คณบดีคณะวิศวฯ จุฬาฯ ร่วมกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุมนานาชาติ Water Forum ครั้งที่ 6

รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุมนานาชาติ Water Forum ครั้งที่ 6 ในหัวข้อ “Empowering Water and Environmental Technology for a Climate-Friendly Future in the Asia Pacific” โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 200 คน ทั้งจากในและต่างประเทศ พร้อมร่วมแสดงความยินดีต่อ MOU ความร่วมมือในการจัดงาน Water Forum ระหว่าง สมาคมการประปาแห่งประเทศไทย วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย สมาคมนักอุทกวิทยาไทย คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ อินฟอร์ม่า มาร์เก็ต โดยมี นายเถลิงศักดิ์ เพชรสุวรรณ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นสักขีพยาน และทำพิธีเปิดประชุมดังกล่าวร่วมกัน ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ เมี่อวันที่ 4 กรกฏาคม 2567 โดยมีนิทรรศการแสดงผลงานวิจัยของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมในงานด้วย

คณะวิศวฯ จุฬาฯ ขอแสดงความยินดีแก่คณาจารย์ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ตำแหน่ง “ผู้ช่วยศาสตราจารย์”

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ขอแสดงความยินดีแก่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูวดล ดุษฎีรังสีกุล
อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
.
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงศ์ธร เจริญศุภนิมิต
อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเคมี
.
เนื่องในโอกาสได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ตำแหน่ง “ผู้ช่วยศาสตราจารย์”

คณะวิศวฯ จุฬาฯ ขอแสดงความยินดีแด่ ศ. ดร.เกษม ชูจารุกุล เนื่องในโอกาสได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมโยธา และ รศ. ดร.เชาวน์ดิศ อัศวกุล เนื่องในโอกาสได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีแด่
.
ศาสตราจารย์ ดร.เกษม ชูจารุกุล
เนื่องในโอกาสได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมโยธา
.
รองศาสตราจารย์ ดร.เชาวน์ดิศ อัศวกุล
เนื่องในโอกาสได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
.
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป

พิธีลงนามความร่วมมือระหว่างคณะวิศวฯ จุฬาฯ และ บริษัท ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) ในด้านการพัฒนา ส่งเสริม และสร้างบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบวงจรรวม

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2567 ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดร.บดินทร์ เกษมเศรษฐ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ บริษัท ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) ในด้านการพัฒนา ส่งเสริม และสร้างบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบวงจรรวม โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.แนบบุญ หุนเจริญ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า และคณาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าร่วมเป็นสักขีพยาน

คณะวิศวฯ จุฬาฯ ขอแสดงความยินดีกับคณาจารย์คณะวิศวฯ ในโอกาสที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในทีมผู้บริหารชุดใหม่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2567 – 2571

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีกับคณาจารย์คณะวิศวฯ ในโอกาสที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในทีมผู้บริหารชุดใหม่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2567 – 2571 ดังนี้
– รองศาสตราจารย์ ดร.มาโนช โลหเตปานนท์ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้รักษาการแทนรองอธิการบดี ด้านกายภาพ และไอที
– รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยเชษฐ์ สายวิจิตร ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้รักษาการแทนผู้ช่วยอธิการบดี ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
– รองศาสตราจารย์ ดร.วิทิต ปานสุข ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้รักษาการแทนผู้ช่วยอธิการบดี ด้านงานกายภาพ การรักษาความปลอดภัยและการจัดการจราจร
– อาจารย์ ดร.จรัสพัฒน์ พฤกษารัตนวุฒิ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้รักษาการแทนผู้ช่วยอธิการบดี ด้านการจัดการทรัพย์สิน

ประกาศผู้ได้รับรางวัล “ศักดิ์อินทาเนีย” พ.ศ. 2567

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดดำเนินงานโครงการรางวัล “ศักดิ์อินทาเนีย” พ.ศ. 2567 เพื่อประกาศเกียรติคุณแก่บุคลากรที่มีความสามารถ มีผลการดำเนินงานโดดเด่น เป็นแบบอย่างที่น่ายกย่องสอดคล้องกับค่านิยมหลักขององค์กร (Core Value) และสมควรได้รับการเชิดชูเกียรติ โดยมีรายชื่อผู้สมควรได้รับรางวัล “ศักดิ์อินทาเนีย” พ.ศ. 2567 จำนวน 9 ราย ดังนี้

1. ประเภทบุคลากรสายวิชาการ

1.1 รางวัลด้านการกระตุ้นสร้างนวัตกรรม (N : Nudge Innovation) จำนวน 2 ราย คือ
– อาจารย์ ดร.จรัสพัฒน์ พฤกษารัตนวุฒิ ภาควิชาวิศวกรรมโลหการ
– ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ หนูไพโรจน์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

1.2 รางวัลด้านการก้าวนำการเปลี่ยนแปลง (O : Overcome Changes) จำนวน 1 ราย คือ
– รองศาสตราจารย์ ดร.สุธา ขาวเธียร ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

1.3 รางวัลด้านการพร้อมร่วมแรงสู่ความยั่งยืน (W : Work Together) จำนวน 1 ราย คือ
– รองศาสตราจารย์ ดร.วิทิต ปานสุข ภาควิชาวิศวกรรมโยธา

2. ประเภทบุคลากรสายปฏิบัติการ

2.1 รางวัลด้านการกระตุ้นสร้างนวัตกรรม (N : Nudge Innovation) จำนวน 1 ราย คือ
– นายอนุพงศ์ วงศ์จำปา ภารกิจบริหารและธุรการ ด้านสื่อสารองค์กรและวิรัชกิจ

2.2 รางวัลด้านการก้าวนำการเปลี่ยนแปลง (O : Overcome Changes) จำนวน 2 ราย คือ
– นางขนิษฐา รัศมิทัต ภารกิจบริหารและธุรการ ด้านสารบรรณและสำนักคณบดี
– น.ส.สุนันทา บุญสิงห์ ภารกิจบริหารคุณภาพองค์กร

2.3 รางวัลด้านการพร้อมร่วมแรงสู่ความยั่งยืน (W : Work Together) จำนวน 2 ราย คือ
– น.ส.มโนทัย ศรีละออ ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
– นายจรัญ สุขเกษม ภารกิจบริหารระบบกายภาพ

โดยจะเข้ารับรางวัล “ศักดิ์อินทาเนีย” พ.ศ. 2567 ในงานครบรอบ 111 ปี แห่งการสถาปนาคณะวิศวฯ จุฬาฯ ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2567

 

 

พิธีเปิดค่ายฟันเฟืองสานฝันครั้งที่ 23 ณ โรงเรียนเทพาลัย ต.เทพาลัย อ.คง จ.นครราชสีมา

เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2567 ผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.สุรัฐ ขวัญเมือง ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมค่ายฟันเฟือง ครั้งที่ 23 ณ โรงเรียนเทพาลัย ต.เทพาลัย อ.คง จ.นครราชสีมา
.
ค่ายฟันเฟืองสานฝัน ครั้งที่ 23 เป็นค่ายสอนหนังสือ สร้างความรู้ความเข้าใจ แนะแนวทางในการศึกษาต่อในคณะวิศวกรรมศาสตร์ และสร้างแรงบันดาลใจให้กับน้อง ๆ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จัดโดย นิสิตชมรมวิชาการ คณะวิศวฯ จุฬาฯ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-31 พฤษภาคม 2567 โดยปีนี้มีน้อง ๆ ม.ปลายเข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 73 คน

 

งานแถลงผลงานโครงการประเมินและวิเคราะห์ความปลอดภัยทางถนนกรุงเทพมหานครด้วยมาตรฐานนานาชาติ (iRAP) โดย สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร ร่วมมือกับ ThaiRAP คณะวิศวฯ จุฬาฯ

งานแถลงผลงานโครงการประเมินและวิเคราะห์ความปลอดภัยทางถนนกรุงเทพมหานครด้วยมาตรฐานนานาชาติ (iRAP) โดย สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร ร่วมมือกับ ThaiRAP คณะวิศวฯ จุฬาฯ

เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2567 นายศุภกฤต บุญขันธ์ รองปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นประธานการแถลงผลงานโครงการประเมินและวิเคราะห์ความปลอดภัยทางถนนกรุงเทพมหานคร ด้วยมาตรฐานนานาชาติ (iRAP) โดยมี นายไทภัทร ธนสมบัติกุล ผู้อํานวยการสำนักการจราจรและขนส่ง ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์ ดร.เกษม ชูจารุกุล รองคณบดี และผู้จัดการศูนย์ความเป็นเลิศ ThaiRAP รองศาสตราจารย์ ดร.เสวกชัย ตั้งอร่ามวงศ์ ผู้ช่วยคณบดี คณะวิศวฯ จุฬาฯ ผู้บริหารสำนักการจราจรและขนส่ง ร่วมงานแถลงข่าว ณ ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) เขตพระนคร
.
สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร ได้ร่วมมือกับหน่วยงาน ThaiRAP ภายใต้คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานแถลงผลงานโครงการประเมินและวิเคราะห์ความปลอดภัยทางถนนกรุงเทพมหานครด้วยมาตรฐานนานาชาติ (iRAP) โดยโครงการมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. สร้างความรู้ความเข้าใจเกณฑ์การประเมินความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล (iRAP) ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2. วิเคราะห์ลำดับความสำคัญของโครงข่ายถนนกรุงเทพมหานคร สำหรับวางแผนในการปรับปรุงความปลอดภัย
3. ศึกษาและประยุกต์ใช้ iRAP ในการประเมินโครงข่ายถนนในกรุงเทพมหานคร เพื่อออกแบบปรับปรุงความปลอดภัยบนถนนต้นแบบ
4. กำหนดกรอบแนวทางการยกระดับความปลอดภัยบนโครงข่ายถนนในกรุงเทพมหานครด้วยมาตรฐานสากล เพื่อให้บรรลุค่าเป้าหมายโลกด้านความปลอดภัยทางถนน
.
ผลลัพธ์ที่ได้จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
1. ผลการประเมินระดับความปลอดภัย โครงข่ายถนนสายหลัก 500 กม. พร้อมทั้งมาตรการที่ต้องปรับปรุงเพื่อยกระดับความปลอดภัยให้ผ่านระดับความปลอดภัย 3 ดาว โดยพบว่าถนนที่ผ่าน 3 ดาวแยกตามกลุ่มผู้ใช้ทางอยู่ที่ร้อยละ 54 สำหรับกลุ่มผู้ใช้รถยนต์ ร้อยละ 26 สำหรับกลุ่มผู้ใช้รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 53 สำหรับกลุ่มคนเดินเท้าและร้อยละ 38 สำหรับกลุ่มผู้ใช้จักรยาน
2. ผลการประเมินระดับความปลอดภัยถนนนำร่องในพื้นที่ 50 เขต เขตละ 1 เส้นทาง พร้อมทั้งมาตรการเพิ่มระดับดาว (SRIP plan) และตำแหน่งการใช้มาตรการ โดยพบว่าถนนที่ผ่าน 3 ดาวแยกตามกลุ่มผู้ใช้ทางอยู่ที่ร้อยละ 60 สำหรับกลุ่มผู้ใช้รถยนต์ ร้อยละ 40 สำหรับกลุ่มผู้ใช้รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 36 สำหรับกลุ่มคนเดินเท้า และร้อยละ 58 สำหรับกลุ่มผู้ใช้รถจักรยาน
3. ผลการประเมินระดับความปลอดภัยถนนกรณีศึกษาวงแหวนรัชดา 50 กม. และแบบสำหรับปรับปรุงความปลอดภัยถนน (Conceptual Design) จัดทำแผนระยะสั้นและระยะยาว โดยพบว่าถนนที่ผ่าน 3 ดาวแยกตามกลุ่มผู้ใช้ทางอยู่ที่ร้อยละ 71 สำหรับกลุ่มผู้ใช้รถยนต์ ร้อยละ 30 สำหรับกลุ่มผู้ใช้รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 52 สำหรับกลุ่มคนเดินเท้า และร้อยละ 17 สำหรับกลุ่มผู้ใช้รถจักรยาน
.
ผลการศึกษาจากโครงการนี้ สามารถนำไปสู่แผนการในการยกระดับความปลอดภัยทางถนนโดยเน้น 5 ประเด็นหลัก ได้แก่ การควบคุมความเร็วที่เหมาะสม โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นชุมชนหนาแน่น ด้วยการปรับความเร็วจำกัด และติดตั้งมาตรการสยบความเร็ว การป้องกันสิ่งอันตรายข้างทางตลอดแนวเส้นทาง ด้วยการกำจัดออกหรือติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันโดยเฉพาะ รวมถึงเพิ่มความปลอดภัยบริเวณทางแยกด้วยการจัดการช่องจราจร และปรับสัญญาณไฟจราจรให้ปลอดภัยสำหรับผู้ใช้ทางทุกกลุ่ม นอกจากนี้ควรมีการปรับปรุงทางเท้าและทางข้ามให้ปลอดภัย โดยให้สอดคล้องกับกิจกรรมในพื้นที่ 2 ข้างทาง รวมทั้งปรับปรุงสัญลักษณ์จราจรบนพื้นทาง และป้ายจราจรให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน และสามารถมองเห็นได้ชัดเจนในทุกสภาพการณ์ โดยการปรับปรุงถนนตามมาตรการต่าง ๆ อาจแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ มาตรการในระยะสั้น ประกอบด้วย การทาสี ตีเส้นจราจรเพื่อความชัดเจน การกำจัดสิ่งกีดขวางหรือบดบังการมองเห็น รวมถึงการติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัย จำพวกเสาล้มลุก หรือป้ายเตือนต่าง ๆ มาตรการระยะยาว ประกอบด้วย การติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัยที่ใช้งบประมาณสูง หรือต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการดำเนินการ เช่น การติดตั้งทางม้าลายและสัญญาณไฟคนข้าม การติดตั้งราวกันอันตราย การปรับปรุงขยายทางเท้า และการสร้างเส้นทางสำหรับผู้ใช้จักรยาน เป็นต้น
.
หลักการและเหตุผลในการริเริ่มโครงการ
ประเทศไทยได้สนับสนุนต่อปฏิญญากรุงสตอกโฮล์ม ว่าด้วยเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนน (Stockholm Declaration) ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อลดความสูญเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนภายในปี 2030 ร้อยละ 50 สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร ตระหนักดีว่าการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรจำเป็นต้องดำเนินการในหลายมิติ ตั้งแต่การจัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบหลักพร้อมสร้างความเข้มแข็งให้บุคลากรของกรุงเทพมหานคร การสืบค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่ ทั้งปัญหาด้านกายภาพของถนนที่ไม่สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้ใช้รถใช้ถนน การประเมินและปรับปรุงความปลอดภัยทางถนนด้วยมาตรฐานนานาชาติ เป็นการเริ่มต้นปรับปรุงความปลอดภัยโครงข่ายถนนตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGS) และเป็นการตอบสนององค์การอนามัยโลก (WHO) ในการลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร “เดินทางดี ปลอดภัยดี” และเพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีที่ได้กำหนดให้ปี พ.ศ. 2564 – 2573 เป็นทศวรรษความปลอดภัยทางถนน ระยะที่ 2 ต่อไป

 

“วิศวฯ จุฬาฯ – เออาร์วี” ผนึกกำลังร่วมปรับโฉมหลักสูตรคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล พร้อมปั้นนิสิตรุ่นใหม่ตอบโจทย์ภาคธุรกิจแบบครบองค์

เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2567 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ ARV ร่วมพัฒนาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัลหรือ Bachelor of Engineering in Computer Engineering and Digital Technology ซึ่งเป็นความร่วมมือทางวิชาการที่ว่าด้วยการเพิ่มความรู้และทักษะทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล โดยมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมสายเทคฯ เป็นผู้ให้คำแนะนำแก่นิสิตตลอดโครงการ พร้อมดำเนินการตามแผนให้เกิดผลสัมฤทธิ์การพัฒนานิสิตนักศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในด้านคอมพิวเตอร์แบบครบวงจร ตั้งแต่ระบบฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ปัญญาประดิษฐ์ และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ โดยให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานทั้งในปัจจุบันและอนาคต อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้นิสิตของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีประสบการณ์ในการทำงานอย่างแท้จริง นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคุณปฏิญญา อมรรัตนานนท์ หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยี บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด ร่วมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรรถวิทย์ สุดแสง หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวฯ จุฬาฯ และคุณธนา สราญเวทพันธุ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด

 

คณะวิศวฯ จุฬาฯ ขอแสดงความยินดีกับคณาจารย์ เนื่องในโอกาสได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ตำแหน่ง “ผู้ช่วยศาสตราจารย์”

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีกับ
– ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกพล ช่วงสุวนิช อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
– ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์สันธ์ บัณฑิตสกุลชัย อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา
– ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิธิ แสนอาจหาญ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโลหการ
เนื่องในโอกาสได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ตำแหน่ง “ผู้ช่วยศาสตราจารย์”

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้

บันทึกการตั้งค่า