คณะวิศวฯ จุฬาฯ ขอแสดงความยินดีกับ ศ. ดร.ชวลิต รัตนธรรมสกุล อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน ในโอกาสที่ได้รับรางวัลเกียรติคุณ รางวัลบุคคลตัวอย่างแห่งปี ประจำปี 2567 (PERSON OF THE YEAR 2024) สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม จากมูลนิธิเพื่อสังคมไทย

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีกับศาสตราจารย์ ดร.ชวลิต รัตนธรรมสกุล อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน ในโอกาสที่ได้รับรางวัลเกียรติคุณ รางวัลบุคคลตัวอย่างแห่งปี ประจำปี 2567 (PERSON OF THE YEAR 2024) สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม จากมูลนิธิเพื่อสังคมไทย โดยได้รับเกียรติจากพลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุก องคมนตรี เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลฯ เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2567 ณ หอประชุมกองทัพอากาศ กรุงเทพมหานคร เพื่อยกย่องผู้ที่มีความสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติจริง มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศในการสร้างสรรค์ผลงาน สร้างประโยชน์ให้กับสังคม ส่วนรวม และประเทศชาติ สมควรได้รับการยกย่องเชิดชูให้เป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคมและสาธารณชนสืบไป

วิศวฯ จุฬาฯ และ SCGJWD ร่วมลงนามความร่วมมือทางวิชาการโครงการวิจัย “SmartDriver” เพื่อการพัฒนาระบบควบคุมการขนส่งและพนักงานขับรถอัจฉริยะ

เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2567 บริษัท เอสซีจี เจดับเบิ้ลยูดี โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการการพัฒนาระบบควบคุมการขนส่งและพนักงานขับรถอัจฉริยะ ระหว่าง คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ บริษัท เอสซีจี เจดับเบิ้ลยูดี โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) ณ ห้องประชุม 707 ชั้น 7 อาคารเอสซีจี 100 ปี สำนักงานใหญ่ บางซื่อ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ คณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.ประมวล สุธีจารุวัฒน หัวหน้าโครงการฯ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ คุณบรรณ เกษมทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม คุณประพนธ์ ธนาสุทธิเสรี Vice President – WSG and SD บริษัท เอสซีจี เจดับเบิ้ลยูดี โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฯ รองศาสตราจารย์ ดร.วัชรพล ชยประเสริฐ ผู้อำนวยการแผนงานพัฒนาระบบโลจิสติกส์และระบบรางของประเทศ บพข. ได้กล่าวถึงการสนับสนุนงบประมาณในการทำวิจัย พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรัฐ ขวัญเมือง รองคณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.อังศุมาลิน เสนจันทร์ฒิไชย หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ รองศาสตราจารย์ ดร.อังคีร์ ศรีภคากร หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรรถวิทย์ สุดแสง หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ รองศาสตราจารย์ ดร.พิศิษฎ์ จารุมณีโรจน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มานิดา สว่างเนตร นอยแบร์ท ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ รองศาสตราจารย์ ดร.กุลธิดา โรจน์วิบูลย์ชัย ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษฎา พนมเชิง และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นักสิทธ์ นุ่มวงษ์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวฯ จุฬาฯ และผู้บริหาร SCGJWD ร่วมเป็นสักขีพยาน

 

การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการนี้ เพื่อร่วมกันพัฒนาโครงการวิจัยเรื่อง “ระบบควบคุมการขนส่งและพัฒนาพนักงานขับรถอัจฉริยะโดยอาศัยนวัตกรรมการติดตามพฤติกรรมด้วยปัญญาประดิษฐ์และการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ โครงการ SmartDriver” ซึ่งได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) โดยมี บริษัท เอสซีจี เจดับเบิ้ลยูดี โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ให้ทุนร่วม

 

โครงการวิจัยนี้เป็นการบูรณาการองค์ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์วิชาการทางวิศวกรรมจากคณาจารย์และนักวิจัยจาก 3 ภาควิชาของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ คือ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบูรณาการนวัตกรรมสหศาสตร์ที่สามารถช่วยจัดการระบบการขนส่งและโลจิสติกส์ด้วยรถบรรทุกซึ่งเป็นธุรกิจของ SCGJWD โดยอาศัยการประมวลข้อมูลด้านการขับขี่ ความพร้อมของพนักงงานและรถขนส่ง ผู้ประกอบการขนส่งสามารถควบคุมพฤติกรรมเสี่ยงขณะขับรถผ่านระบบติดตามแบบออนไลน์ (Online Monitoring and control System) ซึ่งสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของวิธีการบริหารจัดการข้อมูลตลอดจนเทคโนโลยีเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศ พัฒนาระบบโลจิสติกส์ให้ทันสมัย ได้มาตรฐานสากล และในระยะยาวยังสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายรองรับระบบเศรษฐกิจนวัตกรรมในภูมิภาคอาเซียนได้

 

คณะวิศวฯ จุฬาฯ ขอแสดงความยินดีกับนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ และนิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีที่ได้รับรางวัลจากการแข่งขัน STECON Construction Innovation Challenge 2024

เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.เสวกชัย ตั้งอร่ามวงศ์ รองคณบดี รองศาสตรจารย์ ดร.มนัสกร ราชากรกิจ ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ อาจารย์ ดร.วิท วรรณไกรโรจน์ รักษาผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำทีมนิสิตจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี เข้าแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ STECON Construction Innovation Challenge 2024 ซึ่งจัดโดย บริษัท ซิโน-ไทย คอนสตรัคชั่นแอนด์เอ็นจีเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ 9 มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เพื่อให้นิสิตนักศึกษาใช้ความรู้ด้านวิศวกรรม ความคิดสร้างสรรค์ ค้นหานวัตกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน ลดผลกระทบต่อสังคม เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งหวังการพัฒนาอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยให้ยั่งยืน โดยมีนิสิตจากจุฬาฯ ได้รับรางวัล ดังนี้
.
รางวัลชนะเลิศ: กลุ่ม Triple_B
สมาชิกในทีมประกอบด้วย
– นางสาวธนัชญา จิตต์อารี นิสิตภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวฯ
– นายคริส เปราธ์มินทร์ บาวเวนส์ นิสิตภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน คณะวิศวฯ
– นายชัยธวัฒน์ พงษ์ไทยศิลป์ นิสิตภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน คณะวิศวฯ
.
อาจารย์ที่ปรึกษา
– รองศาสตราจารย์ ดร.ชารินี ลิ้มสวัสดิ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวฯ
– รองศาสตราจารย์ ดร.มนัสกร ราชากรกิจ ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน คณะวิศวฯ
.
รางวัลชมเชย: กลุ่ม Optifoma
สมาชิกในทีมประกอบด้วยนิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
– ภูมิภัทร อุตตมธนินทร์
– กิตติพศ ฉัตรวิทยาทรัพย์
– อินทนนท์ ฉัตรชัยพลรัตน์
– แสงแดด มณีวงศ์
– สิริกร กิตกำธร
– กฤตยา สุขถาวรประสิทธิ์
– นครินทร์ วิเศษพานิชกิจ
– เกตุงาม ชุมช่วย
.
อาจารย์ที่ปรึกษา
– รองศาสตราจารย์ ดร.เสวกชัย ตั้งอร่ามวงศ์ รองคณบดี คณะวิศวฯ
– อาจารย์ ดร.วิท วรรณไกรโรจน์ รักษาผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาฯ

คณะวิศวฯ จุฬาฯ ขอแสดงความยินดีกับ รศ. ดร.ธนารัตน์ ชลิดาพงศ์ คณะวิศวฯ รศ. ดร.ดวงดาว ปาละสุวรรณ และ รศ. ดร.อรรถกร ปาละสุวรรณ คณะสหเวชศาสตร์ ในโอกาสที่ผลงาน “Red cell detector” ได้รับรางวัลเหรียญทอง Gold Medal Award จากการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม ในงาน 13th 2024 World Invention Creativity Olympics & Conference

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีกับ รองศาสตราจารย์ ดร.ธนารัตน์ ชลิดาพงศ์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.ดวงดาว ปาละสุวรรณ (หัวหน้าโครงการ) และ รองศาสตราจารย์ ดร.อรรถกร ปาละสุวรรณ ภาควิชาจุลทรรศน์ศาสตร์คลินิก คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ ในโอกาสที่ผลงาน “Red cell detector” ได้รับรางวัลเหรียญทอง Gold Medal Award จากการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม ในงาน 13th 2024 World Invention Creativity Olympics & Conference จัดโดย Korea University Invention Association (KUIA) and World Invention Intellectual Property Association (WIIPA) เมื่อวันที่ 23-24 กรกฎาคม 2567 ณ Seoul University of Education Convention Hall กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลีใต้ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประมาณ 2,000 คน จาก 25 ประเทศทั่วโลก

 

นวัตกรรม “เท้าเทียม Dynamic Prosthetic Foot” และ “แผ่นปิดกะโหลกเทียมไทเทเนียมเฉพาะบุคคล” โดยคณาจารย์ คณะวิศวฯ จุฬาฯ ร่วมแสดงผลงานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการสนับสนุนการใช้ผลิตภัณฑ์และบริการทางการแพทย์ที่ผลิตในประเทศด้วยองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ระหว่าง สปสช. และ สกสว.

นวัตกรรม “เท้าเทียม Dynamic Prosthetic Foot” และ “แผ่นปิดกะโหลกเทียมไทเทเนียมเฉพาะบุคคล” โดยคณาจารย์ คณะวิศวฯ จุฬาฯ ซึ่งเป็นผลงานที่ได้รับมาตรฐานทางการแพทย์ในระดับสากล และได้ถูกประกาศให้สามารถใช้เป็นผลิตภัณฑ์การแพทย์ในประเทศไทยที่อยู่ในบัญชีสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า จาก สปสช. ได้ร่วมแสดงผลงานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการสนับสนุนการใช้ผลิตภัณฑ์และบริการทางการแพทย์ที่ผลิตในประเทศด้วยองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ระหว่าง สปสช. และ สกสว.
.
เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2567 เวลา 10.00 – 12.00 น. ณ ห้องสุขุมวิท 2 ชั้น 3 โรงแรม JW Marriott Bangkok ถนนสุขุมวิท กรุงเทพ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้ร่วมกับสำนักงานหลักประสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จัดพิธีลงนาม “บันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการสนับสนุนการใช้ผลิตภัณฑ์และบริการทางการแพทย์ที่ผลิตในประเทศด้วยองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม” เพื่อการส่งเสริมการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางการแพทย์ให้มีมาตรฐาน สามารถผลิตได้จริงในประเทศ และสอดคล้องกับความต้องการของผู้มีสิทธิในหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยมี นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดงาน รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าร่วมงานฯ
.
ทั้งนีัภายในงานได้มีการจัดแสดงผลงานนวัตกรรมที่ผ่านการพัฒนาจนได้รับมาตรฐานทางการแพทย์ในระดับสากล และได้ถูกประกาศให้สามารถใช้เป็นผลิตภันฑ์การแพทย์ในประเทศไทยที่อยู่ในบัญชีสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช) เพื่อให้คนไทยใช้สิทธิได้อย่างทั่วถึง
.
โดยมีผลงานนวัตกรรมจากคณาจารย์คณะวิศวฯ จุฬาฯ จำนวน 2 รายการ ที่ได้จัดแสดงในงานนี้ด้วย ได้แก่
.
1) เท้าเทียม Dynamic Prosthetic Foot โดย
รองศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ตั้งพรประเสริฐ และ รองศาสตราจารย์ ดร.ชัญญาพันธ์ วิรุฬห์ศรี ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
.
2) แผ่นปิดกะโหลกเทียมไทเทเนียมเฉพาะบุคคล โดย รองศาสตราจารย์ ดร.บุญรัตน์ โล่ห์วงศ์วัฒน และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร เชษฐา พันธ์เครือบุตร ภาควิชาวิศวกรรมโลหการ

คณะวิศวฯ จุฬาฯ ขอแสดงความยินดีกับนิสิตวิศวฯ ที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จากกิจกรรมการแข่งขันนำเสนอผลงานในโครงการ The Comprehensive Course in Japanese Business Innovation Program 2024

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีกับนิสิตที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จากกิจกรรมการแข่งขันนำเสนอผลงานในโครงการ The Comprehensive Course in Japanese Business Innovation Program 2024 ภายใต้หัวข้อ Innovation in upcycling the eco-friendly products & services: นวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่มาจากการ upcycle จัดโดยหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพ (JCC) เมื่อวันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม 2567 ณ โรงแรม The Landmark Bangkok (ห้อง Ballroom ชั้น 7) ภายในงานประกอบด้วย คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตัดสินการประกวดแข่งขัน ได้แก่ ดร.พิเชฐ โพธิ์ภักดี รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ คุณฮิโรยาซุ ซาโต้ รองประธาน หอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ และประธานส่วนการศึกษา คณะกรรมการฝ่ายช่วยเหลือสังคม คุณโนบูยูกิ อิชิอิ กรรมการผู้จัดการ หอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ คุณคะซึชิเกะ อะสะดะ ประธานคณะกรรมการฝ่ายการพัฒนาบุคลากร หอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ
.
กิจกรรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ บาลมงคล ผู้ช่วยคณบดีด้านวิชาการ เข้าร่วมเป็นผู้แทนของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และร่วมให้กำลังนิสิตที่เป็นตัวแทนเข้าร่วมแข่งขันในครั้งนี้ โดยมีผู้แทนนิสิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ผ่านการคัดเลือก เข้าร่วมการแข่งขันจำนวน 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม พักใจ และ กลุ่ม OHO KTK โดยกลุ่มที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ กลุ่ม OHO KTK นำเสนอผลงานชื่อ “OHO Fireball” เป็นแนวคิดในการช่วยแก้ปัญหาเพลิงไหม้ ซึ่งสามารถสร้างผลกระทบให้แก่ชีวิตและทรัพย์สิน โดยในหลายครั้งจะพบว่าการระงับเหตุเพลิงไหม้จะใช้เวลาค่อนข้างนาน จนอาจนำไปสู่ความเสียหายที่เกินกว่าจะสามารถประเมินค่าได้ กลุ่มจึงมีแนวคิดในการสร้างนวัตกรรมในรูปแบบของลูกบอลดับเพลิงที่ออกแบบมาเพื่อช่วยในการดับไฟที่ลุกลามไปแล้ว ซึ่งภายในลูกบอลมีการบรรจุสารดับเพลิง คือ CO2 ในการกำจัด O2 ซึ่งเป็นองค์ประกอบของการเกิดไฟ และ CaCO3 เพื่อกลบไฟที่ลุกไหม้อยู่ อีกทั้งลูกบอลยังถูกออกแบบให้สามารถนำไป Recycle และ Reuse ได้ง่ายอีกด้วย เพื่อเป็นการลดการใช้ทรัพยากรและการเกิดของเสียจากผลิตภัณฑ์
.
ชื่อทีม : OHO KTK (รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2)
ผลงาน : OHO Fireball
อาจารย์ที่ปรึกษา: รองศาสตราจารย์ ดร.มนัสกร ราชากรกิจ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวฯ จุฬาฯ
สมาชิกกลุ่ม :
1. นายณฐชนนท์ เตชไพสิฐพงศ์ ชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์
2. นายจิรวัฒน์ ธเนศสิริพงศ์ ชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์
3. นายนราภัทร์ วิจบ ชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์
4. นางสาวเชรีย์ ประจงทัศน์ ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์
5. นางสาวณัฏฐณิชา ปานรัตน์ ชั้นปีที่ 2 สาขาบัญชีบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
.
ชื่อทีม : พักใจ
ผลงาน : พักพิง
อาจารย์ที่ปรึกษา: 1. รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐ์ ลีละวัฒน์ ผู้ช่วยคณบดีด้านสื่อสารองค์กรและวิรัชกิจ/อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวฯ จุฬาฯ
2. รองศาสตราจารย์ พรเทพ เลิศเทวศิริ อาจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ
สมาชิกกลุ่ม :
1. นางสาวอริสา หรือตระกูล ชั้นปีที่ 3 ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
2. นางสาวรัตนษฎา เตียวจำเริญ ชั้นปีที่ 3 สาขาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์
3. นายต้นตระกูล กลั่นซ้าย ชั้นปีที่ 3 สาขาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์
4. นางสาวปันนา คำวิเศษ ชั้นปีที่ 2 สาขาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์

 

คณะวิศวฯ จุฬาฯ ขอแสดงความยินดีกับนิสิตภาควิชาวิศวกรรมโยธา ที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 คอนกรีตมวลเบา ประเภทเบาที่สุด จากการแข่งขันคอนกรีตมวลเบาระดับอุดมศึกษา ครั้งที่ 17 ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีกับ นายเจนวิทย์ จันทิมากร นายณัฐพล พ่อนุ้ย และนางสาวณพัฒน์ ถาวรสุขาวดี นิสิตภาควิชาวิศวกรรมโยธา ที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 คอนกรีตมวลเบา ประเภทเบาที่สุด จากการแข่งขันคอนกรีตมวลเบาระดับอุดมศึกษา ครั้งที่ 17 ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
.
โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชยุตม์ งามโขนง ดร.กานต์ธิปก ฮามคำไพ และนายอดิศร ชวนปี นำทีมนิสิตเข้าร่วมการแข่งขันดังกล่าว ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล ระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม 2567 – 1 สิงหาคม 2567

คณะวิศวฯ จุฬาฯ ขอแสดงความยินดีกับนิสิต สาขาวิศวกรรมนาโน หลักสูตรวิศวกรรมนานาชาติ ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ในงาน IEEE-NANO 2024

Congratulations to Natchanon Jiwarawat, Thapan Leukulwatanachai, and Kunbhass Subhakornphichan, Nano-Engineering Students for Winning in the IEEE NANO 2024!
.
We are proud to announce that our 4th-year Nano-Engineering students, Natchanon Jiwarawat, Thapan Leukulwatanachai, and Kunbhass Subhakornphichan, along with Nano alumni Siwagorn Limwathanagura and Sittinadh Wanotayan, under the guidance of Dr. Porpin Pungetmongkol (ISE), have made significant strides in their research endeavors. Their innovative work, titled “RAPID AND LOW-COST FABRICATION OF GRAPHENE FROM PENCIL LEAD,” has been accepted for presentation at the prestigious 24th IEEE International Conference on Nanotechnology (IEEE-NANO 2024), which will be held from July 8-11, 2024, in Gijón, Spain.
.
Following their presentation, Natchanon Jiwarawat, Thapan Leukulwatanachai, and Kunbhass Subhakornphichan were recognized for their outstanding contribution to the conference with an award in the NANO Student Design Competition (SDC). This accolade highlights their dedication and the high quality of their research.
.
Building on this success, the team further extended their research, culminating in the publication of their work titled “ELECTROCHEMICAL EXFOLIATION OF GRAPHENE FROM PENCIL LEAD” in the journal, Scientific Reports, a Nature publication.
.
We invite you to explore their groundbreaking work at this link (https://www.nature.com/articles/s41598-024-66825-0)
#ise_studentaward

 

 

 

ขอแสดงความยินดีกับทีม “Bangkok Consulting Group” นิสิตชั้นปีที่ 4 จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ การแข่งขัน Thailand Social Case Competition 2024

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีกับทีม “Bangkok Consulting Group” นิสิตชั้นปีที่ 4 จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ การแข่งขัน Thailand Social Case Competition 2024 การแข่งขันแก้ไขปัญหาสังคมผ่านการนำเสนอแนวคิดและกลยุทธ์เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาสังคมในทิศทางที่ดีขึ้น ใน Theme “Circular Economy” เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2567 จัดโดย AIESEC in Thailand โดยได้รับการสนับสนุนจาก Asian Productivity Organization (APO) และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
.
สมาชิกในทีมประกอบด้วย:
⭐️ กริชชัย ตรียางณิชย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
⭐️ อริสา หรือตระกูล คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
⭐️ พระคุณ วงศ์มหาพร BBA, International Program, Major Marketing and Brand Management
⭐️ แสนพิมพ์ สรรพวีรวงศ์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี สาขาการวิเคราะห์ทางการเงินและการลงทุน

รับฟังความรู้จากคณะวิศวฯ จุฬาฯ ในรายการ “พูดจาประสาช่าง” ตอนพิเศษ ร่วมกับสมาคมนิสิตเก่าวิศวฯ จุฬาฯ ในหัวข้อ “วิศวกรรมศาสตร์ก้าวไกลสู่นานาชาติ” ตอนที่ 1 และตอนที่ 2

รับฟังความรู้จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในรายการ “พูดจาประสาช่าง” ตอนพิเศษ ร่วมกับสมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
.
หัวข้อ “วิศวกรรมศาสตร์ก้าวไกลสู่นานาชาติ” ตอนที่ 1 และตอนที่ 2
.
โดยวิทยากร: รศ. ดร.วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์
คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
.
ผู้ดำเนินรายการ: รศ. ดร.ปริทรรศน์ พันธุบรรยงก์ วศ.2515
.
ท่านสามารถรับฟังข้อมูลข่าวสาร ความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์ที่ทันสมัย ในรายการ “พูดจาประสาช่าง” โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้ทางสถานีวิทยุจุฬาฯ FM 101.5 MHz ทุกวันอาทิตย์ เวลา 08.30-08.55 น.


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้

บันทึกการตั้งค่า