



เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2563 ณ ห้องประชุม 1 สำนักงานคณบดี ชั้น 5 อาคารบริหาร คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล – ศ. นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศ. ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ นางพีระนุช โล่วงศ์วัฒน กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมติคูลี่ จำกัด ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOA) โครงการวิจัยเพื่อสร้างแผ่นโลหะดามกระดูกไหปลาร้าชนิดขึ้นรูปสามมิติและไม่มีรูสกรูเหนือรอยกระดูกหัก 3D-printing anatomical superior clavicle plate without screw hole above fracture zone (No-SHFZ plate) โดยความร่วมมือระหว่าง คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท เมติคูลี่ จำกัด
.
เพราะเราอยากให้ผู้ป่วย กลับมาใช้ชีวิตได้ดีเหมือนเดิม
.
#METICULY #เทคโนโลยีการพิมพ์3มิติ #โลหะดามกระดูกไหปลาร้า #Titanium #3Dprinting
#ความก้าวหน้าทางการแพทย์ #รามาธิบดี #วิศวฯจุฬาฯ #โลหะดามกระดูกไหปลาร้า #ChulaEngineering
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จัดงานแสดงผลงานการทดลอง/ทดสอบ Use cases ต่าง ๆ เพื่อไปใช้งานจริง บนเครือข่าย 5G ภายใต้แนวคิด “5G for REAL” เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2563 ณ 5G AI/IOT Innovation Center ชั้น M อาคาร จุฬาพัฒน์ 14 โดยได้รับความร่วมมือทั้งจากสถาบันการศึกษาอื่น ๆ ในประเทศไทย พร้อมกับผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และผู้ผลิตอุปกรณ์ระบบโทรคมนาคมชั้นนำ โดยโครงการดังกล่าว ภายใต้ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ กสทช. ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนวิจัยและพัฒนา กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) เพื่อจัดตั้งศูนย์ทดลอง/ทดสอบ 5G ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผลงาน Use cases ต่างๆ ที่ได้นำมาแสดงในวันนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยและพัฒนาในปีที่หนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการทดลอง/ทดสอบการใช้งานอุปกรณ์การสื่อสารบนเครือข่าย 5G ทั้งนี้ นักวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และผู้ผลิตอุปกรณ์ระบบโทรคมนาคมชั้นนำได้ร่วมกันจัดทำแพลตฟอร์มเปิด สำหรับทดสอบ/ทดลอง วิจัยเทคโนโลยี การใช้งานจริง พร้อมทั้งพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยี 5G
นอกจากนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังได้ดำเนินการขอเป็นผู้ประสานพื้นที่กำกับดูแลเป็นการเฉพาะ และ กสทช. ได้อนุญาตโดยกำหนดระยะเวลาอนุญาตตั้งแต่ 11 ธันวาคม 2562 ถึง 10 ธันวาคม 2567 เป็นเวลา 5 ปี ครอบคลุมพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อให้ใช้คลื่นความถี่ 5G ย่านต่าง ๆ เพื่อให้มีการพัฒนาและทดสอบนวัตกรรมเทคโนโลยี 5G ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ รวมถึงการทดสอบการรบกวนกันหรือการร่วมใช้คลื่นความถี่ระหว่างเทคโนโลยี 4G และ 5G เป็นต้น
สำหรับผู้เข้าร่วมงานแสดงผลงาน ประกอบด้วย คณาจารย์และนักวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย / มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ / สถาบันวิจัยและนวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยสงขลา-นครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (ม.อ.)/ ผู้บริหาร จากผู้ผลิตอุปกรณ์ระบบโทรคมนาคม และผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จํากัด (มหาชน) / บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) / บริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด / บริษัท หัวเว่ยเทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด / และบริษัท โนเกีย ประเทศไทย จำกัด
โครงการวิจัยทั้งหมดประกอบด้วย โครงการจัดตั้งศูนย์ทดสอบ 5G ที่สามารถทดสอบอุปกรณ์ไร้สาย และโครงข่ายของผู้ให้บริการ และงานวิจัยอื่น ๆ ใน 3 กลุ่ม ได้แก่
ด้าน healthcare จำนวน 2 โครงการ ได้แก่
● โครงการส่งข้อมูลภาพการตรวจโรคตาทางไกลผ่านระบบสื่อสารแบบไร้สายเพื่อการผ่าตัด
● โครงการพัฒนาการสื่อสารและส่งถ่ายข้อมูลการตรวจวัดคุณภาพอากาศในโรงพยาบาล
ด้าน smart living และ connected society จำนวน 8 โครงการ ได้แก่
● โครงการการพัฒนาและควบคุมหุ่นยนต์บริการผ่านโครงข่าย 5G
● โครงการจัดสร้างระบบเครือข่ายเซนเซอร์ตรวจวัดสภาพฝุ่นละอองติดตั้งบน smart pole และรถ pop bus รวมถึงการติดตั้งและทดสอบระบบ CCTV บนรถประจำทาง เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและประสิทธิภาพการใช้
งานของผู้โดยสาร CU Pop Bus
● โครงการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีความจริงเสมือนในพื้นที่มหาวิทยาลัยบนเครือข่าย 5G
● โครงการพัฒนาต้นแบบยานยนต์อัตโนมัติ และการเคลื่อนย้ายรถระหว่างจุดจอด
● โครงการติดตั้งและทดสอบระบบการใช้งานเสาไฟยุคหน้าบนเทคโนโลยี 5G
● โครงการสร้างมิเตอร์อัจฉริยะเฟสเดียวโดยใช้เทคโนโลยี NB-IoT, LoRa และ 5G
● โครงการติดตั้งระบบควบคุมไฟถนนอัจฉริยะ
● โครงการวิเคราะห์และประมวลภาพ VDO แบบเวลาจริงด้วย cloud computing
ประเภทอื่น ๆ จำนวน 2 โครงการ ได้แก่
● โครงการ PolluSmartCell การวิจัยที่อาศัยปรากฏการณ์ทางคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในโครงข่ายการสื่อสารเพื่อประเมินการเกิด Temperature Inversion ในชั้นบรรยากาศ
● โครงการอบรมให้ความรู้ความชำนาญในการทดลอง/ทดสอบระบบเครือข่าย 5G และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างประเทศ
การจัดงานในวันนี้ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ และเสริมสร้างประสบการณ์ เพื่อพัฒนาให้เป็นบริการนำร่อง และนำเสนอบริการดังกล่าวต่อสาธารณะชน เป็นประโยชน์ต่อเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการสื่อสารโทรคมนาคมในประเทศไทยต่อไป
ศ. ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวต้อนรับน้อง ๆ นิสิตใหม่ INTANIA 104 เข้าสู่รั้วปราสาทแดง และขอต้อนรับนิสิตทุกชั้นปี กลับเข้าสู่วิศวฯ จุฬาฯ
เปิดเรียนเทอมใหม่ ยุค new normal พร้อมมาตรการรับมือการแพร่ระบาดของโควิด-19 แบบเต็มขั้น “เรียน กิน พัก กลับบ้านปลอดภัย” เพื่อให้ทุกคนปลอดภัย สบายใจ และสามารถใช้ชีวิตในจุฬาฯ ได้อย่างมีความสุข
.
ด้วยความห่วงใย
#ChulaEngineering
#Zero2ndWaveofCovid19
เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2563 ดร.ณัฐวิญญ์ ชวเลิศพรศิยา ผู้อำนวยการโครงการ Industrial Liaison Program (ILP) และ ผศ. ดร.สุภัทรา วิเศษศรี ภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เป็นผู้แทนคณะฯ เข้าร่วมพิธีประกาศการเข้าร่วมเป็นภาคีเครือข่าย PPP Plastics ในการประชุมคณะทำงาน PPP Plastics ซึ่งมี ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ประธาน PPP Plastics เป็นประธาน ณ โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา ศูนย์ราชการ และคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ โดยภายใต้ความร่วมมือนี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จะเข้าร่วมดำเนินงานด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการขยะพลาสติกของประเทศไทยให้เป็นไปตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
แนะนำทางเลือกในการใช้ LMS สำหรับการเริ่มภาคการศึกษาแบบออนไลน์
โดย รศ. ดร.อติวงศ์ สุชาโต รองคณบดีด้านยุทธศาสตร์การเรียนรู้ คณะวิศวฯ จุฬาฯ
แนะนำทางเลือกในการใช้ LMS ในการเริ่มภาคการศึกษาแบบออนไลน์ โดยให้ผู้เรียนเข้าลิงค์ร่วมรายวิชาใน LMS เพื่อศึกษาวิธีการเรียนรู้และการนัดหมายต่าง ๆ แทนการเข้าลิงค์ Online Meeting โดยตรง
ในคลิปนี้มีการสาธิตฟังก์ชันใน myCourseVille LMS เพื่อใช้สร้างห้องเรียนออนไลน์สด (Zoom meeting) การสร้างประกาศแบบ “สแปลช” (Splash) เพื่อให้ผู้เรียนเห็นข่าวสารทันทีเมื่อเข้ารายวิชา การเปิดให้เข้าร่วมรายวิชาด้วยรหัสผ่าน และ การคัดลอกลิงค์ของรายวิชาเพื่อเผยแพร่ได้โดยสะดวก
วันที่ 4 สิงหาคม 2563 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการเพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ทางวิศวกรรม ด้วยเทคโนโลยี 5G, AI และ Cloud โดยความร่วมมือดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ทางวิศวกรรมของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมเร่งขับเคลื่อนสู่การนำประเทศไทยปรับเปลี่ยนเข้าสู่ยุคดิจิทัลทรานสฟอร์เมชันอย่างสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น
ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “การผนึกความร่วมมือกับบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ในครั้งนี้ นับเป็นก้าวสำคัญในการร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในเชิงปฎิบัติการร่วมกับหน่วยงานภาคเอกชน คือบริษัทผู้นำเทคโนโลยีด้าน 5G และโซลูชันระดับโลก ด้วยว่าจากศาสตร์ความรู้ที่สะสมมายาวนานหลายทศวรรษของทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่จะถูกเสริมศักยภาพให้สูงมากขึ้นด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยก้าวทันความเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วของบริษัทหัวเว่ย จะช่วยเป็นการต่อยอดผลงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งในการเรียนการสอน การวิจัย และการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะการพัฒนาระบบหุ่นยนต์และระบบควบคุมอัตโนมัติ รวมไปถึงเนื้อหาเพื่อการเรียนการสอนออนไลน์ในรูปแบบโลกจำลองเสมือนจริง (Virtual Reality) หรือระบบ VR ซึ่งโครงการความร่วมมือนี้จะสามารถนำไปสู่การแลกเปลี่ยนและเสริมสร้างองค์ความรู้และยกระดับการศึกษาด้านเทคโนโลยีให้สอดรับกับการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล กล่าวคือสามารถช่วยทำให้เหล่าหุ่นยนต์ที่พัฒนาขึ้นในระดับห้องปฏิบัติการของคณาจารย์และนิสิตของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนาต่อยอดให้มีความอัจฉริยะภาพมากขึ้น หรือเป็นหุ่นยนต์กลไกสมองอัจฉริยะ AI ที่พร้อมด้วยระบบสื่อสาร 5G ที่เราจะสามารถผลิตใช้งานได้เองในประเทศไทย ซึ่งความสำเร็จที่จะเกิดขึ้นนี้จะถือได้ว่าเป็นผลงานนวัตกรรมที่มูลค่าและมีประโยชน์การใช้งานมากมาย จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ในสถานการณ์จริงและตอบโจทย์ปัญหาของสังคมไทยและสังคมโลก ที่กำลังปรับเปลี่ยนก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลทรานสฟอร์เมชันอย่างสมบูรณ์แบบในระยะเวลาไม่นานนี้ ทั้งนี้ ถือได้ว่า โครงการนี้จะเป็นการเตรียมความพร้อมอีกระดับหนึ่งให้แก่นิสิตและนักวิจัยมุ่งไปสู่โลกนวัตกรรมแห่งอนาคตด้วย”
มร.แม็ค หม่า รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวเสริมว่า “เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือครั้งสำคัญในครั้งนี้ ระหว่างหัวเว่ยซึ่งเป็นผู้นำด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและโซลูชั่น 5G และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งเป็นสถาบันวิจัยพัฒนาและสถาบันการศึกษาของประเทศไทย โดยหัวเว่ยพร้อมให้การสนับสนุนอุปกรณ์ เทคโนโลยี การอบรม และทำงานร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยการนำเทคโนโลยี 5G, Cloud, AI มายกระดับด้านการวิจัยและพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ขับเคลื่อนความสามารถด้านนวัตกรรมของไทย ผ่านการศึกษาซึ่งเป็นรากฐานการพัฒนาประเทศที่สำคัญ”
ทั้งนี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการวิจัยและพัฒนาระบบหุ่นยนต์และระบบควบคุมอัตโนมัติ เพื่อสนับสนุนการทำงานของภาคอุตสาหกรรม และหุ่นยนต์ทางการแพทย์ โดยเฉพาะหุ่นยนต์ที่ใช้ในการฟื้นฟูสมรรถนะของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง รวมถึงการพัฒนาเนื้อหาโลกจำลองเสมือนจริง (Virtual Reality) หรือ VR เพื่อการเรียนการสอนออนไลน์ ช่วยสร้างประสบการณ์ผู้เรียนให้สามารถเข้าถึงเนื้อหาที่เข้าใจยากได้แบบเสมือนจริง การนำเทคโนโลยี 5G, Cloud และ AI ของหัวเว่ยมาประยุกต์ใช้ ภายใต้บันทึกข้อตกลงในครั้งนี้เป็นระยะเวลา 5 ปี จะช่วยเสริมศักยภาพและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสิ่งประดิษฐ์ทางวิศวกรรมดังกล่าวให้สามารถควบคุมทางไกล ส่งข้อมูลและประมวลผลได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ก่อนที่จะประเมินผลเพื่อพัฒนาในแขนงอื่น ๆ ต่อไป
นอกเหนือจากบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการในครั้งนี้ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ทำงานร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อย่างต่อเนื่อง โดยการนำผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและโซลูชั่นระดับโลกมาร่วมทำงานและจัดอบรมเพื่อถ่ายทอดความรู้ความชำนาญให้กับคณาจารย์ นิสิต และนักวิจัยอย่างใกล้ชิด เพื่อขยายศักยภาพงานด้านวิชาการโดยใช้เทคโนโลยีได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
สรุปข้อแนะนำขั้นตอนการเรียนการสอนออนไลน์ผ่านระบบ myCourseVille สำหรับนิสิต
สรุปข้อแนะนำขั้นตอนการเรียนการสอนออนไลน์ผ่านระบบ myCourseVille สำหรับอาจารย์ / ผู้สอน / สตาฟฟ์
การเรียนการสอน ภาคการศึกษาต้น ประจำปีการศึกษา 2563
ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
.
‘เปิดเทอม’ วันที่ 10 สิงหาคม 2563
.
‘นิสิตสามารถเช็คตารางเรียน/ ห้องเรียน / Links’
ได้ทางสำนักงานการทะเบียนจุฬาฯ www.reg.chula.ac.th
หรือฝ่ายวิชาการของคณะวิศวฯ / ภาควิชาฯ / หัวหน้ารายวิชา
.
วิชาบรรยาย : จัดการเรียนการสอน Online โดยอาจารย์ผู้สอนอาจจะนัดทำกิจกรรมหรือโครงงานเป็นครั้งคราวตามความเหมาะสม
.
วิชาปฏิบัติการ : จัดการเรียนการสอนที่คณะฯ โดยคณะวิศวฯ ได้จัดเตรียมห้อง / พื้นที่รองรับสำหรับนิสิตที่มารอเรียนในวิชาปฏิบัติการ ณ อาคาร 3 คณะวิศวฯ ชั้น 3 ห้อง 315-322 ตั้งแต่เวลา 08:00-17:00 น.
.
ขอความร่วมมือเว้นระยะห่างทางสังคมและสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่อยู่ในคณะวิศวฯ จุฬาฯ
#ChulaEngineering
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ยอมรับทั้งหมดประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้