเพื่อความยั่งยืน ซึ่งมุ่งเน้นในการพัฒนาศักยภาพกลุ่มคน Green talent อันเป็นกำลังสำคัญในร่วมขับเคลื่อนเป้าหมายการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนของประเทศไทย และหวังว่า การพัฒนาหลักสูตรฯ นี้ จะช่วยให้บุคลากรของธนาคารกสิกรไทย สามารถนำความรู้ได้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน เกิดการพัฒนาต่อยอดภาคธุรกิจสู่การสร้างสังคมเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน
.
ด้าน ดร. กรินทร์ บุญเลิศวณิชย์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ได้เล่าถึงวิสัยทัศน์ของธนาคารที่ต้องการก้าวสู่การเป็นธนาคารแห่งความยั่งยืน ที่พร้อมสนับสนุนให้ประเทศไทยและถูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เปลี่ยนผ่านเข้าสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ จึงเป็นที่มาของการพัฒนาหลักสูตร ฯ นี้ในการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกให้แก่บุคลากรที่เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานทั้งธุรกิจในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงเป็นรากฐานสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนองค์กร ประเทศและโลกสู่เป้าหมายความยั่งยืนที่วางไว้ได้ และเป็นไปตามจุดมุ่งหมายของธนาคารที่ต้องการ
ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองคณบดี ด้านยุทธศาสตร์นวัตกรรมและความยั่งยืน คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการสถาบันคาร์บอนเพื่อความยั่งยืน (CBiS) กล่าวเกี่ยวกับที่มาของสถาบันคาร์บอนเพื่อความยั่งยืนในการเป็นสถาบันที่มุ่งเน้นการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกตามหลักวิศวกรรรมผ่านการถ่ายทอดองค์ความรู้และร่วมพัฒนานวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและการเติบโตอย่างมีส่วนร่วม และเล่าถึงการร่วมพัฒนาองค์ความรู้ ควบคู่ไปกับการแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกับธนาคารกสิกรไทย ในการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากร สร้างคนเก่งที่มีทักษะความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มีความพร้อมต่อการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
.
นอกจากนี้ ภายในงานมีการบรรยายในหัวข้อ “สถานการณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปัจจุบันและความสำคัญของคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในชีวิตประจำวัน” รวมถึงการแนะนำและดำเนินกิจกรรมผ่านแอปพลิเคชัน CFiD โดยศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองคณบดี ด้านยุทธศาสตร์นวัตกรรมและความยั่งยืน คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการสถาบันคาร์บอนเพื่อความยั่งยืน (CBiS) ซึ่ง CFiD เป็นแอปพลิเคชันที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างสถาบันคาร์บอนเพื่อความยั่งยืนและบริษัท อโยเดีย จำกัด ในการพัฒนาแอปพลิเคชันที่ช่วยประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในชีวิตประจำวัน ส่งเสริมให้เกิดความตระหนักในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายบุคคล นำไปสู่การสนับสนุนการขับเคลื่อนดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้อย่างยั่งยืน
.
สุดท้ายนี้ หลักสูตรฯ นี้จะสิ้นสุดการฝึกอบรมในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 (รวมระยะเวลาอบรมกว่า 64 ชั่วโมง) โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะเป็นหลักสูตรฯ ที่ช่วยสนับสนุนการขับเคลื่อนเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2065 ของประเทศไทยผ่านการเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรที่เป็นแรงสำคัญในการดำเนินงานของภาคธุรกิจและภาคการเงินต่อไป

คณะวิศวฯ จุฬาฯ จัดกิจกรรม “การเตรียมการรับมือปัญหาฝุ่น PM2.5 ในกรุงเทพมหานคร” พร้อมเปิดตัวแอพพลิเคชั่น Carbon Footprint in Daily Life

เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2556 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดกิจกรรม “การเตรียมการรับมือปัญหาฝุ่น PM2.5 ในกรุงเทพมหานคร” พร้อมเปิดตัวแอพพลิเคชั่น Carbon Footprint in Daily Life โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ให้เกียรติร่วมงาน และศาสตราจารย์ ดร.เกษม ชูจารุกุล รองคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นประธานเปิดงาน

กิจกรรมภายในงาน เริ่มต้นด้วยการเปิดตัวแอพพลิเคชั่น Carbon Footprint in Daily Life ซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่นสำหรับบันทึกและติดตามคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เพื่อเป็นการส่งเสริมการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทั้งในชีวิตประจำวัน ในองค์กร และเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน โดย ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองคณบดีด้านยุทธศาสตร์นวัตกรรมและความยั่งยืน คณะวิศวฯ จุฬาฯ และคุณอานนท์ ตั้งสถิตพร กรรมการผู้จัดการ บริษัทอโยเดีย จำกัด

 

จากนั้นเป็นปาฐกถาพิเศษ โดยได้รับเกียรติจากวิทยากร ได้แก่ หัวข้อ “วาระแห่งชาติ PM2.5 : จากนโยบายภาครัฐ สู่การบริหารจัดการอย่างยั่งยืน” โดย คุณกัญชลี นาวิกภูมิ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ หัวข้อ “การป้องกันผลกระทบของฝุ่น PM2.5 ต่อระบบทางเดินหายใจ” โดย รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงหฤทัย กมลาภรณ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาโรคระบบหายใจ โรงพยาบาลรามาธิบดี และหัวข้อ “งานวิจัยพัฒนา นวัตกรรม และ Trend ด้าน PM2.5” โดย ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองคณบดีด้านยุทธศาสตร์นวัตกรรมและความยั่งยืน คณะวิศวฯ จุฬาฯ

 

ปิดท้ายด้วยกิจกรรมเสวนาในหัวข้อ “การสื่อสารและการใช้นวัตกรรมรับมือปัญหาฝุ่น PM2.5” ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร.ศักดา ตรีเดช นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการพิเศษ ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการส่วนนวัตกรรมคุณภาพอากาศและเสียง กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ คุณจรัญ คำเงิน รองผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย คุณวทัญญู เสวิกุล หัวหน้าแผนกงานขายลูกค้าองค์กร ด้านการเงินและหน่วยงานราชการบริษัทแอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด ดร.วิน ไตรวิทยานุรักษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวฯ จุฬาฯ และ ดร.ณัฐวิญญ์ ชวเลิศพรศิยา รองผู้อำนวยการ สถาบันคาร์บอนเพื่อความยั่งยืน (CBiS)

 

#ChulaEngineering #วิศวจุฬา #ActNow #Chula #Move #MoveforChula #CBiS #PM2.5 #CarbonFootprint #CarbonFootprintinDailyLife

วิศวฯ จุฬาฯ จับมือ บล.หยวนต้า ร่วมทำ MOU พัฒนานิสิตหลักสูตร CEDT ผลิตวิศวฯ ทางการเงินเพื่อรองรับยุคดิจิทัลทางการเงินในอนาคต

เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นเจ้าภาพจัดพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือกับ บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ในการร่วมพัฒนานิสิตหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล (Computer Engineering and Digital Technology: CEDT) เพื่อผลิตบุคลากรสู่วงการดิจิทัลทางการเงินในอนาคต โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรรถวิทย์ สุดแสง หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุณบุญพร บริบูรณ์ส่งศิลป์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และคุณชาญศักดิ์ ธนเตชา กรรมการผู้จัดการและประธานสายผลิตภัณฑ์หลักทรัพย์ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมลงนาม พร้อมหารือและกล่าวถึงแนวทางต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย กับบริษัทฯ ที่จะพัฒนาโครงการนี้ร่วมกันให้ยั่งยืน

 

 

บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด เป็นบริษัทตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ระดับชั้นนำของประเทศไทย ให้บริการด้านการลงทุนครอบคลุมทั้งตลาดหุ้นและตลาดอนุพันธ์ ควบคู่ไปกับเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยบริษัทมีการพัฒนาเครื่องมือเพื่อช่วยในการลงทุนให้นักลงทุนเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตัดสินใจลงทุนได้ง่ายยิ่งขึ้น จึงส่งผลให้เกิดความร่วมมือในการร่วมพัฒนานิสิตหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล (Computer Engineering and Digital Technology: CEDT) ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยี โดยมีจุดมุ่งหมายในการส่งเสริมและเพื่อผลิตบุคลากรให้มีความชำนาญในด้านดิจิทัลทางการเงินให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะนักพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้านการเงินและการลงทุนที่มีความต้องการมากยิ่งขึ้นในยุคดิจิทัล

 

#ChulaEngineering #วิศวจุฬา #ActNow #Chula #Move #MoveforChula #CEDT #ComputerEngineering

คณะวิศวฯ จุฬาฯ ขอแสดงความยินดีแก่ ศ. ดร.บรรเจิด จงสมจิตร อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเคมี ในโอกาสที่ได้รับรางวัล Catalysis Development Excellence Award ในงาน 9th Asia-Pacific Congress on Catalysis (APCAT-9)

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีแก่ ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด จงสมจิตร อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเคมี ในโอกาสที่ได้รับรางวัล Catalysis Development Excellence Award ในงาน 9th Asia-Pacific Congress on Catalysis (APCAT-9) ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม – 2 พฤศจิกายน 2566 ณ เมืองหางโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน

 

คณะวิศวฯ จุฬาฯ จัดเสวนาในหัวข้อ “ยุค AI มาถึงแล้ว สายสังคมปรับตัวอย่างไร?” เมื่อวันที่ 6 พ.ย. 66

เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2566 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานเสวนาพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถให้เท่าทันโลกขึ้น ในหัวข้อ “ยุค AI มาถึงแล้ว สายสังคมปรับตัวอย่างไร?” ภายใต้ความร่วมมือระหว่างคณะเศรษฐศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปารีณา ศรีวนิชย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.ปกรณ์ ศิริประกอบ คณบดีคณะรัฐศาสตร์ ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุ่นเรือน เล็กน้อย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม มาร่วมเป็นวิทยากรบอกเล่าถึงมุมมองเรื่อง AI จากภาคส่วนวิชาต่าง ๆ โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ กล่าวต้อนรับและกล่าวเปิดงานเสวนา และ ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินรายการ
.
สรุปเนื้อหาใจความสำคัญจากวิทยากรทั้ง 6 ท่าน
.

“สาเหตุหลักที่รวมเกือบทุกคณะมาเสวนาร่วมกันในครั้งนี้ เพื่อให้ทราบว่า ในฐานะที่วิศวฯ เป็นคนกลาง เป็นตัวกลาง เป็นผู้ผลิตเครื่องมือต่าง ๆ คงไม่เพียงพออีกต่อไป จำเป็นต้องมี ปรัชญา แรงบันดาลใจ และความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น ซึ่งทั้งหมดนี้ ต้องหลอมรวมเพื่อเป็นทางรอดในยุคที่เปลี่ยนไป” – ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

.

“ในอนาคตประเทศไทยจะต้องมีจุดยืนสำหรับ เรื่อง AI ให้ได้ แต่ในปัจจุบันทักษะหนึ่งที่เป็นที่ต้องการมากขึ้น คือ การตัดสินใจ โดยฝึกใช้ AI ให้เป็นเสมือนตัวช่วยในการเตรียมความพร้อมในเรื่องอื่น ๆ แทน” – รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

.

“AI เป็น opportunities ที่เราจะเข้าถึงกฎหมายได้ ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น รวดเร็วยิ่งขึ้น และแม่นยำขึ้น ส่งผลให้การบริการด้านกฎหมายก็จะมีมากขึ้น ตลาดแรงงานก็จะคึกคักยิ่งขึ้น” – ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปารีณา ศรีวนิชย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

.

“การทำงานกับคนจะยากขึ้น ต้องเริ่มเกิดการบูรณาการจากหลายศาสตร์ และ ภาครัฐจะต้องปรับตัวให้เป็น e-governmentเพื่อการจัดการข้อมูลทั้งเรื่อง data และ transparency ต่าง ๆ ในภาครัฐให้ชัดเจนยิ่งขึ้น – รองศาสตราจารย์ ดร.ปกรณ์ ศิริประกอบ คณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

.

“โอกาสเรื่อง AI ไม่ใช่เพียงเข้าไปอยู่ใน ecosystem นั้น ๆ เราต้องปรับตัวโดยการสร้างของที่ลึกไปกว่าอย่าง EI (emotional intelligence) จะทำได้ ดังนั้นเรียนรู้ที่จะใช้ ประยุกต์ให้เป็น และทำให้ดีกว่า” – ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

.

“AI ยังขาด empathy ซึ่งจุดนี้เป็นโอกาสสำคัญที่เราสามารถพัฒนาและต่อยอดให้ Innovation ตรงใจกับมนุษย์มากขึ้น” – ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุ่นเรือน เล็กน้อย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้

บันทึกการตั้งค่า