งาน Intania Music Fest เฉลิมฉลอง 111 ปี วิศวฯ จุฬาฯ

เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2568 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาฯ และสมาคมผู้ปกครองและครู โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานเทศกาลดนตรีสุดยิ่งใหญ่ Intania Music Fest ในโอกาสเฉลิมฉลอง 111 ปี วิศวฯ จุฬาฯ โดยได้รับเกียติจาก น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธานเปิดงาน รองศาสตราจารย์ วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคุณศักดิ์ชัย ยอดวานิช นายกกิตติมศักดิ์ และที่ปรึกษาสมาคมผู้ปกครองและครู โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ กล่าวต้อนรับ
.
ภายในงานมีการแสดงดนตรีสุดพิเศษจาก Ink Waruntorn, Tilly birds, Zom Marie และโชว์จาก CHULA Colorguard feat. จุฬาฯ คฑากร, Bandshi และ IMC พร้อมทั้งมีแจกของรางวัลและอาหารสุดอร่อยมากมาย โดยมีนิสิต บุคลากรและนิสิตเก่าจุฬาฯ เข้าร่วมงานกันอย่างคับคั่ง

วิศวฯ จุฬาฯ จับมือ ไทยคม พัฒนาความร่วมมือด้านการศึกษา เพิ่มศักยภาพความสามารถให้แก่นิสิตไทย รองรับอุตสาหกรรมอวกาศในประเทศ

เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2568 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ผู้นำธุรกิจดาวเทียมแห่งเอเชีย และผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีอวกาศ จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการในด้านดาวเทียมและเทคโนโลยีอวกาศ เพื่อส่งเสริมศักยภาพและขีดความสามารถให้แก่นิสิตและบุคลากร เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมอวกาศในประเทศไทย โดยมี รองศาสตราจารย์ วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคุณเอกชัย ภัคดุรงค์ หัวหน้าคณะผู้บริหาร ด้านกลยุทธ์องค์กร ร่วมลงนาม พร้อมด้วย ผู้บริหาร คณาจารย์ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องประชุมสวนรวมใจ คณะวิศวฯ จุฬาฯ
.
การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ ทั้ง 2 ฝ่ายจะร่วมกันพัฒนาศักยภาพนิสิตให้มีความรู้ความเข้าใจในอุตสาหกรรมอวกาศ ตั้งแต่การพัฒนาดาวเทียม การคิดค้นแพลตฟอร์มเทคโนโลยีอวกาศ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ และการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เพื่อต่อยอดสู่การศึกษา วิจัย และผลิตดาวเทียมให้เกิดขึ้นในประเทศไทย พร้อมรองรับความต้องการผู้เชี่ยวชาญในกิจการอวกาศในอนาคต นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันฝึกอบรม แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ บุคลากร และงานวิจัย เพื่อนำไปใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ อันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศให้เกิดความมั่นคง และแข่งขันได้ในระดับโลกได้อย่างยั่งยืนต่อไป

รับฟังความรู้จากคณะวิศวฯ จุฬาฯ ในรายการ “พูดจาประสาช่าง” ซีรี่ย์วิศวฯ จุฬา 111 ปี อดีต ปัจจุบัน สู่อนาคต

รายการ “พูดจาประสาช่าง” ซีรี่ย์วิศวฯ จุฬาฯ 111 ปี อดีต ปัจจุบัน สู่อนาคต : วิศวกรรมเครื่องกล
.
วิทยากร : ศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ ไชยะภินันท์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวฯ จุฬาฯ
.
ผู้ดำเนินรายการ : ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล

รับชมได้ที่ https://youtu.be/3EYDv1O-9GM
.
สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติม บันทึกการเดินทางของ ศาสตราจารย์ ฮันส์ บันตลิ ได้ที่ https://me.eng.chula.ac.th/about-cume/history/


รายการ “พูดจาประสาช่าง” ซีรี่ย์วิศวฯ จุฬาฯ 111 ปี อดีต ปัจจุบัน สู่อนาคต : วิศวกรรมโยธา
.
วิทยากร : ศาสตราจารย์ ดร.เกษม ชูจารุกุล หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมโยธา และ รศ. ดร.พิชชา จองวิวัฒสกุล รองหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวฯ จุฬาฯ
.
ผู้ดำเนินรายการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ บาลมงคล

รับชมได้ที่ https://youtu.be/9ImjWOtfgb0


รายการ “พูดจาประสาช่าง” ซีรี่ย์วิศวฯ จุฬาฯ 111 ปี อดีต ปัจจุบัน สู่อนาคต : ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
.
วิทยากร : รองศาสตราจารย์ ดร.เชาวน์ดิศ อัศวกุล หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวฯ จุฬาฯ
.
ผู้ดำเนินรายการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ บาลมงคล

รับชมได้ที่ https://youtu.be/sg3euPc8t7M


รายการ “พูดจาประสาช่าง” ซีรี่ย์วิศวฯ จุฬาฯ 111 ปี อดีต ปัจจุบัน สู่อนาคต : วิศวกรรมอุตสาหการ
.
วิทยากร : รองศาสตราจารย์ ดร.อังศุมาลิน เสนจันทร์ฒิไชย หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวฯ จุฬาฯ
.
ผู้ดำเนินรายการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ บาลมงคล

รับชมได้ที่ https://youtu.be/YqOWoJmUy5A


รายการ “พูดจาประสาช่าง” ซีรี่ย์วิศวฯ จุฬาฯ 111 ปี อดีต ปัจจุบัน สู่อนาคต : วิศวกรรมเคมี
.
วิทยากร : รองศาสตราจารย์ ดร.สุรเทพ เขียวหอม หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวฯ จุฬาฯ
.
ผู้ดำเนินรายการ : รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐ์ ลีละวัฒน์

รับชมได้ที่ https://youtu.be/qb21eE4If90


รายการ “พูดจาประสาช่าง” ซีรี่ย์วิศวฯ จุฬาฯ 111 ปี อดีต ปัจจุบัน สู่อนาคต : วิศวกรรมสำรวจ
.
วิทยากร : รองศาสตราจารย์สมชาย เกรียงไกรวศิน หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวฯ จุฬาฯ
.
ผู้ดำเนินรายการ : ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล

รับชมได้ที่ https://youtu.be/cMIsH9lB1Pk


รายการ “พูดจาประสาช่าง” ซีรี่ย์วิศวฯ จุฬาฯ 111 ปี อดีต ปัจจุบัน สู่อนาคต: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน
.
วิทยากร : รองศาสตราจารย์ ดร.เจนยุกต์ โล่ห์วัชรินทร์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน
รองศาสตราจารย์ ดร.ดาว สุวรรณแสง จั่นเจริญ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน คณะวิศวฯ จุฬาฯ
.
ผู้ดำเนินรายการ : ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล

รับชมได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=6NGVDMa6yyk


รายการ “พูดจาประสาช่าง” ซีรี่ย์วิศวฯ จุฬาฯ 111 ปี อดีต ปัจจุบัน สู่อนาคต: คณะวิศวกรรมศาสตร์
.
วิทยากร : รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
.
ผู้ดำเนินรายการ : ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล

รับชมได้ที่ https://youtu.be/pmjHh7gvXZ8

คณะวิศวฯ จุฬา ขอแสดงความยินดีกับนิสิตภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการที่ได้รับรางวัล Moonshot Award จากการประชุมเชิงปฏิบัติการ Intelligent Service : A Social Perspective Workshop ณ ประเทศญี่ปุ่น

เมื่อวันที่ 19-20 ธันวาคม 2567 นาย Alfan Kurnia Yudha นิสิตหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ภายใต้การดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐ์ ลีละวัฒน์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ Intelligent Service : A Social Perspective Workshop ที่จัดขึ้นโดย Institute of Science Tokyo (เดิมชื่อ Tokyo Institute of Technology) Academy for Convergence of Materials and Informatics (TAC-MI) ณ เมืองโออิโซะ จังหวัดคานางาวะ ประเทศญี่ปุ่น
.
หัวข้อของการประชุมเชิงปฏิบัติการคือ “วัสดุแห่งอนาคตและสังคมแห่งอนาคต: วัสดุเพื่อการดำรงชีวิตในสภาพแวดล้อมที่รุนแรง” นาย Alfan ได้รับรางวัล Moonshot ร่วมกับทีมของเขา จากการนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาประชากรล้นโลกและระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นในอนาคตโดยการสร้าง “เมืองโดม” ใต้ทะเล เมืองโดมจะถูกสร้างด้วยวัสดุแห่งอนาคตที่ทำจากโลหะผสมพอลิเมอร์น้ำหนักเบาที่มี 3 ชั้น แต่ละชั้นมีหน้าที่เฉพาะจากชั้นป้องกัน ชั้นผลิตพลังงาน และชั้นควบคุมอุณหภูมิ นอกจากนี้พวกเขายังเสนอว่าโดมจะติดตั้งสายเคเบิลใยแก้วนำแสงที่มีความสามารถในการรวบรวมและส่งแสงอาทิตย์จากผิวน้ำลงไปใต้ทะเลเนื่องจากโดมถูกสร้างที่ระดับความลึก 500-1,000 เมตรใต้ระดับน้ำทะเลที่ไม่มีแสงอาทิตย์
.
รางวัล Moonshot มอบให้กับทีมที่เสนอแนวทางการแก้ปัญหาที่เป็นอนาคตและจะเป็นไปได้ในอนาคตเพื่อนำมาใช้แก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นและจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและเปลี่ยนแปลงสังคมให้มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

 

ขอเชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานเปิดตัวโครงการ CHULA LEARN DO SHARE PLUS พร้อมรับฟังเสวนาทางวิชาการ “นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการจัดการข้อมูลเพื่อการสร้างขีดความสามารถด้านการจัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม” และการบรรยายพิเศษ เรื่อง “จาก COP 29 สู่แนวทางการดำเนินงาน: ก้าวต่อไปของ SMEs ไทย”

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานเปิดตัวโครงการ CHULA LEARN DO SHARE PLUS
.
พร้อมรับฟังเสวนาทางวิชาการ “นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการจัดการข้อมูลเพื่อการสร้างขีดความสามารถด้านการจัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม” และการบรรยายพิเศษ เรื่อง “จาก COP 29 สู่แนวทางการดำเนินงาน: ก้าวต่อไปของ SMEs ไทย”
.
ผู้เข้าร่วมงานจะได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ COP สู่แนวทางการดำเนินงาน: ก้าวต่อไปของ SMEs ไทย รวมถึงการแลกเปลี่ยนมุมมองผ่านเวทีเสวนา “นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการจัดการข้อมูลเพื่อการสร้างขีดความสามารถด้านการจัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม” อีกทั้งเกิดความตระหนักรู้ และเตรียมความพร้อมในการขับเคลื่อนประเทศไทยมุ่งสู่สังคมเป็นกลางทางด้านคาร์บอนด้วยนวัตกรรม
.
โดยความร่วมมือภายใต้โครงการอาศรมความคิด อรุณ สรเทศน์ ณ ลานเกียร์ (เปิดโลกลานเกียร์) ระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมูลนิธิ อรุณ สรเทศน์ ร่วมกับ สถาบันคาร์บอนเพื่อความยั่งยืน (Carbon Institute for Sustainability: CBiS) และภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เนื่องในโอกาสครบรอบวัน อรุณ สรเทศน์ รำลึก ประจำปี 2568
.
ในวันพุธที่ 22 มกราคม 2568
ระหว่างเวลา 09.00 – 12.00 น.
ณ ห้องประชุม 117 ชั้น 1 ตึก 3
.
ผู้สนใจสามารถสมัครลงทะเบียนเข้าร่วมงานบรรยายโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ได้ที่

คณาจารย์และนิสิต คณะวิศวฯ จุฬาฯ ได้รับรางวัล JDR Award for the Most Cited Paper 2024

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2567 สำนักบรรณาธิการวารสาร Journal of Disaster Research (JDR) ได้จัดพิธีมอบรางวัล JDR Award ที่ Gakushi Kaikan ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น จากการพิจารณาโดยคณะกรรมการสำหรับผลงานวิจัยในปีนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐ์ ลีละวัฒน์ ผู้ช่วยคณบดี และอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับเชิญให้รับรางวัล JDR Award for the Most Cited Paper ประจำปี 2567 จากผลงานบทวิจัยเรื่อง “Twitter Sentiment Analysis on Bangkok Tourism During the COVID-19 Situation Using Support Vector Machine Algorithm”
.
บทความนี้เผยแพร่ในปี 2564 โดยมีผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วย นาย ธนภัทร สนธยาสาระ, นาย สิรวิศว์ จริยพงศ์ไพบูลย์, นาย อานนท์ พรหมจรรย์, นาย ณภัทร ศีลพิพัฒน์, ดร.กำพล แสงทับทิม (นักวิจัยหลังปริญญาเอก ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย), อาจารย์ ดร.จิง ถาง (อาจารย์ประจำสำนักบริหารหลักสูตรวิศวกรรมนานาชาติ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย), และรองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐ์ ลีละวัฒน์ (อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) โดยบทความนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Disaster Research, Vol. 16, No. 1, หน้า 24-30 https://doi.org/10.20965/jdr.2021.p0024

พิธีส่งมอบระบบประปาโซล่าเซลล์ชุมชน และฝายกักเก็บน้ำ และระบบกระจายน้ำ “ค่ายวิศวพัฒน์ 10” เพื่อรองรับการปลูกป่าแบบผสมผสาน “ป่าสร้างรายได้” ซึ่งดำเนินการก่อสร้างโดยนิสิตคณะวิศวฯ จุฬาฯ ณ ห้วยน้ำเพี้ยโมเดล บ้านเชตวัน ต.สันทะ อ.นาน้อย จ.น่าน

พิธีส่งมอบระบบประปาโซล่าเซลล์ชุมชน และฝายกักเก็บน้ำ และระบบกระจายน้ำ “ค่ายวิศวพัฒน์ 10” เพื่อรองรับการปลูกป่าแบบผสมผสาน “ป่าสร้างรายได้” ซึ่งดำเนินการก่อสร้างโดยนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย ณ ห้วยน้ำเพี้ยโมเดล บ้านเชตวัน ต.สันทะ อ.นาน้อย จ.น่าน เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2567
.
โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.สรรเพชญ ชื้อนิธิไพศาล อาจารย์ที่ปรึกษาค่าย และ จ.ส.อ.ธงชัย ใจดอนมูล ปลัด อบต.สันทะ กล่าวถึงความเป็นมาของค่ายและรายงานผลการดำเนินงาน และ รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ กล่าวส่งมอบโครงการ โดยนางวจิราภรณ์ อามาตยกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เป็นประธานในพิธีรับมอบโครงการ เพื่อให้อบต.สันทะ ผู้นำชุมชน และเกษตรกรในพื้นที่ ได้บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์ต่อไป
.
ทั้งนี้ “ค่ายวิศวพัฒน์” ของนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ดำเนินการพัฒนาพื้นที่ห้วยน้ำเพื่อโมเดลมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน และครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 10 แล้ว ทำให้พัฒนาพื้นที่ได้อย่างต่อเนื่อง
.
โครงการพัฒนาห้วยน้ำเพี้ยโมเดล มีพื้นที่ต้นแบบ 250 ไร่และพื้นที่ขยายผลอีก 250 ไร่ รวมประมาณ 500 ไร่ เดิมเป็นพื้นที่แห้งแล้ง เกษตรกรปลูกพืชเชิงเดี่ยว พืชล้มลุก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นหลัก มีการใช้สารเคมี ยาฆ่าหญ้า/แมลง มีต้นทุนในการผลิตสูง ไม่ยั่งยืน และมีหนี้สินสะสม
.
ในปี 2559 เป็นต้นมา อบต.สันทะ ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับภาคีเครือข่าย เช่น ป่าไม้นาน้อย อุทยานแห่งชาติขุนสถาน สถาบันพัฒนาพื้นที่สูง(โครงการหลวงแบบขุนสถาน) ผู้นำชุม และเกษตรกร ดำเนินการพัฒนาพื้นที่ โดยการก่อสร้างฝายกักเก็บน้ำ ฝายชลอน้ำ ฝายดักตะกอน สำเร็จแล้วรวม จำนวน 19 จุด, ก่อสร้างระบบกระจากน้ำ/ประปาภูเขาครอบคลุมทุกแปลงในพื้นที่ต้นแบบ 250 ไร่, ขุดบ่อพวงเพื่อกักเก็บน้ำฝนไว้ใช้ในฤดูแล้ง จำนวน 13 บ่อ, ก่อสร้างศูนย์เรียนรู้ 1 แห่ง, ศาลาเนกประสงค์ 17แห่ง, ก่อสร้างบ้านดิน 2 หลัง และปรับปรุงให้มีที่พักเพื่อรองรับการก้าวสู่การท่องเที่ยวเชิงเกษตร จำนวน 5 หลัง, ก่อสร้างระบบประปาโซล่าเชลชุมชน เพื่อส่งน้ำขึ้นพื้นที่สูงรองรับการปลูกป่าชุมชน และป่าเศรษฐกิจ จำนวน 2 จุด
จนถึงปัจจุบัน ได้ขอคืนพื้นที่จากเกษตรกรบางส่วน ดำเนินการปลูกป่าชุมชนตามกลยุทย์ “ป่ากินได้ เห็ดไมคอร์ไรซ่าในป่าชุมชน” แล้ว จำนวน 50 ไร่ และปรับเปลี่ยนพื้นที่จากข้าวโพด เปลี่ยนเป็นไม้ผล ไม้เศรษฐกิจ ตามกลยุทย์ป่าสร้างรายได้ สำเร็จแล้ว ร้อยละ 70 ของพื้นที่ดำเนินงาน
และนับเป็นโอกาสอันดียิ่ง ที่เร็ว ๆ นี้ พื้นที่โครงการพัฒนาห้วยน้ำเพี้ยโมเดล จะได้รับกล้าไม้มะริด สายพันธุ์ ”มะริดสมเด็จพระกนิษฐา“ ที่สนับสนุนโดยสมาคมน้องใหม่จุฬา 17 และศูนย์เพาะกล้าจุฬาไกล่น่าน นำมาปลูกในพื้นที่โครงการพัฒนาห้วยน้ำเพี้ยโมเดล เพื่อเป็นพื้นที่ขยายผลการปลูกไม้มะริด ให้เป็นสมบัติของแผ่นดิน ตามความตั้งใจของ CU17 และตามปฏิทานอันแน่วแน่ของคุณอาทิตย์ “สวนอาดาว” ผู้ที่นำเมล็ดพันธุ์มาจากประเทศฟิลิบปินส์ต่อไป

คณะวิศวฯ จุฬาฯ ร่วมกับ Stelligence ลงนามความร่วมมือพัฒนานิสิตสู่ผู้เชี่ยวชาญในสายงานเทคโนโลยี

เมื่อวันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม 2567 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท เอส เทลลิเจนซ์ จำกัด ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล (Bachelor of Engineering in Computer Engineering and Digital Technology) เพื่อพัฒนาความเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรมและการพัฒนากำลังคนด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องสร้างความร่วมมือที่แข็งแกร่งระหว่างภาคการศึกษาและภาคธุรกิจ โดยการพัฒนาโปรแกรมฝึกอบรมที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะช่วยเพิ่มทักษะและความสามารถของบุคลากรให้พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง และเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมในระดับสากล ซึ่งมีแผนต่อยอดเพื่อขยายความร่วมมือให้ครอบคลุมทุกหลักสูตรและทุกสาขาวิชาภายในคณะฯ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของนิสิตในทุกมิติ
.
พิธีลงนามความร่วมมือครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญที่ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ คณบดีคณะวิศวฯ จุฬาฯ ร่วมกับ ดร.สันติสุข ลิ้มปีติเจริญโชติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอส เทลลิเจนซ์ จำกัด เป็นผู้ลงนาม พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรรถวิทย์ สุดแสง หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และ นายสรุจ ทิพเสนา ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี ร่วมเป็นสักขีพยาน
.
ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและสถาบันการศึกษานี้ เป็นก้าวสำคัญในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านดิจิทัลในประเทศไทย โดยมุ่งผลิตบัณฑิตที่มีทักษะและความรู้ทันสมัย ตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรมดิจิทัล การพัฒนาหลักสูตรจะเน้นการเรียนรู้เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น ซอฟต์แวร์ ความปลอดภัยไซเบอร์ และปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อให้บัณฑิตพร้อมรับมือกับความท้าทายในโลกดิจิทัล พร้อมทั้งสร้างโอกาสใหม่ ๆ ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและความสามารถทางดิจิทัลของประเทศ ความร่วมมือนี้ยังช่วยเตรียมความพร้อมให้กับนิสิตในการรับมือกับโอกาสและความท้าทายใหม่ ๆ ในโลกเทคโนโลยี โดยการเสริมทักษะการทำงานจริงผ่านการฝึกอบรมจากผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม ส่งผลให้ประเทศไทยมีบุคลากรที่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลและสร้างความก้าวหน้าในอนาคตได้อย่างยั่งยืน

คณะวิศวฯ จุฬาฯ ขอแสดงความยินดีกับคณาจารย์วิศวฯ ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันขนส่ง และตำแหน่งทางวิชาการ

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ขอแสดงความยินดีแด่ ศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์สิทธิ์ เฉลิมพงศ์
เนื่องในโอกาสได้รับแต่งตั้งจากที่ประชุมสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ดำรงตำแหน่ง ”ผู้อำนวยการสถาบันขนส่ง”
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2567 เป็นต้นไป
.
และขอแสดงความยินดีแด่
รองศาสตราจารย์ ดร.พิษณุ คะนองชัยยศ
อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
เนื่องในโอกาสได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ตำแหน่ง “รองศาสตราจารย์”
.
รองศาสตราจารย์ ดร.นัทที นิภานันท์
อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
เนื่องในโอกาสได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ตำแหน่ง “รองศาสตราจารย์”
.
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีรพล ศิลาวรรณ์
อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
เนื่องในโอกาสได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ตำแหน่ง “ผู้ช่วยศาสตราจารย์”

คณะวิศวฯ จุฬาฯ จัดอบรมเชิงปฏิบัติ “CoLLAB” เพื่อพัฒนาทักษะการบริหารงานและเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างผู้บริหารและหัวหน้างาน

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดโครงการ Co-learning Leadership Aspiration Building (CoLLAB) กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้บริหารและหัวหน้างานสายสนับสนุน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะสำคัญที่จำเป็นต่อการบริหารงานของคณะ รวมถึงสร้างทัศนคติที่ดีและความเข้าใจในการทำงานร่วมกัน
.
กิจกรรมในครั้งนี้มุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันในรูปแบบ “เพื่อนร่วมชั้นเรียน” ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้บริหารและบุคลากรได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ผ่านกระบวนการที่เน้นการปฏิบัติจริง ทั้งการระดมสมอง การทำเวิร์กช็อป และการแก้ปัญหาจากสถานการณ์จำลองที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงาน
.
รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ กล่าวว่า “กิจกรรมครั้งนี้เป็นโอกาสสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจที่ดีระหว่างผู้บริหารและหัวหน้างานสายสนับสนุน เพื่อร่วมกันพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับคณะวิศวกรรมศาสตร์ในระยะยาว”
.
โดยกิจกรรมอบรมต่อเนื่องครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 คณะวิศวฯ ได้รับเกียรติจากทีมวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านความยั่งยืนของบริษัท PWC ประเทศไทย มาร่วมให้ความรู้และจัดทำเวิร์คช็อปการดำเนินงานเกี่ยวกับแผนปฏิบัติการเพื่อผนวกหลักการ ESG (สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล) ของคณะฯ โดยมีเป้าหมายสัมฤทธิ์ผล Engineering for Sustainable Future ในระยะเวลา 1-3 ปี
.
และสำหรับกิจกรรมอบรมครั้งที่ 3 ในหัวข้อ “Outside-In : The New Growth Landscape for Engineering Education Management” เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2567 ได้รับเกียรติจากวิทยากรกิตติมศักดิ์ คุณสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พลังงาน และคุณปิยะชาติ อิศรภัคดี CEO BRANDi and Companies มาร่วมเปิดมุมมองแห่งความสำเร็จและเสียงสะท้อนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก เพื่อร่วมขับเคลื่อนคณะวิศวกรรมศาสตร์ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ พร้อมปรับตัวและเผชิญความท้าทายต่าง ๆ ในการบริหารจัดการองค์กรที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในยุคปัจจุบัน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้

บันทึกการตั้งค่า