วิศวฯ จุฬาฯ จับมือ ทีทีบี พัฒนา Tech Talent ตอบโจทย์โลกยุคใหม่

เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2566 ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบีธนชาต ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการร่วมพัฒนานิสิตที่มีความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัล หรือ Tech Talent เพื่อตอบโจทย์โลกยุคใหม่และสร้างบุคลากรที่มีทักษะตรงตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรมที่จะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางด้านคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ภายใต้หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล (CEDT-Computer Engineering & Digital Technology) ซึ่งเป็นหลักสูตรแรกของเมืองไทยที่แตกต่างจากการเรียนตามหลักสูตรทั่วไป มุ่งเน้นการผลิตกำลังคนดิจิทัลคุณภาพสูง โดยมี นายนริศ สถาผลเดชา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวหน้า ttb analytics ทีเอ็มบีธนชาต และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรรถวิทย์ สุดแสง หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมเป็นสักขีพยาน

 

 

วิศวฯ จุฬาฯ ผลักดันเทคโนโลยีการดักจับ ใช้ประโยชน์ และกักเก็บ คาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Capture, Utilization and Storage ผ่าน Thailand CCUS Consortium

วิศวฯ จุฬาฯ ผลักดันเทคโนโลยี CCUS ด้วยการเดินหน้าเป็นหน่วยงานกลางประสาน 8 ธุรกิจระดับประเทศ จัดตั้ง CCUS Consortium ซึ่งได้ประกาศความร่วมมือในงาน Future Energy Asia (FEA) 2022 การจัดตั้งความร่วมมือในนาม CCUS Consortium นับเป็นก้าวสำคัญในการจัดการ CO2 ซึ่งเดิมถูกมองว่าเป็นมลพิษ นำมาแปรรูปแล้วนำไปใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ กล่าวคือเป็นเทคโนโลยีในการนำของเสียมาสร้างเป็นสิ่งที่มีมูลค่าทางด้านการพาณิชย์ในขณะเดียวกันยังเป็นการขจัดมลภาวะให้กับสภาพแวดล้อมอีกด้วย

 

ในงาน FEA 2023 ซึ่งจัดขึ้นที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ระหว่างวันที่ 17 – 19 พฤษภาคม 2566 ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหน่วยงานองค์กรสมาชิก CCUS Consortium ได้ถือเป็นโอกาสอันดีในการนำเสนอความก้าวหน้าของ CCUS consortium ซึ่งเป็นความร่วมมือที่เป็นต้นแบบในการร่วมมือระหว่าง ภาครัฐ เอกชน และจุฬาฯ ในการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทยด้วยการใช้เทคโนโลยีและวิชาการในการเปลี่ยนปัญหาให้กลายเป็นโอกาสทางธุรกิจต่อไปในอนาคต

 

วิศวฯ จุฬาฯ ได้นำเสนอความก้าวหน้าของ CCUS consortium ผ่านการประเมินหลากหลายเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการเปลี่ยน CO2 ไปเป็นผลิตภัณฑ์และสารเคมีมูลค่าสูงซึ่งล้วนใช้ในอุตสาหกรรมหลักของประเทศไทย ซึ่งขณะนี้ สมาชิก CCUS consortium ได้ร่วมกันประเมินศักยภาพเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อคัดเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการดักจับและใช้ประโยชน์จากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ได้จากอุตสาหกรรมหลักของประเทศไทยใกล้จะเสร็จสิ้นแล้ว และจุฬาฯ ยังได้เริ่มต้นโครงการการสาธิตเทคโนโลยีการดักจับและการใช้ประโยชน์คาร์บอนไดออกไซด์โดยการเปลี่ยน CO2 ไปเป็นเมทานอลโดยผ่านความร่วมมือกับสมาชิกใน CCUS consortium อีกด้วย

 

ในงานมีการเสวนาในหัวข้อ “CCUS Consortium Progress Update and Key CCUS Project Collaborations”

ผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย

– ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

– คุณปิยบุตร จารุเพ็ญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส จำกัด

– คุณพงษ์กิตติ์ ลักษมีพิเชษฐ์ ผู้จัดการอาวุโส ฝ่าย Carbon Capture and Utilization (CCU) และ Hydrogen  บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)

โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รุ่งทิวา เมธาอาภานนท์ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวฯ จุฬาฯ เป็นผู้ดำเนินรายการ

 

การที่จะสามารถทำการวางแผนตลอดจนวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีทางด้าน CCUS ได้นั้น ต้องอาศัยข้อมูลและความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในประเทศไทย จากผู้ผลิตและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่สร้าง CO2 และมีโอกาสที่จะกับเก็บหรือนำไปใช้ประโยชน์โดยผ่านกระบวนการและเทคโนโลยี จนถึงหน่วยงานที่สามารถวิจัยและสร้างเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อดักจับ กักเก็บ และ แปรรูป CO2 เช่นมหาวิทยาลัยและองค์กรทางด้านการพัฒนาเทคโนโลยี ตลอดจนภาครัฐผู้วางนโยบายและกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

ทั้งนี้ CCUS Consortium จัดตั้งขึ้นโดยมีหน่วยงานเอกชนระดับแนวหน้าของประเทศเข้าเป็นสมาชิกร่วม Consortium ดังต่อไปนี้

 

กลุ่มอุตสาหกรรม Oil&Gas

  • บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)

กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงาน

  • บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน)

กลุ่มอุตสาหกรรมซีเมนต์

  • บริษัท เอส ซี จี ซีเมนต์ จำกัด (มหาชน)

กลุ่มอุตสาหกรรมเคมี

  • บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) บริษัท บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส จำกัด

กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก

  • บริษัท สหวิริยาสตีล อินดัสตรี จำกัด (มหาชน)

 

และมีหน่วยงานภาครัฐและองค์กรสาธารณะเป็นที่ปรึกษาของ Consortium ได้แก่

  • สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน
  • สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
  • องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

 

ขอเชิญคณาจารย์ บุคลากร และนิสิตทุกชั้นปีตอบแบบสำรวจความพึงพอใจการดำเนินงานของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ประจำปีการศึกษา 2565 ในรูปแบบออนไลน์

ขอเชิญคณาจารย์ บุคลากร และนิสิตทุกชั้นปีตอบแบบสำรวจความพึงพอใจการดำเนินงานของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2565 ในรูปแบบออนไลน์ เพื่อที่จะเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาคณะวิศวกรรมศาสตร์ต่อไป

ตอบแบบสำรวจความพึงพอใจฯ ได้ที่
https://forms.gle/st4czYWFFCQSW1pN7

 

วิศวฯ จุฬาฯ จับมือเพิ่มกับอีก 4 บริษัทชั้นนำ สร้างคนดิจิทัล ผ่านหลักสูตร CEDT ป้อนเข้าอุตสาหกรรมเทคโนโลยีของประเทศ

เมื่อวันที่ 8 และ 9 พฤษภาคม 2566 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี ได้ลงนามความร่วมมือกับ 4 บริษัทชั้นนำ ได้แก่ บริษัท PRIMO WORLD จำกัด บริษัท DEMETER ICT จำกัด บริษัท Inteltion จำกัด และ บริษัท The Monk Studio จำกัด เพื่อผลิตวิศวกรคอมพิวเตอร์ในหลักสูตรใหม่ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล (Computer Engineering & Digital Technology: CEDT) ที่สามารถผลิตบัณฑิตจำนวนมากถึง 300 คนต่อรุ่น ป้อนเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมเทคโนโลยี โดยบริษัทจะสามารถเข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาหลักสูตรอย่างใกล้ชิด ทั้งในเรื่องของการฝึกงานในทุกช่วงชั้นปี การสอนและการอบรมโดยบริษัท และการร่วมพัฒนาโครงงาน เพื่อให้นิสิตได้ฝึกประสบการณ์จากปัญหาจริงในภาคอุตสาหกรรม และได้รับคำแนะนำจากภาคอุตสาหกรรมโดยตรง โดยบริษัททั้ง 4 เป็นผู้นำด้านธุรกิจด้านดิจิทัล ได้แก่

 

PRIMO WORLD เป็นผู้ผลิตซอฟแวร์ และผู้ออกแบบ Loyalty Platform ให้แก่องค์กรขนาดใหญ่ ให้ความช่วยเหลือธุรกิจทำการตลาด Omnichannel Marketing เช่น การตั้งค่าคะแนนสะสมแต้มของระบบสมาชิก, จัดระดับพริวิเลจตามยอดใช้จ่าย, จัดการจัดส่งบัตรสมนาคุณ คูปอง หรือโค้ดส่วนลดให้แก่ลูกค้า, ตลอดจนสร้างกิจกรรมและเกมมิฟิเคชัน ผสมผสานผ่านหลากหลายช่องทางทั้งโลกออนไลน์และออฟไลน์ของตนเอง

 

DEMETER ICT เป็น Premier Partner ของ Google ปัจจุบันให้บริการพัฒนา Solutions ของกระบวนการ Business Transformation ให้กับลูกค้าบน Google Cloud Platform

 

Inteltion เป็นบริษัท Data & AI Consulting ที่ให้บริการ end-to-end Data Implementation ตั้งแต่ data engineer, data visualization, data science ซึ่งทางบริษัทเปิดให้บริการมาเกือบ 20 ปี โดยเป็นพันธมิตรกับsoftware ต่างๆมากมายเช่น AWS, Azure, Databricks, GCP, Informatica, Confluent

 

The Monk Studios เป็นสตูดิโอสัญชาติไทย ผู้ผลิตแอนิเมชัน วิชวลเอฟเฟค และเกม รองรับตลาดโลก ทำงานให้กับลูกค้าชั้นนำในวงการ เช่น Netflix, DreamWorks, Paramount และ Cartoon Network รวมถึงมีผลงานแอนิเมชันซึ่งเป็นทรัพย์สินทางปัญญาเป็นของตนเอง พร้อมรางวัลจากนานาชาติอีกหลากหลายรางวัลการันตีคุณภาพและมาตรฐานการสร้างสรรค์ผลงาน รวมทั้งเป็นผู้สร้าง “Sea of Love” แอนิเมชันซีรีส์สำหรับเด็ก ฝีมือคนไทยเรื่องแรกของ Netflix

 

สามารถติดตามรายละเอียดของหลักสูตร CEDT เพิ่มเติมได้ที่
เว็บไซต์: https://www.cp.eng.chula.ac.th/cedt
facebook: https://www.facebook.com/cedtengchula/

นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า รับรางวัลระดับนานาชาติ Gold Medal 2 ผลงาน จากงาน “The 48th International Exhibition of Inventions Geneva”

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีกับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ที่ได้รับรางวัลระดับนานาชาติ Gold Medal 2 ผลงาน จากงาน “The 48th International Exhibition of Inventions Geneva” ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 – 30 เมษายน 2566 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส

นายณัทกร เกษมสำราญ นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา ปริญญาเอก ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คว้ารางวัลระดับนานาชาติ Gold Medal 2 เหรียญทอง ในกลุ่มเรื่อง Class M : Medicine – Surgery – Orthopedics – Material for disabled จากงาน “The 48th International Exhibition of Inventions Geneva” ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 – 30 เมษายน 2566 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ประกอบด้วย 2 ผลงาน ได้แก่

1. รางวัล Gold Medal ผลงานเรื่อง ไมอีโลซอฟต์ : การพัฒนาระบบนับเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ผิดปกติผ่านสมาร์ทโฟนโดยใช้โครงข่ายประสาทเทียมชนิดคอนโวลูชัน (Myelosoft : Development of Abnormal Leukocyte Counting System via Smartphone using Convolutional Neural Network.) หัวข้อดุษฎีนิพนธ์ระดับปริญญาเอก โดย นายณัทกร เกษมสำราญ อาจารย์ที่ปรึกษา รองศาสตราจารย์ ดร.วันเฉลิม โปรา และ รองศาสตราจารย์ นพ.เอกพันธ์ ครุพงศ์ โครงการนี้ได้รับทุนวิจัย เงินงบประมาณแผ่นดิน : การยกระดับนักประดิษฐ์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Innovation to Business (I-2B) ปี 2566 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และเป็นงานวิจัยร่วมกับศูนย์สารสนเทศและนวัตกรรมข้อมูลศิริราช (SiData+) และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โดย รองศาสตราจารย์ นพ.เอกพันธ์ ครุพงศ์ นพ.ปิยะฤทธิ์ อิทธิชัยวงศ์ และ พญ.กัลยกร วีรกาญจนา

2. รางวัล Gold Medal ผลงานเรื่อง ไมโครซิสดีซีเอ็น : การประยุกต์ใช้โครงข่ายประสาทเพื่อตรวจจับเซลล์หลายชนิดผ่านกล้องจุลทรรศน์เชิงซ้อนด้วยตัวรับรู้ภาพ (MicrosisDCN : The Application of Neural Network to Detect Multiple Cells via Compound Microscope with Image Sensor.) วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท โดย นายณัทกร เกษมสำราญ อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรีย์ พุ่มรินทร์ โครงการนี้ได้รับทุนสิ่งประดิษฐ์ กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้นำผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมของนักวิจัยและนักประดิษฐ์ไทย จำนวน 128 ผลงาน จาก 38 หน่วยงาน ทั้งในระดับเยาวชนและนักวิจัย นักประดิษฐ์ จากสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และรัฐวิสาหกิจต่างๆ เข้าร่วมประกวดและจัดแสดงภายในงาน “The 48th International Exhibition of Inventions Geneva” ผลงานของนักประดิษฐ์นักวิจัยไทยยังคว้าเหรียญรางวัลจากเวที Geneva ในประเภทต่างๆ ดังนี้
1. Gold Medal with the Congratulations of the Jury 3 ผลงาน
2. Gold Medal 27 ผลงาน
3. Silver Medal 42 ผลงาน
4. Bronze Medal 52 ผลงาน
พร้อมด้วย Special Prizes จากประเทศต่าง ๆ อาทิ โปรตุเกส เกาหลีใต้ มาเลเซีย ไต้หวัน และประเทศอื่น ๆ

 

วิศวฯ จุฬาฯ ทำความร่วมมือกับ บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด และบริษัทในเครือ สร้างคนดิจิทัลเข้าอุตสาหกรรมเกษตรอัจฉริยะ

เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2566 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ลงนามความร่วมมือกับบริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัดและบริษัทในเครือ เพื่อผลิตวิศวกรคอมพิวเตอร์ในหลักสูตรใหม่ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล ที่สามารถผลิตบัณฑิตจำนวนมากถึง 300 คนต่อรุ่น เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมเทคโนโลยี รวมถึงอุตสาหกรรมเกษตรอัจฉริยะ โดยการทำหลักสูตรแบบ Co-Creation ที่บริษัทเอกชนจะสามารถเข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาหลักสูตรอย่างใกล้ชิด ทั้งในเรื่องของการฝึกงานในทุกช่วงชั้นปี การสอนและการอบรมโดยบริษัท และการร่วมพัฒนาโครงงาน เพื่อให้นิสิตได้ฝึกประสบการณ์จากปัญหาจริงในภาคอุตสาหกรรม และได้รับคำแนะนำจากภาคอุตสาหกรรมโดยตรง

 

 

ในการลงนามครั้งนี้ ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำทีมโดย ศ. ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศ. ดร.ธวัชชัย ชรินพาณิชกุล รองคณบดีฝ่ายวิชาการ ผศ. ดร.อรรถวิทย์ สุดแสง หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล ที่จะเป็นรากฐานที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาประเทศด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน สถานประกอบการต้องการกำลังคนด้านดิจิทัลจำนวนมาก ที่มีความรู้ในหลากหลาย และสามารถผสมผสานทักษะการทำงานและเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และก้าวทันกับเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งหลักสูตรดังกล่าวจะสามารถผลิตกำลังคนสมรรถนะสูงตามความต้องการของประเทศจำนวนมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

โดยความร่วมมือครั้งนี้ในส่วนบริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด นำโดย ดร.ศรายุธ แสงจันทร์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานการเงินและบริหาร และ คุณอธิคม กาญจนวิภู ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ กลุ่มงาน Digital & Technology Transformation ได้กล่าวว่ามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เข้าร่วมลงนามความร่วมมือนี้ เนื่องจากในปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมยังขาดแคลนบุคลากรด้านเทคโนโลยีดิจิทัลจำนวนมาก โดยเชื่อว่าหลักสูตรจะสามารถผลิตบัณฑิตคุณภาพสูงจำนวนมากและปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปได้อย่างรวดเร็ว โดยบัณฑิตเหล่านี้จะเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญต่อองค์กรภาคเอกชนต่อไป

ผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้ จะมีความเชี่ยวชาญในการออกแบบ วิเคราะห์ และสร้างโปรแกรมประยุกต์ของระบบซอฟต์แวร์ การวิเคราะห์ข้อมูล ระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายกลุ่มเมฆ รวมถึงระบบปัญญาประดิษฐ์ และสามารถประยุกต์หลักการทางวิศวกรรมเพื่อการแก้ปัญหาในสาขาอาชีพอื่นด้วยคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดี

สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
เว็บไซต์: https://www.cp.eng.chula.ac.th/cedt
facebook: Computer Engineering & Digital Technology, Chulalongkorn University

บทความ “ผลการจำลองเบื้องต้นของเหตุการณ์สมมติ กรณีถ้าหากสารกัมมันตรังสี Cs-137 ฟุ้งกระจายเข้าสู่บรรยากาศ” โดย ภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์

บทความ “ผลการจำลองเบื้องต้นของเหตุการณ์สมมติ กรณีถ้าหากสารกัมมันตรังสี Cs-137 ฟุ้งกระจายเข้าสู่บรรยากาศ”

โดย นรากานต์ คุณศรีเมฆ นิสิตปริญญาเอก และ รศ. ดร.สมบูรณ์ รัศมี ภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

…. “ระดับของผลกระทบทางรังสีที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์สมมติ อยู่ในระดับต่ำกว่าขีดจำกัดปริมาณรังสีสำหรับประชาชนทั่วไป “ …..

อ่านบทความได้ที่
https://anyflip.com/dfaj/tkji/

คณะวิศวฯ จัดงานสัมมนาบุคลากร เรื่อง การจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล Individual Development Plan (IDP)

เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2566 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานสัมมนาบุคลากร เรื่อง การจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล Individual Development Plan (IDP) ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์ เป็นวิทยากร โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี เป็นประธานกล่าวเปิดงานสัมมนา นางสงวน ภู่ระหงษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารกล่าวต้อนรับและกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของงานสัมมนา และศาสตราจารย์ ดร.เกษม ชูจารุกุล รองคณบดี มอบของที่ระลึกแก่วิทยากร

 

งานสัมมนานี้จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจแก่บุคลากร ในเรื่อง Individual Development Plan (IDP) พร้อมทั้งให้บุคลากรได้ร่วมกันทดลองทำแผน IDP เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรมี Smart IDP ที่ชัดเจนและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง สร้างแรงจูงใจให้บุคลากรทุกคนคิดถึงความก้าวหน้า ตอบโจทย์ของตนเอง ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัย

 

คณะวิศวฯ ขอแสดงความยินดีกับบุคลากรที่ได้รับรางวัลจากการประชุมวิชาการวิจัยระดับชาติสำหรับบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ ในสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 15 “ดอกจานบ้านเชียงวิชาการ’66” เมื่อวันที่ 13-15 มีนาคม 2566

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีกับบุคลากรที่ได้รับรางวัลจากการประชุมวิชาการวิจัยระดับชาติสำหรับบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ ในสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 15 “ดอกจานบ้านเชียงวิชาการ’66” จัดโดย มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี ร่วมกับเครือข่ายวิจัยและนวัตกรรมบุคลากรสายสนับสนุนในสถาบันอุดมศึกษา ที่ประชุมสภาข้าราชการ พนักงานและลูกจ้างมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 13-15 มีนาคม 2566 ณ อาคารกิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ดังนี้

รางวัลชนะเลิศ กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
จากการนำเสนอผลงานแบบบรรยาย เรื่อง การพัฒนาระบบติดตามงานเอกสารผ่านระบบออนไลน์
สมาชิกประกอบด้วย
1. น.ส.สุขกมล พันธไชย
2. นางพัชราภรณ์ กองเพ็ชร
3. น.ส.อรวรรณ เปตะคุ
4. น.ส.มโนทัย ศรีละออ

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
จากการนำเสนอผลงานแบบบรรยาย เรื่อง การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดสอบรายวิชาส่วนกลางแบบออนไลน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นผลงานของบุคลากร ภารกิจทะเบียนและประเมินผล จำนวน 7 คน โดยมี น.ส.ดวงตา ใบโคกสูง และน.ส.สุกัลยา โพทอง เป็นผู้แทนในการนำเสนอ

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ โดยภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ ร่วมกับ สมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทย จัดกิจกรรม “IAEA-Expert Mission on Strengthening Networks for Human Resource and Knowledge Development (HRKD)” ระหว่างวันที่ 21 – 24 มีนาคม 2566

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ ร่วมกับ สมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทย จัดกิจกรรม “IAEA-Expert Mission on Strengthening Networks for Human Resource and Knowledge Development (HRKD)” ระหว่างวันที่ 21 – 24 มีนาคม 2566 เวลา 09.00 – 17.00 น. ณ ห้องประชุม 209 อาคาร 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์เป็นประธานกล่าวเปิดงาน
กิจกรรมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นและหาแนวทางร่วมกันในการสร้างเครือข่ายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์ความรู้ทางด้านนิวเคลียร์และรังสีในระดับประเทศ โดยมีคณะผู้เชี่ยวชาญจาก IAEA นำโดย Mr. Masashi Nakazono, Senior Expert, Nuclear Knowledge Management Section, IAEA และมีผู้เข้าร่วมประชุมจากสถาบันการศึกษา หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องด้านนิวเคลียร์และรังสี ทั้งสิ้น 35 คน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้

บันทึกการตั้งค่า