คณะวิศวฯ จุฬาฯ จัดงานปฐมนิเทศและพบอาจารย์ที่ปรึกษาของนิสิตใหม่ ระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2568 (INTANIA 109)

เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2568 ฝ่ายวิชาการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานปฐมนิเทศและพบอาจารย์ที่ปรึกษาของนิสิตใหม่ ระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2568 (INTANIA 109) ณ หอประชุมจุฬาฯ และถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook ของคณะฯ
.
ในช่วงเช้ากิจกรรมเริ่มต้นด้วย ผู้บริหาร นิสิตเก่าและนิสิตปัจจุบันร่วมกันร้องเพลงมหาจุฬาลงกรณ์ และเพลงปราสาทแดง จากนั้นได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ คณบดี กล่าวเปิดการปฐมนิเทศและให้โอวาทกับนิสิตใหม่ INTANIA 109 คุณวิโรจน์ เจริญตรา นายกสมาคมนิสิตเก่าวิศวฯ จุฬาฯ กล่าวให้โอวาทและต้อนรับนิสิตใหม่ จากนั้น รองศาสตราจารย์ ดร.อติวงศ์ สุชาโต รองคณบดีด้านสารสนเทศ กล่าวถึง “AI และเทคโนโลยีการเรียนรู้สำหรับนิสิตวิศวฯ จุฬาฯ” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรัฐ ขวัญเมือง รองคณบดีฝ่ายบริหาร ได้มา “แนะนำอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกภายในคณะฯ” รองศาสตราจารย์ ดร.เสวกชัย ตั้งอร่ามวงศ์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ กล่าวถึง “หลักสูตร การลงทะเบียนเรียน การเรียนการสอน และการประเมินผล” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ บาลมงคล ผู้ช่วยคณบดี และนายทะเบียน กล่าวถึง “ข้อบังคับ จุฬาฯ ว่าด้วย การศึกษาชั้นปริญญาตรีและระเบียบการสอบของนิสิต” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์แพทย์ เพ่งวณิชย์ รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต ได้มาแนะนำ “สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับกิจการนิสิต” นายพัชญ์ภารัณ กรณ์วณิชพัชร์ นักจิตวิทยา และนายเอกสุวัชร์ เพ็ชรน้ำทองวัฒนะ นักจิตวิทยา ได้มาพูดคุยในหัวข้อ “เพื่อนใจในรั้วมหา’ลัย (University Mind Companion)” นายวรัญยชญ์ ข่ายม่าน หัวหน้านิสิตรุ่น INTANIA 107 มาพูดคุยกับน้อง ๆ ในหัวข้อ “ยินดีต้อนรับน้อง ๆ เข้าสู่รั้วปราสาทแดง การเรียน และการทำกิจกรรมในวิศวฯ จุฬาฯ” ปิดท้ายด้วย นายพรหมธร ทองแท่ง INTANIA 108 ประธานโครงการ Intania First Date 2025 และประธานโครงการค่ายวิษณุกรรมบุตร ครั้งที่ 23 มาแนะนำกิจกรรม Intania First Date และค่ายวิษณุกรรมบุตร ให้กับน้อง ๆ นิสิตใหม่ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ บาลมงคล ผู้ช่วยคณบดี และนายทะเบียน เป็นผู้ดำเนินรายการ
.
กิจกรรมในช่วงบ่าย นิสิตใหม่ได้พบปะทำความรู้จักกับอาจารย์ที่ปรึกษา และลงทะเบียนเรียนแบบออนไลน์ โดยมีนิสิตรุ่นพี่ให้การแนะนำ
.
นอกจากนี้ คณะฯ ยังได้จัดเตรียมพื้นที่รับรองและชมการถ่ายทอดการปฐมนิเทศสำหรับผู้ปกครองและผู้ติดตาม ณ หอประชุมคณะวิศวกรรมศาสตร์ Hall of Intania

คณบดีคณะวิศวฯ จุฬาฯ ได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ ในหัวข้อ DEEPTECH EXPERIENCE: PRE-SEED TO EXPONENTIAL EXIT ในงาน SITE 2025

เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2568 รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับเชิญจาก สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ให้เป็นวิทยากรร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ ในหัวข้อ DEEPTECH EXPERIENCE: PRE-SEED TO EXPONENTIAL EXIT ณ Global Stage เวทีแชร์ประสบการสตาร์ตอัปและผู้ประกอบการ ในงาน SITE 2025 (STARTUP X INNOVATION THAILAND EXPO 2025) ซึ่งเป็นเวทีที่เปิดมุมมองใหม่ เสริมโอกาสในการพัฒนาและต่อยอดธุรกิจ สร้างความร่วมมือที่แข็งแกร่ง และยกระดับสตาร์ตอัปและนวัตกรรมไทยสู่เวทีโลก จัดโดย NIA เมื่อวันที่ 4-6 กรกฏาคม 2568 ณ พารากอน ฮอลล์ ศูนย์การค้าสยามพารากอน

คณบดีคณะวิศวฯ จุฬาฯ ร่วมกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมวิชาการนานาชาติระดับภูมิภาค ในงาน “Thai Water Expo 2025 และ Water Forum”

เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2568 รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมวิชาการนานาชาติระดับภูมิภาค ในงาน “Thai Water Expo 2025 และ Water Forum” ภายใต้แนวคิด “ปูทางสู่อนาคตที่ยั่งยืนเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยคำตอบอัจฉริยะด้านน้ำ” จัดที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ภายใต้ความร่วมมือจากสมาคมการประปาแห่งประเทศไทย สมาคมนักอุทกวิทยาไทย และวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย โดยมีวิทยากรจากธนาคารโลก ธนาคารพัฒนาแห่งเอเซีย ผู้บริหารจากกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมและผู้บริหารจากกลุ่มปูนซิเมนต์ และมีผู้เข้าร่วมการประชุมวิชาการครั้งนี้กว่า 200 คน
.
การจัดประชุมวิชาการนี้ตั้งเป้าหมายเพื่อสร้างแพลตฟอร์มของการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในหมู่ผู้เชี่ยวชาญระดับโลก ปูทางสู่คำตอบและระบบเชิงนวัตกรรมที่จะเป็นประโยชน์ทั้งประเทศเราและในภูมิภาค และหวังว่า ความพยายามดังกล่าวจะขับเคลื่อนความก้าวหน้าที่มีความหมายสู่การปฏิบัติในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่ยั่งยืนในภูมิภาคนี้ได้ต่อไป

ผู้บริหารจุฬาฯ พร้อมด้วย ผู้บริหารและคณาจารย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุม Disaster Management Conference: Technology, Innovation, and Research for Effective Disaster Response and Prevention (การประชุมด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติ: เทคโนโลยี นวัตกรรม และการวิจัย เพื่อการรับมือและป้องกันภัยพิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ)

เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2568 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.มาโนช โลหเตปานนท์ รองอธิการบดี พร้อมด้วย ผู้บริหารและคณาจารย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ คณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.เสวกชัย ตั้งอร่ามวงศ์ รองคณบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์ศักดิ์ สุทธินนท์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยธิดา เรืองรัศมี ภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ และศาสตราจารย์ ดร.อาณัติ เรืองรัศมี ภาควิชาวิศวกรรมโยธา ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุม Disaster Management Conference: Technology, Innovation, and Research for Effective Disaster Response and Prevention (การประชุมด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติ: เทคโนโลยี นวัตกรรม และการวิจัย เพื่อการรับมือและป้องกันภัยพิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ) ซึ่งจัดโดย สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย ร่วมกับ MIT ASEAN Initiative และหอการค้าอเมริกันในประเทศไทย (AmCham) ณ วัน แบงค็อก ฟอรัม
.
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://bit.ly/40y6aMN

คณะวิศวฯ จุฬาฯ สถาบัน CBiS และ NIA จัดกิจกรรม “Green Innovation Forum” พร้อมเปิดตัวหลักสูตรออนไลน์ “Greentech & Innovation Program เทคโนโลยีและนวัตกรรมสีเขียว”

เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2568 ณ หอประชุมคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ สถาบันคาร์บอนเพื่อความยั่งยืน (CBiS) ร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NIA) ภายใต้การสนับสนุนจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดกิจกรรม “Green Innovation Forum” พร้อมเปิดตัวหลักสูตรออนไลน์ “Greentech & Innovation Program เทคโนโลยีและนวัตกรรมสีเขียว” อย่างเป็นทางการ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์กล่าวต้อนรับและกล่าววัตถุประสงค์ของการจัดงาน และ ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กล่าวเปิดงาน
กิจกรรมนี้เปิดพื้นที่ให้ผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคการศึกษา ร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ แบ่งปันประสบการณ์ และสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ โดยเฉพาะสตาร์ตอัป ธุรกิจเพื่อสังคม และ SMEs ที่ต้องการขับเคลื่อนธุรกิจด้วยแนวคิด “ความยั่งยืน”
.
✨ ไฮไลต์สำคัญของงานนี้คือเวทีเสวนา 2 หัวข้อหลัก ได้แก่
1️⃣ “Greentech & Innovation: Shaping Global Policy for Sustainability เทคโนโลยีนวัตกรรมสีเขียวกับการขับเคลื่อนนโยบายระดับโลกสู่ความยั่งยืน” ดำเนินรายการโดย ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองคณบดีคณะวิศวฯ จุฬาฯ และผู้อำนวยการสถาบันคาร์บอนเพื่อความยั่งยืน
– เวทีนี้รวบรวมมุมมองจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคพลังงาน เพื่อถ่ายทอดแนวทางการปรับตัวของธุรกิจต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกทั้งด้านสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี และกฎระเบียบใหม่
2️⃣ เวทีเสวนา “GreenTech in Action: Real World Innovation เทคโนโลยีสีเขียวสู่นวัตกรรมในโลกแห่งความเป็นจริง”
– นำเสนอกรณีศึกษาจากองค์กรชั้นนำที่นำนวัตกรรมสีเขียวไปใช้จริงในธุรกิจ สะท้อนถึงโอกาส ความท้าทาย และแนวทางสู่ความยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม
.
ภายในงานยังมีการเปิดตัว
หลักสูตร “Minor” เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านความยั่งยืนของนิสิต โดย รองศาสตราจารย์ ดร.เจนยุกต์ โล่ห์วัชรินทร์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
หนังสือ “บรรษัทภิบาลและความยั่งยืน” เพื่อสนับสนุนการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการไทยในโลกธุรกิจยุคใหม่ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ปิยะบุตร บุญอร่ามเรือง อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ
.
อีกหนึ่งช่วงเวลาสำคัญคือการเปิดตัวหลักสูตรออนไลน์
“Greentech & Innovation Program เทคโนโลยีและนวัตกรรมสีเขียว” ซึ่งมี ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล เป็นผู้อำนวยการหลักสูตร
– หลักสูตรนี้ออกแบบมาเพื่อปลุกพลังความรู้ และต่อยอดการลงมือทำจริง
สำหรับผู้ที่ต้องการขับเคลื่อนธุรกิจและสังคมด้วย “หัวใจสีเขียว”
พร้อมการเรียนรู้ 2 รูปแบบ
Academic Study โดยอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ
Case Study จากองค์กรจริง
สมัครเรียนฟรีได้แล้ววันนี้ที่
ร่วมผลักดันอนาคตประเทศไทยให้ก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำ
ด้วยองค์ความรู้ ทักษะ และพลังจากเครือข่ายผู้มี “หัวใจสีเขียว”

คณะวิศวฯ จุฬาฯ ขอแสดงความยินดีกับนิสิตจากชมรม Chulalongkorn University High Altitude Research Club (CUHAR) ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ อันดับที่ 3 ประเภท 30K COTS จากการแข่งขัน International Rocket Engineering Competition 2025 (IREC 2025)

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ขอแสดงความยินดีกับนิสิตจากชมรม Chulalongkorn University High Altitude Research Club (CUHAR) ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ อันดับที่ 3 ประเภท 30K COTS จากการแข่งขัน International Rocket Engineering Competition 2025 (IREC 2025) ที่เมืองมิดแลนด์ รัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 9 – 14 มิถุนายน 2568
.
ในการแข่งขันประเภท 30K COTS นี้ ทีมจาก University of Canterbury คว้ารางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1 ตามด้วย University of Melbourne เป็นอันดับที่ 2 โดยการแข่งขัน IREC 2025 ครั้งนี้ มีทีมที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าแข่งขันในรอบสุดท้ายทั้งหมด 144 ทีมจากสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงด้าน Aerospace Engineering เช่น University of California at Berkeley, Purdue University, University of Texas at Austin, Seoul National University, และสถาบันการศึกษาชั้นนำอื่น ๆ ทั่วโลก
.
ความท้าทายในการแข่งขันครั้งนี้ ไม่ใช่แค่การออกแบบและพัฒนาจรวดที่มีประสิทธิภาพสูง แต่ยังต้องสามารถรับมือกับการทำงานในสภาพอากาศที่แปรปรวน และยังต้องสามารถพัฒนาระบบติดตามที่ระบุตำแหน่งของจรวดได้อย่างถูกต้องแม่นยำอีกด้วย ผลสำเร็จในครั้งนี้ นับเป็นหลักชัยสำคัญอีกครั้งหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพของการศึกษาและเทคโนโลยีการบินและอวกาศของประเทศไทย
.
ขอขอบคุณผู้สนับสนุนโครงการของทีม CUHAR ในครั้งนี้ ได้แก่
1. คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
3. บริษัท ไทยคม จำกัด
4. บริษัท ทรัพย์เจริญยิ่ง ไวร์คัท จำกัด
6. บริษัท รู้ด ลิฟท์ติ้ง ไทยแลนด์ จำกัด
.
รายชื่อทีมที่ผ่านการคัดเลือกให้เข้าแข่งขันในรอบปล่อยจรวดที่ประเทศสหรัฐอเมริกา: https://www.soundingrocket.org/…/published_team_list…

จุฬาฯ และกัลฟ์ สานต่อ Green Mission by Chula x GULF ภารกิจรักษ์ยั่งยืน ปีที่ 2 ชวนเยาวชนคิดค้นนวัตกรรมรับโลกเปลี่ยน สมัครได้วันนี้ถึง 31 ก.ค. 68

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสถานีวิทยุแห่งจุฬาฯ ภายใต้กำกับดูแลของ สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาฯ และบริษัท กัลฟ์ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (กัลฟ์) เดินหน้าสานต่อโครงการ Green Mission by Chula x GULF ภารกิจรักษ์ยั่งยืน ปีที่ 2 ภายใต้แนวคิด “Climate Change Adaptation: โลกเปลี่ยน เราปรับ” เพื่อเชิญชวนนักเรียนมัธยมปลายจากทั่วประเทศ ร่วมระดมความคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มุ่งเน้นการสร้างแรงบันดาลใจและเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงศักยภาพในการเป็นนักคิดและนักสร้างสรรค์ รับสมัครตั้งแต่วันนี้จนถึง 31 กรกฎาคม 2568
งานแถลงข่าว วันที่ 13 มิถุนายน 2568 ณ หอประชุมคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับเกียรติจากผู้บริหาร วิทยากรและแขกรับเชิญพิเศษที่มาร่วมสร้างแรงบันดาลใจและมอบความรู้ที่เป็นประโยชน์ ภายในงาน ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองคณบดี คณะวิศวฯ จุฬาฯ กล่าวรายงานถึงที่มาของโครงการ ดร.อมร เพชรสม ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยทรัพยากร ผู้อำนวยการสถานีวิทยุแห่งจุฬาฯ กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของโครงการ นางสาวธีรตีพิศา เตวิชพศุตม์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านปฏิบัติการ บริษัท กัลฟ์ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงความร่วมมือในการจัดโครงการ และ รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ คณบดีคณะวิศวฯ จุฬาฯ กล่าวเปิดงาน
.
นางสาวนารีรัตน์ พันธุ์มณี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ได้บรรยายพิเศษเพื่อแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย นับเป็นการปูพื้นฐานความรู้ที่เป็นประโยชน์สำหรับน้อง ๆ ในการคิดค้นนวัตกรรมต่อไป นอกจากนี้ ยังมีแขกรับเชิญพิเศษ คือ น้องไทย-ชญานนท์ ภาคฐิน สมาชิกวง BUS บอยแบนด์ชื่อดัง ที่มาร่วมแบ่งปันเรื่องราวและประสบการณ์เกี่ยวกับการรักษ์โลก และจุดประกายพลังให้กับน้อง ๆ ผู้เข้าร่วมงานอีกด้วย
สำหรับการแข่งขันรอบ Fast Track ที่จัดขึ้นในงานแถลงข่าว ผลปรากฏว่า นายเจษฎากร นาคดิลก จากโรงเรียนสตรีสมุทรปราการ และนายภูรินท์ อินทุภูติ จากโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา เป็น 2 คนที่ได้รับคะแนนสูงสุด คว้าสิทธิ์ในการจัดตั้งทีมเพื่อเข้าร่วม Bootcamp 4 วัน 3 คืน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ณ ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาฯ จังหวัดสระบุรี โดยในรอบชิงชนะเลิศ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องนำเสนอแนวคิดนวัตกรรมสุดสร้างสรรค์ที่สามารถประยุกต์ใช้ได้จริงภายใต้โจทย์ที่กำหนด เพื่อตอบสนองต่อบริบทของโลกที่กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเร่งด่วน ทีมชนะเลิศจะได้รับเงินรางวัล พร้อมใบประกาศเกียรติคุณ และยังมีรางวัลพิเศษ Popular Vote by GULF สำหรับทีมขวัญใจชาวโซเชียล รวมมูลค่ารางวัลทั้งหมดกว่า 100,000 บาท
.
รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “สถานการณ์ภัยพิบัติในปัจจุบันมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นและเชื่อมโยงโดยตรงกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเตรียมพร้อมรับมือจึงต้องเกิดจากความร่วมมือทุกภาคส่วน โดยเฉพาะการเสริมสร้างศักยภาพให้กับเยาวชนผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ตอบโจทย์ชุมชนและเชื่อมโยงสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง”
.
ศาตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “ปัญหาโลกร้อน (เดือด) ไม่ได้รอให้เราปรับตัว แต่เรียกร้องให้เรานำการเปลี่ยนแปลง — Green Mission คือโครงการที่จะนำพาความรู้และนวัตกรรมออกจากห้องเรียน ไปสู่ชุมชน และกลับเข้าหาหัวใจของการเป็นคนรุ่นใหม่ที่มีหัวใจเพื่อสังคม”
.
ดร.อมร เพชรสม ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยทรัพยากร ผู้อำนวยการสถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “ทุกคนที่มาร่วมงานและโครงการนี้จะได้เกิดความตระหนักรู้ถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม นำมาสู่แนวคิดในการสร้างนวัตกรรมลดผลกระทบจากภัยพิบัติ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในพื้นที่ชุมชนของตนเอง และนี่คือวัตถุประสงค์ของการจัดโครงการในการบูรณาการความรู้และการจัดการ เพื่อรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่เกิดจากความร่วมมือของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถานีวิทยุจุฬาฯ ภายใต้การบริหารงานของ สำนักงานวิทยทรัพยากร และบริษัท กัลฟ์ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ผสานพลังร่วมกันจัดโครงการและไม่ว่าทุกคนจะอยู่ในบทบาทไหน หน้าที่อะไร ก็สามารถที่จะเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้ได้”
.
นางสาวธีรตีพิศา เตวิชพศุตม์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านปฏิบัติการ บริษัท กัลฟ์ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงความร่วมมือครั้งนี้ว่า กลุ่มบริษัทกัลฟ์ยินดีที่ได้ร่วมสานต่อโครงการ Green Mission by Chula x GULF เป็นปีที่ 2 เป็นเวทีที่น้อง ๆ จะได้แสดงออกถึงศักยภาพอย่างเต็มที่ ทางกัลฟ์พร้อมสนับสนุนและผลักดันแนวคิดที่เกิดขึ้นจากโครงการนี้ ที่จะเป็นประโยชน์และสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นให้กับโลก กัลฟ์เชื่อมั่นในศักยภาพและความสามารถของเยาวชนทุกคนในการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่จะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมไปสู่ความยั่งยืนในอนาคต โครงการนี้ยังสอดคล้องกับพันธกิจของกัลฟ์เรื่องการจัดการสภาพภูมิอากาศ เรามุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Decarbonization) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน รวมไปถึงการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน (Energy Transition) เพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และสอดคล้องกับแผนการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับประเทศและระดับโลก
.
นายชญานนท์ ภาคฐิน สมาชิกวง BUS กล่าวว่า “วันนี้ไทยดีใจมากที่ได้มาร่วมเปิดงานโครงการ Green Mission by Chula x GULF ภารกิจรักษ์ยั่งยืน ปีที่ 2 ต้องขอบคุณ GULF ที่ชวนไทยมางานนี้ และให้โอกาสพี่ได้เจอกับน้องๆ คนรุ่นใหม่ที่เชื่อในพลังของการเปลี่ยนแปลงเพื่อโลกของเราครับ ทุกการทดลอง ทุกความคิดสร้างสรรค์คือจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ในวันข้างหน้า ขอร่วมส่งพลังแห่งกำลังใจ และอยากบอกอีกว่าดีใจมากๆ ที่ได้เห็นพลังคนรุ่นใหม่ที่มาร่วมกันระดมความคิดไอเดียสุดเจ๋งเพื่อโลกของเรา เพราะทุกคนคือพลังของวันพรุ่งนี้ครับ ขอบคุณทาง GULF และจุฬาฯ ที่จัดโครงการนี้เป็นพื้นที่ Sandbox ให้น้องๆ มีโอกาสได้คิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ครับ”
.
นักเรียนที่สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการ Green Mission by Chula x GULF โดยกรอกใบสมัครผ่าน Google Form ได้ที่ https://bit.ly/4kt9j8T ตั้งแต่วันนี้จนถึง 31 กรกฎาคม 2568 รวมถึงศึกษารายละเอียดโครงการได้ที่เว็บไซต์ https://curadio.chula.ac.th/v2022/activity/detail/?1374 หรือสอบถามได้ที่เบอร์ ‪091-864-5923‬
#ChulaEngineering #วิศวจุฬา #Chula #112ปีวิศวจุฬา #ChulaRadioPlus #GULF #GulfEnergy #GulfSPARK #GreenMission #ClimateChange #ภารกิจรักษ์ยั่งยืน #GreenMission2025 #GULFDevelopment #greenmissionwithgulf #GoGreenMissionWithGULFxBUS

จุฬาฯ จัดการบรรยาย “การใช้งาน ChulaGENIE และการใช้งาน Google Agentspace” ภายใต้โครงการ Hackathon for Growth: AI Together เติบโตและเรียนรู้ AI ไปด้วยกัน

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศูนย์ปัญญาประดิษฐ์แห่งจุฬาฯ และสํานักบริหารทรัพยากรมนุษย์ จัด “โครงการ Hackathon for Growth: AI Together เติบโตและเรียนรู้ AI ไปด้วยกัน” เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรที่ไม่มีพื้นฐานด้านเทคนิคได้มีโอกาสเรียนรู้ว่า AI ที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัยขณะนี้สามารถนําไปใช้ในงานประจําของตนได้ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของจุฬาฯ ในการเป็น “University of AI” สร้างบุคลากรที่มีความพร้อมในการนําเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ไปประยุกต์ใช้ในงานต่าง ๆ ทั้งในการเรียนการ สอน การวิจัย การบริการ และการบริหารจัดการ ซึ่งมหาวิทยาลัยได้มีการพัฒนาและนําเครื่องมือ AI หลากหลายรูปแบบมาใช้ภายในองค์กร เพื่อเสริมประสิทธิภาพการทํางาน
โครงการ Hackathon for Growth: AI Together เติบโตและเรียนรู้ AI ไปด้วยกันนี้ จะมีทั้งรูปแบบการบรรยาย ฝึกปฏิบัติและกิจกรรม Hackathon ที่ไม่เน้นการแข่งขันทางเทคนิค แต่เน้นการเปิดโอกาสให้บุคลากรทั้งสายวิชาการและสายปฏิบัติการได้ใช้เครื่องมือ AI ที่เน้นการใช้งานจริง ได้แก่ การพัฒนา Chatbot บนแพลตฟอร์ม ChulaGENIE และการใช้งานระบบ GOOGLE AGENTSPACE ซึ่งเป็นเครื่องมือสําคัญในการสร้างระบบอัตโนมัติอัจฉริยะ ผ่านโจทย์จริงของการทํางาน พร้อมการให้คําแนะนําโดยวิทยากรและโค้ชที่เข้าใจการเปลี่ยนผ่านของคนทํางานในองค์กร มาสร้างสรรค์ Chatbot และ Workflow ที่สามารถแก้ไขปัญหาหรือตอบโจทย์ความต้องการของหน่วยงานและผู้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2568 ทางโครงการฯ ได้จัดการบรรยาย “การใช้งาน ChulaGENIE และการใช้งาน Google Agentspace” ณ หอประชุมคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.คณพล จันทน์หอม รองอธิการบดี กล่าวเปิดงาน จากนั้น นายโภไคย ศรีรัตโนภาส ผู้ช่วยอธิการบดี ได้มาแนะนำโครงการฯ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกพล ช่วงสุวนิช ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และรองผู้อํานวยการศูนย์ปัญญาประดิษฐ์แห่งจุฬาฯ มาพูดคุย เรื่อง “Applying AI in Real-Life Work (พลัง AI ที่ใช้ในงานจริง)” และ “GENIE: เพื่อนคู่คิด มิตรคู่ใจ ที่จะช่วยให้ชีวิตในจุฬาฯ ง่ายขึ้น” ปิดท้ายด้วยการพูดคุยกับคุณเอกราช กลิ่นบุบผา AI Sales Specialist, Google Cloud Thailand ในเรื่อง “การใช้งาน Google Agentspace” มีอาจารย์ ดร.วรรษยุต คงจันทร์ คณะนิเทศศาสตร์เป็นผู้ดำเนินรายการ โดยโครงการ Hackathon for Growth: AI Together เติบโตและเรียนรู้ AI ไปด้วยกันนี้ มี รองศาสตราจารย์ ดร.อติวงศ์ สุชาโต รองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์เป็นที่ปรึกษาโครงการฯ
.
ทั้งนี้ ขอเชิญชวนบุคลากรจุฬาฯ เข้าร่วมกิจกรรม Hackathon โดยใช้เครื่องมือ ChulaGENIE และ Google Agentspace ชิงเงินรางวัลกว่า 400,000 บาท และร่วมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การใช้งาน Google Agentspace” วันที่ 17 มิถุนายน 2568 เวลา 09.00 -12.00 น. ณ ห้องโถงกลาง ตึกจุฬาพัฒน์ 4 ชั้น 3 และการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การใช้งาน ChulaGENIE” วันที่ 17 มิถุนายน 2568 เวลา 13.00 -16.00 น. ณ ห้องโถงกลาง ตึกจุฬาพัฒน์ 4 ชั้น 3
รายละเอียเพิ่มเติม https://www.hrm.chula.ac.th/th/38260/2025-05-26
#ChulaEngineering #วิศวจุฬา #Chula #112ปีวิศวจุฬา #HackathonforGrowth #AITogether #ChulaGENIE #GoogleAgentspace

Chulalongkorn University Exploring Collaborative Opportunities with MIT

Chulalongkorn University Strengthens Ties with MIT: Exploring Collaborative Opportunities in Engineering, Management, and Innovation
.
On June 5th, 2025, Assoc. Prof. Wilert Puriwat, President of Chulalongkorn University, led a high-level delegation on an official visit to the Massachusetts Institute of Technology (MIT). The group was warmly welcomed by Prof. Sally Kornbluth, President of MIT, and Prof. Duane S. Boning, Vice Provost for International Activities.
.
The meeting provided an opportunity for the leadership of both institutions to explore potential academic and research collaborations. On this occasion, President Wilert Puriwat also presented a token of appreciation to Prof. Kornbluth in recognition of MIT’s warm hospitality.
.
Among the Chulalongkorn delegation were Assoc. Prof. Witaya Wannasuphoprasit, Dean of the Faculty of Engineering, and executives from the Faculty, who joined the visit to engage in discussions specifically related to engineering and interdisciplinary cooperation.
.
During the visit, the delegation also met with representatives from the MIT Sloan School of Management, led by Prof. Georgia Perakis, Interim John C Head III Dean. After fruitful discussions, the group toured the Sloan School’s facilities.
.
The delegation then proceeded to the MIT School of Engineering for a meeting with Prof. Maria Yang, Deputy Dean of the School, followed by a tour of the school’s laboratories, showcasing innovations in engineering and technology.
.
To conclude the visit, the Chulalongkorn team had a meaningful exchange with members of the MIT Leaders for Global Operations (LGO) alumni community and former Chulalongkorn University students currently pursuing their studies at MIT, reaffirming the strong academic linkages between the two institutions.
.

งานครบรอบ 112 ปี แห่งการสถาปนาคณะวิศวฯ จุฬาฯ

งานครบรอบ 112 ปี แห่งการสถาปนาคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

.
วันที่ 30 พฤษภาคม 2568 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานครบรอบ 112 ปี แห่งการสถาปนาคณะวิศวฯ จุฬาฯ (1 มิถุนายน 2568)

.

ในช่วงเช้า ผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร และนิสิตเก่าได้ร่วมทำบุญตักบาตรและถวายภัตตาหารเช้าแด่พระสงฆ์ จำนวน 9 รูป ณ ลานอินทาเนีย (ลานเกียร์)

.

จากนั้นมีกิจกรรม ณ หอประชุม Hall of Intania เริ่มต้นด้วย “ผู้บริหารพบประชาคม” นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ คณบดี พร้อมด้วย รองคณบดี ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.อติวงศ์ สุชาโต ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรัฐ ขวัญเมือง รองศาสตราจารย์ ดร.นภดนัย อาชวาคม ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองศาสตราจารย์ ดร.เสวกชัย ตั้งอร่ามวงศ์ และ ศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมชนม์ สถิระพจน์ มากล่าวถึงภาพรวมผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา ทิศทางและการขับเคลื่อนคณะวิศวกรรมศาสตร์ในอนาคต และนโยบาย CUENG คือ C: Crafting Cutting-Edge Lifelong Learning Programs Through Collaborative Partnerships U: Unified Academic Excellence for Unbounded Research and Innovation E: Empowered Smart Work & Learning Spaces with Cutting-Edge Digital Technology and AI N: Nurturing Personnel to Develop Diverse and Dynamic Competencies และ G: Green Engineering for Wellbeing and Sustainable Society

.

พิธีมอบรางวัลต่าง ๆ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ คณบดี เป็นประธาน รองศาสตราจารย์ ดร.นภดนัย อาชวาคม รองคณบดีกล่าวรายงานที่มาของโครงการต่าง ๆ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ บาลมงคล ผู้ช่วยคณบดี เป็นผู้ดำเนินรายการ มีการมอบรางวัลดังนี้

.

รางวัล “ศักดิ์อินทาเนีย พ.ศ. 2568” ซึ่งเป็นรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติแก่บุคลากรและนิสิตเก่าที่มีความสามารถ มีผลการดำเนินงานโดดเด่น เป็นแบบอย่างที่น่ายกย่อง มีผู้ได้รับรางวัล 15 ท่าน ดังนี้

รางวัลการกระตุ้นสร้างนวัตกรรม (N : Nudge Innovation)

  • ด้านวิจัย

นักวิจัยรุ่นใหม่ (บุคลากรสายวิชาการ): ผศ. ดร.ภูวดล ดุษฎีรังสีกุล

นักวิจัยทั่วไป (บุคลากรสายวิชาการ): รศ. ดร.พีรพล เวทีกูล

  • ด้านนวัตกรรม

บุคลากรสายวิชาการ: รศ. ดร.รณพีร์ ชัยเชาวรัตน์

บุคลากรสายปฏิบัติการ: นายกิจชัย กาญจนประภากุล

 

รางวัลการก้าวนำการเปลี่ยนแปลง (O : Overcome Changes)

  • ด้านการเรียนการสอน

อาจารย์รุ่นใหม่ (บุคลากรสายวิชาการ): ผศ. ดร.กริชชาติ ว่องไวลิขิต

อาจารย์ทั่วไป (บุคลากรสายวิชาการ): รศ. ดร.อภินันท์ สุทธิธารธวัช

  • ด้านกิจการนิสิต

อาจารย์ด้านกิจการนิสิต (บุคลากรสายวิชาการ): ผศ. ดร.พิสิษฐ์พล จิรพงศานานุรักษ์

  • ด้านการพัฒนาตนเอง

บุคลากรสายปฏิบัติการ: นางสาวจินดารัต เกสรจันทร์

บุคลากรสายสายปฏิบัติการ: นางสาวเสาวลักษณ์ หรั่งทรัพย์

 

รางวัลการพร้อมร่วมแรงสู่ความยั่งยืน (W : Work Together)

  • ด้านการพร้อมร่วมแรงสู่ความยั่งยืน (บุคลากรสายวิชาการ): รศ. ดร.สรรเพชญ ชื้อนิธิไพศาล
  • ด้าน Sustainability

บุคลากรสายวิชาการ: รศ. ดร.ดาว สุวรรณแสง จั่นเจริญ

บุคลากรสายปฏิบัติการ: นางสาวกรรณิการ์ มาสมาน

  • ด้าน Young alumni (ศิษย์เก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

นายปิยะชาติ อิศรภักดี

นายสรกฤช พฤทธานนทชัย

นายกวีวุฒิ เต็มภูวภัทร

.

รางวัลโครงการรวมใจเดิน-วิ่ง 111 ล้านก้าว ซึ่งเป็นโครงการที่ให้คณาจารย์และบุคลากรวิศวฯ รวมพลังเดิน-วิ่ง สะสมก้าวพิชิตภารกิจ ระยะทางรวมทั้งสิ้น 111 ล้านก้าว ในโอกาสเฉลิมฉลอง 111 ปี ผลรวมการเดิน-วิ่งของทั้งคณะวิศวฯ จำนวนรวมทั้งหมด 220,556,925 ก้าว มีผู้ได้รับรางวัล ดังนี้

รางวัลระดับบุคคล

รางวัลที่ 1 รองศาสตราจารย์ ดร.ธัญญารัตน์ สิงหนาท ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล จำนวนก้าว 2,869,418 ก้าว

รางวัลที่ 2 นายปัญญาวุธ ทิพวันต์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล จำนวนก้าว 2,663,606 ก้าว

รางวัลที่ 3 นางสาวจิรนันท์ ชอบธรรม กลุ่มภารกิจการเงิน บัญชีและพัสดุ จำนวนก้าว 2,417,225 ก้าว

รางวัลระดับหน่วยงาน

คิดจากจำนวนเฉลี่ยต่อคนต่อวันของคนที่เข้าร่วม ไม่เรียงลำดับหน่วยงานสูงสุด จำนวน 6 กลุ่ม ดังนี้

– ภาควิชาวิศวกรรมโยธา

– ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล

– ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม

– กลุ่มภารกิจแผน ยุทธศาสตร์ และบริหารคุณภาพ

– กลุ่มภารกิจการเงิน บัญชีและพัสดุ

– ภารกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ

(รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.eng.chula.ac.th/th/54901)

.

รางวัลโครงการพัฒนาระบบงาน คณะวิศวฯ จุฬาฯ ประจำปี 2568 ซึ่งเป็นโครงการที่สนับสนุนบุคลากรให้ร่วมกันปรับปรุงและพัฒนาแนวทางการทำงานอย่างเป็นระบบ มุ่งเน้นเพิ่มทักษะให้บุคลากรได้รับความรู้ด้านการใช้เครื่องมือจัดการคุณภาพ ได้แก่ แนวคิด SIPOC Model ระบบ LEAN และเน้นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินโครงการฯ มีผู้ได้รับรางวัล ดังนี้

รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ กลุ่ม IEi (Industrial Engineering Innovators)

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ กลุ่ม Smart working v.3

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ กลุ่ม CDM คาเฟ่

รางวัลชมเชย จำนวน 10 รางวัล

(รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.eng.chula.ac.th/th/54762)

.

รางวัลสร้างชื่อเสียงให้กับคณะวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติแก่บุคลากรและหน่วยงานของคณะวิศวฯ ที่สร้างชื่อเสียงในระดับชาติและนานาชาติ ดังนี้

บุคลากรที่ได้รับรางวัลผลงานด้านการวิจัยและวิชาการ ในระดับชาติและนานาชาติ

  • ศาสตราจารย์ ดร.ชวลิต รัตนธรรมสกุล
  • ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด จงสมจิตร
  • ศาสตราจารย์ ดร.ปารเมศ ชุติมา
  • ศาสตราจารย์ ดร.สุเชษฐ์ ลิขิตเลอสรวง
  • รองศาสตราจารย์ ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์
  • รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐ์ ลีละวัฒน์
  • รองศาสตราจารย์ ดร.ธนารัตน์ ชลิดาพงศ์
  • รองศาสตราจารย์ ดร.รณพีร์ ชัยเชาวรัตน์
  • รองศาสตราจารย์ ดร.สมบูรณ์ รัศมี
  • รองศาสตราจารย์ ดร.อมรชัย อาภรณ์วิชานพ
  • อาจารย์ ดร.จิง ถาง

การเชิดชูเกียรติให้กับภาควิชาที่ได้รับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก อ้างอิงข้อมูลจาก QS World University ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ได้รับการยอมรับในการจัดอันดับสถาบันการศึกษาในระดับสากล โดยเป็นผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกตามรายวิชา (QS University Ranking by Subject) ในปี 2025 ดังนี้

  • Engineering – Civil & Structural อันดับ 151-200 ภาควิชาวิศวกรรมโยธา
  • Engineering – Electrical อันดับ 151-200 ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  • Engineering – Mechanical อันดับ 251-300 ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  • Engineering – Chemical อันดับ 151-200 ภาควิชาวิศวกรรมเคมี
  • Engineering – Mineral & Mining อันดับ 51-100 ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม
  • Engineering – Petroleum อันดับ 49 ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม

(รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.eng.chula.ac.th/th/54839)

.

ประกาศนียบัตรแด่นิสิตผู้อุทิศตนเพื่อคณะวิศวกรรมศาสตร์ มอบให้กับนิสิตจำนวน 191 คน เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรตินิสิตวิศวฯ ที่อุทิศตนเพื่อคณะฯ ที่ร่วมจัดงาน Intania Expo และร่วมช่วยเหลือสังคมในการตรวจสอบอาคารในช่วงที่เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว โดยมีนิสิตเป็นผู้แทนขึ้นรับประกาศนียบัตร (รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.eng.chula.ac.th/th/54892)

.

ปิดท้ายงานในช่วงบ่ายด้วย พิธีเปิดโครงการปรับปรุงพื้นที่ Gewertz Square เพื่อจัดตั้ง “ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเชิงบูรณาการด้าน Smart Living Solutions” ของภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวฯ จุฬาฯ ซึ่งจะเป็นพื้นที่การเรียนรู้และสนามประลอง (Playground) ในการพัฒนาขีดความสามารถของนิสิต พัฒนาต้นแบบนวัตกรรมที่มุ่งสู่เชิงพาณิชย์ และพัฒนาความร่วมมือกับหุ้นส่วนเชิงกลยุทธ์ ส่งเสริมให้เกิดการสร้างนวัตกรรมต้นแบบที่มีความพร้อมนำไปสู่การใช้งานจริง โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ คณบดี เป็นประธานในพิธี มีผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร และนิสิตเก่าเข้าร่วมงาน

.
งานครบรอบ 112 ปี คณะวิศวฯ จุฬาฯ ในครั้งนี้ มี ผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร และนิสิตเก่าเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก พร้อมทั้งได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ ผู้บริหารจากหน่วยงานและคณะต่าง ๆ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหน่วยงานภายนอกมาร่วมแสดงความยินดี

#ChulaEngineering #วิศวจุฬา #Chula #112ปีวิศวจุฬา

 

 

 

 

  

 

 

  

 

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้

บันทึกการตั้งค่า