นวัตกรรมใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาด้วย “อนุภาคทรงกลมขนาดไมครอน” โดยคณาจารย์วิศวฯ

แม้ว่าการรักษาในปัจจุบันจะมีวิวัฒนาการก้าวหน้าและลดการเกิดโรคหรือควบคุมโรคได้ดีในระดับหนึ่ง แต่ก็มีผู้รับการรักษาไม่น้อยที่ต้องใช้เวลาในการรักษา มีการรับยาปฏิชีวนะซ้ำๆ รวมไปถึงเสียเวลาในการเดินทางเข้ารับการตรวจรักษาที่โรงพบาบาลเป็นประจำ

ต่อไปนี้การรักษาจะไม่ใช่เรื่องของคุณหมอเพียงอาชีพเดียวอีกต่อไป เมื่อสายวิศวะฯ ขออาสาพัฒนาช่วยอีกแรงในการคิดค้นนวัตกรรม “อนุภาคทรงกลมขนาดไมครอน” เพื่อช่วยลดระยะเวลาในการรักษา ตรงจุด และลดปริมาณยาที่เกินความจำเป็นต่อร่างกาย พัฒนาโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ และคณะผู้วิจัย จากหลักสูตรวิศวกรรมชีวเวช และภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

“อนุภาคขนาดไมครอน หรือที่เรียกว่า ไมโครสเฟียร์ เป็นผลงานทางด้านวิศวกรรมเนื้อเยื่อและระบบนำส่งยา ซึ่งการวิจัยนี้ เรานำไหมไทยมาใช้ในทางการแพทย์โดยนำมาขึ้นรูปร่วมกับวัสดุธรรมชาติชนิดอื่นๆ เช่น เจลาตินคอลลาเจน และใช้เทคนิคอิมัลชั่นในการขึ้นรูป อนุภาคขนาดไมครอนนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น การนำไปดูดซับยาต้านการอักเสบเพื่อรักษาโรคข้อเสื่อม โดยการฉีดเข้าไปที่ข้อโดยตรงเพื่อช่วยลดอาการปวดอักเสบ หรือการนำไปใช้เพาะเลี้ยงเซลล์มะเร็งให้เป็นก้อนมะเร็ง 3 มิติ เพื่อใช้ในการทดสอบการตอบสนองของเซลล์มะเร็งต่อยาต้านมะเร็งชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นระบบที่ใกล้เคียงกับก้อนมะเร็งจริงมากกว่าการเพาะเลี้ยงแบบ 2 มิติ” ผศ.ดร.จุฑามาศ กล่าว

การให้ยารักษาโรคในปัจจุบัน ทั้งรูปแบบการทานยาและฉีดเข้ากระแสเลือดมักต้องมีการให้โดสยาสูง เนื่องจากมีการสูญเสียปริมาณยาตั้งแต่กระเพาะอาหารหรือระบบต่างๆ ในร่างกายระหว่างทางกว่าจะไปถึงอวัยวะเป้าหมาย แต่อนุภาคทรงกลมขนาดไมครอนจะทำหน้าที่ดูดซับตัวยาและฉีดเข้าไปโดยตรงที่อวัยวะเป้าหมายหรือจุดเกิดโรคโดยตรง ช่วยลดปริมาณของยาส่วนเกิน ซึ่งส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาน้อยลงไปด้วยเช่นกัน

ผศ.ดร.จุฑามาศ กล่าวต่อไปว่า “เราออกแบบอนุภาคให้เป็นระบบนำส่ง ที่ควบคุมการปลดปล่อยยา ซึ่งสามารถช่วยลดความถี่ในการรักษา เช่น หากเราต้องทานยาหรือฉีดยา เราต้องทานทุกวันทุกมื้อหรือไม่ได้ฉีดยาแค่เข็มเดียว ด้วยระบบการควบคุมการปล่อยยาจากอนุภาคนี้ จึงทำให้การรักษา 1 ครั้ง สามารถอยู่ได้เป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน ซึ่งเป็นการเจ็บตัวแค่ครั้งเดียวและลดจำนวนครั้งในการมาโรงพยาบาลของผู้ป่วย ในขณะที่ประสิทธิภาพในการรักษาต้องดีกว่าวิธีเดิมและลดผลข้างเคียง จากผลการทดลองในสัตว์ยังไม่พบผลข้างเคียงและตัววัสดุมีความปลอดภัย อีกทั้งใช้ควบคู่กับยาที่คุณหมอใช้ในการรักษาอยู่แล้ว ก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาให้ดียิ่งขึ้น”

ถึงแม้ว่าระดับการทดลองยังอยู่ในขั้น “ทดลองในสัตว์” แต่ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีที่การทดสอบประสบความสำเร็จไปอีกขั้น และดูเหมือนว่ามีความพร้อมที่จะสามารถพัฒนาไปสู่การใช้จริงในมนุษย์ ก็ต้องค่อยดูกันต่อไปว่าอนาคตของวงการแพทย์จะพลิกโฉมไปมากน้อยเพียงใด แต่ในระหว่างนี้ก็ควรมั่นดูแลรักษาสุขภาพ ทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

ที่มา : สำนักบริหารวิจัย จุฬาฯ

https://www.research.chula.ac.th/microsphere/?fbclid=IwAR03g37ssmQIAfVlclgkFrihBvyTNO0DkqasjPgMXfZnEuvUvqmbE1ciC24

นิสิตวิศวฯ ได้รับรางวัล Best Poster Presentation Awards จากงานประชุมวิชาการ ICA SP-CON 2019

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ขอแสดงความยินดีกับ นายรวิชญ์ พิชญาเวทย์ นิสิตภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า และนายพงศ์พิสิฐ์ ธนสุทธิเวศย์ นิสิตภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.บุญเสริม กิจศิริกุล และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มานพ วงศ์สายสุวรรณ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ได้รับรางวัล Best Poster Presentation Awards ในบทความเรื่อง “A Light-weighted and Accurate Crowd-Level Estimation Model by Using Pseudo Ground-truth and Transfer Learning” จากงานประชุมวิชาการ The 2019 Tenth Instrumentation, Control, and Automation Senior Project Conference (ICA SP-CON 2019)

คณะวิศวฯ ร่วมลงนามถวายพระพร สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

วันที่ 2 พฤษภาคม 2562 คณะวิศวกรรมศาสตร์ นำโดย รศ. ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล พร้อมด้วยผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากร ได้ร่วมลงนามถวายพระพร สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ณ ศาลาพระเกี้ยว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะวิศวฯ จัดงานสัมมนาบุคลากรสายปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2562

เมื่อวันที่ 23-25 เมษายน 2562 ณ จังหวัดกระบี่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานสัมมนาบุคลากรสายปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2562 ในหัวข้อ “สร้างเสริมประสิทธิภาพการทำงาน” เพื่อสร้างความสามัคคีและความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บริหารและบุคลากรภายในองค์กร อันจะส่งผลให้การทำงานมีความราบรื่นและสามารถตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการได้ดียิ่งขึ้น

คณะวิศวฯ จัดงานสัมมนาบุคลากรสายปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2562 ในหัวข้อ “สร้างเสริมประสิทธิภาพการทำงาน”

วันที่ 22 เมษายน 2562 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานสัมมนาบุคลากรสายปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2562 ในหัวข้อ “สร้างเสริมประสิทธิภาพการทำงาน” โดยได้รับเกียรติจาก ผศ. ดร.วิชัย เสวกงาม รองคณบดี คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ มาบรรยายในหัวข้อ ค่านิยมหลักสำหรับบุคลากรจุฬาฯ และ ผศ. ดร.สุกรี สินธุภิญโญ ผู้ช่วยคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มาบรรยายในหัวข้อ การใช้โซเชีลยเน็ตเวิร์กสำหรับเรา โดยมี รศ. ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี เป็นประธานเปิดงาน

APPLY NOW!!! G-DORM Student Exchange Program 2019 @ Niigata University, Japan

“G-DORM Student Exchange Program 2019” is a program that encourages foreign students to discuss and work on the issue related to industrial change and explore advanced science and technology courses at Niigata University. There are altogether 3 terms of exchange period; Short Term, Medium Term, and Long Term.

1. Short Term (August 20, 2019 – August 31, 2019)
– 4 undergraduate students will be selected
– Activities: Group work internship and company visit
2. Medium Term (August 6, 2019 – October 19, 2019)
– 1 undergraduate and 1 graduate student will be selected
– Activities: Group work internship and lecture course
3. Long Term (August 6, 2019 – February 8, 2019)
– 1 graduate student will be selected
– Activities: Group work internship and lecture and/or lab activity

The program is eligible for third and fourth-year undergraduate students and graduate students from both faculties; Faculty of Engineering and Faculty of Science, Chulalongkorn University. The minimum GPAX required for application is 3.00.

EXPENSES: Round-trip air ticket provided by Niigata University. Any other expenses such as accommodation charge, transportation fee, meals, insurance can be covered by JASSO Scholarship which offers a monthly stipend of 80,000 yen.

HOW TO APPLY:
1. Fill in the online application form at https://forms.gle/7apGPVyfuxAj38NP6.
2. Submit 1-page Resume, transcript and recommendation letter from your advisor via the following e-mail: international.affairs.eng@gmail.com.
3. The deadline for online application and document submission is May 7, 2019.
4. The interview date will be announced later (within a week after the submission deadline).

For more information, please contact International Affairs Office, Faculty of Engineering via phone no. 02-218-6360 or e-mail to international.affairs.eng@gmail.com.

คณะวิศวฯ จัดโครงการอบรม STEM Robotics for Smart Cities : THAILAND 4.0 หุ่นยนต์สะเต็ม สำหรับเมืองอัฉริยะ : ไทยแลนส์ 4.0

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดโครงการอบรม STEM Robotics for Smart Cities : THAILAND 4.0 หุ่นยนต์สะเต็ม สำหรับเมืองอัฉริยะ : ไทยแลนส์ 4.0 เมื่อวันที่ 6-7 เมษายน 2562 ณ ชั้น 5 อาคารวิศวฯ 100 ปี คณะวิศวฯ จุฬาฯ

ภายใต้แนวคิด เล่นและเรียนรู้อย่างเพลิดเพลิน กับกิจกรรมการเรียนรู้ใน 3 หลักสูตร ประกอบด้วย 1) LEGO EV3 2) Micro :Bit และ 3) Arduino (UNO) ซึ่งได้รับความเกียรติจากทีมวิทยากร Robotics & Coding Dr.Sup และทูต STEM Robotics จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

โดยโครงการอบรมนี้ จะมีอีก 2 ครั้งในเดือนพฤษภาคม 2562 ผู้ที่สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ทาง https://goo.gl/forms/rgBOVMQWFhmszAfA2

 

คณะวิศวฯ จัดพิธีทำบุญตักบาตร ถวายสังฆทาน รดน้ำขอพรฯ เนื่องในโอกาสวันมหาสงกรานต์ ประจำปี 2562

เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2562 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดพิธีทำบุญตักบาตร ถวายสังฆทาน รดน้ำขอพรฯ เนื่องในโอกาสวันมหาสงกรานต์ ประจำปี 2562 โดยมี รศ. ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี เป็นประธานในพิธี

คณะวิศวฯ เข้าร่วมการประชุมนานาชาติการจัดการศึกษาแบบซีดีไอโอ (Conceive – Design – Implement – Operate, CDIO-based Education) สำหรับภูมิภาคเอเชีย

เมื่อวันที่ 25-27 มีนาคม 2562 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย อาจารย์ ดร. พรรณี แสงแก้ว ผู้ช่วยคณบดี และ รองศาสตราจารย์ ดร. อังคีร์ ศรีภคากร ประธานกรรมการวิศวศึกษา ในฐานะ CDIO Collaborator ได้เข้าร่วมการประชุมนานาชาติการจัดการศึกษาแบบซีดีไอโอ (Conceive – Design – Implement – Operate, CDIO-based Education) สำหรับภูมิภาคเอเชีย หรือ “CDIO Asian Regional Meeting” ประจำปี 2019 ณ Dalian Neusoft University of Information, Dalian, Liaoning สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งการเข้าร่วมงานในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรงในฐานะผู้เชี่ยวชาญการจัดการเรียนการสอนด้วยกรอบความคิดการจัดการศึกษาแบบ CDIO อีกทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่ายทางการศึกษาระหว่างประเทศ พร้อมด้วยการเชิญชวนสมาชิก CDIO เข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ “2020 International CDIO Conference” โดยมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในฐานะ CDIO Thailand เป็นเจ้าภาพในการดำเนินงานจัดงานในระหว่างวันที่ 8-12 มิถุนายน 2563

โครงการอบรม STEM Robotics for Smart Cities : THAILAND 4.0 หุ่นยนต์สะเต็ม สำหรับเมืองอัฉริยะ : ไทยแลนส์ 4.0 โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โครงการอบรม STEM Robotics for Smart Cities : THAILAND 4.0 หุ่นยนต์สะเต็ม สำหรับเมืองอัฉริยะ : ไทยแลนส์ 4.0 โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เปิดรับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ การสอนเน้นปูพื้นฐานการเขียนโปรแกรมที่ดี/ความรู้ AI และ SMART CITIES พร้อมเน้นการเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ และการลงมือทำจริง

สนใจติดต่อสอบถาม ได้ที่
ภารกิจยุทธศาสตร์และโครงการพิเศษ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เบอร์โทรศัพท์เจ้าหน้าที่ 086-522-3844, 084-165-8834

รับสมัครจำนวนจำกัด

คลิกสมัครเข้าร่วมกิจกรรม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้

บันทึกการตั้งค่า