คณะวิศวฯ จุฬาฯ ขอแสดงความยินดีกับนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์และคณะนิติศาสตร์ที่คว้ารางวัล “ชนะเลิศ” ในการแข่งขัน Deloitte Thailand Tax Challenge 2023: Business Case Competition

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีกับนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์และคณะนิติศาสตร์ที่คว้ารางวัล “ชนะเลิศ” ในการแข่งขัน Deloitte Thailand Tax Challenge 2023: Business Case Competition ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 16-17 กุมภาพันธ์ 2566 ประกอบด้วย
น.ส.ณัฐชุดา สมบูรณ์วิบูลย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
น.ส.ธัญลักษณ์ ประสมทอง คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ
น.ส.รินรดา สากิยลักษณ์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ
น.ส.แพรวา ศรีชัย คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ
 
การแข่งขัน Deloitte Thailand Tax Challenge เป็นการแข่งขันแผนธุรกิจทางด้านภาษี จัดโดย Deloitte Thailand โดยนิสิตกลุ่มนี้จะเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าแข่งขันในรายการระดับภูมิภาค ในรายการ Deloitte Southeast Asia Tax Challenge (SEA DTC) 2023 ณ ประเทศมาเลเซียต่อไป
 
ขอขอบคุณภาพจาก www.facebook.com/DeloitteThailand

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ กับ โรงเรียนอัสสัมชัญ เมื่อวันที่ 24 ก.พ. 66

เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ภราดา ดร.อาวุธ ศิลาเกษ ผู้อำนวยการ โรงเรียนอัสสัมชัญ ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ กับ โรงเรียนอัสสัมชัญ โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย ชรินพาณิชกุล รองคณบดีฝ่ายวิชาการ ศาสตราจารย์ ดร.เกษม ชูจารุกุล รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มิสณัฎฐี เจริญเกียรติบวร หัวหน้าฝ่ายวิชาการ และภราดาคฑาวุธ สิทธิโชคสกุล ผู้จัดการ โรงเรียนอัสสัมชัญ เป็นพยาน พร้อมด้วยผู้บริหาร คณาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ ผู้บริหาร ครู และนักเรียน โรงเรียนอัสสัมชัญเข้าร่วมในพิธีลงนาม

การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ กับ โรงเรียนอัสสัมชัญในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาทักษะทางวิชาการและความถนัดทางวิศวกรรมของนักเรียน โรงเรียนอัสสัมชัญและนิสิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ให้มีความเป็นเลิศทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ อีกทั้งยังส่งเสริมความร่วมมือในการศึกษาวิจัยและพัฒนานวัตกรรมร่วมกัน พร้อมทั้งร่วมกันสนับสนุนคณาจารย์ นิสิต และนักเรียนเข้าร่วมโครงการแข่งขันระดับชาติและระดับนานาชาติ ที่เกี่ยวกับ Robotic, Artificial Intelligence (AI), STE(A)M, Aviation and Aerospace และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมศาสตร์ และการพัฒนาหลักสูตร Pre-engineering Program ซึ่งเป็นหลักสูตรร่วมกันในการเสริมสร้างพื้นฐานทางวิชาการ และทักษะกระบวนการทางวิศวกรรม ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ด้วยการเรียนรู้แบบ Project-based learning โดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้นักเรียนได้เตรียมความพร้อมในด้านวิชาการและทักษะ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการศึกษาต่อในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์

วิศวฯ จุฬาฯ เข้าร่วมเป็นสมาชิก Hydrogen Thailand Club

เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์ ดร.อังคีร์ ศรีภคากร และ รองศาสตราจารย์ ดร.ภัทรพร คิม เข้าร่วมงาน Hydrogen Symposium 2023 และในงานนี้ได้มีการแนะนำสมาชิกใหม่ได้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

Hydrogen Thailand Club เป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศและภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การกักเก็บ การใช้ประโยชน์ และนโยบายด้านไฮโดรเจน จัดขึ้นและประกาศความร่วมมือครั้งแรกในเดือน ตุลาคม 2020 โดยเป็นกลุ่มที่จัดตั้งร่วมกันระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐ เพื่อผลักดันเตรียมความพร้อมในการใช้พลังงานจากไฮโดรเจนและเซลล์เชื้อเพลิง ก่อตั้งโดย PTT Plc., Bangkok Industrial Gas Co., Ltd, Toyota Motor Thailand Co., Ltd., Toyota Daihatsu Engineering & Manufacturing Co., Ltd., Mitsui & Co., (Thailand) Ltd., Electricity Generating of Thailand (EGAT), Department of Alternative Energy Development and Efficiency, Ministry of Energy, National Energy Technology Center (ENTEC), National Science and Technology Development Agency ในปัจจุบันมีองค์กรต่าง ๆ ให้ความสนใจเข้าร่วมกลุ่มเป็นจำนวนมาก เพื่อร่วมขับเคลื่อนเป็นพลังงานทางเลือกใหม่แห่งอนาคตช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสำหรับเศรษฐกิจหมุนเวียนคาร์บอนต่ำในประเทศไทย

 

 

 

 

 

คณะวิศวฯ จัดกิจกรรม “INTANIA FUN RUN ผูกพันปราสาทแดง 2023”

ศ. ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี และผู้บริหารคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล็งเห็นความสำคัญของการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนิสิต คณาจารย์ บุคลากรและครอบครัว จึงได้จัดกิจกรรม “INTANIA FUN RUN ผูกพันปราสาทแดง 2023) เดิน-วิ่ง ระยะทาง 3 และ 5 กม. ในวันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 05.30-08.30 น. โดยใช้เส้นทางภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเสริมสร้างสุขภาพพลามัยที่ดีร่วมกัน และก่อให้เกิดความสามัคคี กลมเกลียว และใช้โอกาสนี้ประชาสัมพันธ์สถานที่สำคัญของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่อำนวยความสะดวกแก่นิสิตและผู้ปกครองในระหว่างที่ศึกษาอยู่ โดยมีคณาจารย์ นิสิต ทั้งไทยและต่างชาติทุกชั้นปี ทุกระดับ ตลอดจนเจ้าหน้าที่และครอบครัวร่วมเดิน-วิ่งในครั้งนี้ 1,500 กว่าคน
โดยในงานเดิน-วิ่งครั้งนี้ยังได้เกียรติจาก ศ. ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และครอบครัว รศ. ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ผศ. ดร.ชัยพร รองอธิการบดีจุฬาฯ และครอบครัว และผู้บริหารคณะวิศวฯ ซึ่งบรรยากาศภายในงานเต็มไปด้วยความอบอุ่น ท่ามกลางอากาศที่เย็นสบายในยามเช้า และความสนุกเสียงหัวเราะ รอยยิ้มของทุกคนที่มาร่วมงานในครั้งนี้
สามารถชมภาพบรรยากาศในงานเพิ่มเติมที่….
และ
และ
ลิงก์ live ผู้ว่าฯ อ.ชัชชาติ มาร่วมวิ่งงาน Intania fun run 2023 ผูกพันปราสาทแดง
วันที่ 18 ก.พ.2565 เวลา 05.30-08.30 น. ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(จากสวนลุมมาถึงคณะวิศวฯ ช่วง 17 นาทีเป็นต้นไป)

จุฬาฯ ชวน “หวานน้อยลงหน่อย” ห่วงคนไทย เสี่ยงภัยเบาหวาน จับมือสตาร์ทอัพสร้างแพลตฟอร์มคุมอาหาร

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวช คณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับ ภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ ปล่อยแคมเปญ “หวานน้อยลงหน่อย” ชวนคุมอาหารทันที ห่วงคนไทยกว่า 4 ล้านคนป่วยเบาหวาน ระดมภาคีเครือข่ายสตาร์ทอัพ เร่งสร้างดิจิทัลแพลตฟอร์มการแพทย์แม่นยำ เสริมภารกิจกรมควบคุมโรค
เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ห้อง 202 อาคารจามจุรี 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนาวิชาการ Chula the Impact ครั้งที่ 16 เปิดโครงการรณรงค์หวานน้อยลงหน่อย โดยมีศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธาน พร้อมด้วย ทันตแพทย์หญิง ดร.ศิริวรรณ ทิพยรังสฤษฏ์ รองผู้อำนวยการกองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ศาสตราจารย์ นายแพทย์ กำธร พฤกษานานนท์ อุปนายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ดร.วรกันต์ บูรพาธนะ Head of Technology & Innovation บริษัท อินโนบิค เอเชีย จำกัด รองศาสตราจารย์ ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวช ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สถาพร งามอุโฆษ อาจารย์ประจำภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ และ CEO & Co-founder บริษัท ทานดี อินโนฟูด จำกัด ให้เกียรติร่วมเสวนา
ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวต้อนรับผู้ร่วมฟังเสวนาใจความตอนหนึ่งว่า “ทุกท่านล้วนเป็นภาคีเครือข่ายที่ผนึกกำลังทำภารกิจสำคัญ ๆ ระดับชาติและนานาชาติกับจุฬาฯ ด้วยกันมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเรื่องป่วยไข้ไม่สบายของพี่น้องคนไทยที่เมื่อทราบตัวเลขหลักล้านแล้วก็ชวนหวั่นใจให้เราชาวจุฬาฯ และภาคีเครือข่ายต้องมาขบคิดกันหาทางแบ่งเบาภาระงานของกระทรวงสาธารณสุข ในส่วนของพวกเราคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ขออาสาเป็นอีกแรงหนึ่งในภารกิจนี้ได้เพราะเรามีศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวช ที่กำลังทำงานวิจัยและสร้างนวัตกรรมด้าน Biomedical Engineering อย่างขะมักเขม้น ซึ่งผนึกกำลังกันข้ามคณะ ทำงานแบบสหศาสตร์หลายสาขา มุ่งสร้างภาคีเครือข่ายชวนกันเข้ามาคนละไม้คนละมือ ซึ่งในวันนี้ก็จะเป็นอีกหมุดหมายหนึ่งที่สำคัญของพวกเขาที่ผมอยากชวนให้ทุกท่านติดตามและเป็นกำลังใจให้คณาจารย์และนักวิจัยกลุ่มนี้ ซึ่งนับว่าเป็นนักวิจัยรุ่นใหม่ คล่องตัว และพร้อมพัฒนางานที่มีความหมายตอบโจทย์ความต้องการของสังคม อย่างที่เรามักพูดกันจนติดปากว่า “เมื่อสังคมมีปัญหา จุฬาฯ มีคำตอบ ซึ่งเราคงตอบท่านเป็น “Innovations” และเป็น “Innovations for Society”
รองศาสตราจารย์ ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวช กล่าวว่า “เรามีพันธกิจสร้างนวัตกรรมทางการแพทย์นำออกมารับใช้สังคมด้วยงานวิจัยหลากหลายสาขา ทั้งด้านอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ อวัยวะเทียม ระบบนำส่งยา และชีวสารสนเทศ (Bioinformatics) เพื่อให้การรักษาและป้องกันโรคมีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยเราให้ความสนใจกับกลุ่มโรคไม่ติดต่อที่คุกคามสุขภาวะคนทั่วโลก คือโรคเบาหวานที่เป็นหนึ่งในสาเหตุให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่นอีกมาก เราจึงได้ริเริ่มโครงการพัฒนาแพลตฟอร์มการแพทย์แม่นยำแบบบูรณาการ เพื่อการป้องกัน วินิจฉัย และรักษาโรคเบาหวานที่ครอบคลุมระบบ Telemedicine, Non-invasive optical fiber sensor ตรวจคัดกรองผู้เสี่ยงเป็นโรคเบาหวานจากสารบ่งชี้ในลมหายใจ Bioinformatics and AI รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลทางพันธุกรรมและการรักษาผู้ป่วย และนวัตกรรมรักษาโรคทั้งระบบนำส่งอินซูลิน แผ่นปิดแผล และแผ่นรองรองเท้าลดแผลกดทับที่จะนำไปสู่การรักษาที่แม่นยำเฉพาะบุคคลและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานและกลุ่มเสี่ยงเสริมภารกิจกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขต่อไป โดยคาดว่าจะสามารถพัฒนาได้เต็มรูปแบบแล้วเสร็จภายในปี 2570”
ทางด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สถาพร งามอุโฆษ อาจารย์ประจำภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ และ CEO & Co-founder บริษัท ทานดี อินโนฟูด จำกัด กล่าวว่า แนวทางการใช้ โภชนบำบัดมาบูรณาการเป็นแนวทางรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพและยกระดับคุณภาพชีวิตกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานให้ดีขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญโดยนักกำหนดอาหารจะทำงานร่วมกับทีมแพทย์จำแนกลุ่มผู้ป่วยตามการแปลผลระดับน้ำตาลในเลือด และจะจัดสรรวัตถุดิบนำนวัตกรรมอาหารเส้นโปรตีนไข่ขาว ไร้แป้ง Eggyday (เอ้กกี้เดย์) ที่ได้รับอนุสิทธิบัตรจากกรมทรัพย์สินทางปัญญามาใช้เป็นโซลูชั่นออกแบบเมนูอาหารสำหรับผู้ป่วย มากกว่า 30 เมนู ตามหลัก 3 ใช่ ห่างไกล “เบาหวาน” ได้แก่ ปริมาณที่ใช่ เมนูที่ใช่ และส่วนผสมที่ใช่ โดยนำมาใช้บนระบบ LINE Official “หวานน้อยลงหน่อย” เพื่อดูแล ติดตาม และเข้าถึงกลุ่มผู้ป่วยได้ง่ายขึ้น ผู้ที่สนใจสามารถแอดไลน์เข้าสู่ระบบได้เพียงสแกนที่ QR Code หรือคลิกที่ลิงค์ https://lin.ee/scwioDB
จากนั้น เวลา 11.30 น. ศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวช คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย บริษัท ทานดีอินโนฟูด จำกัด บริษัท เดอะชาร์พเพ็นเนอร์ จำกัด บริษัท พานาคูรา คลินิก จำกัด และ บริษัท เจ็นโฟสิส จำกัด ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) “พัฒนาแพลตฟอร์มการแพทย์แม่นยำแบบบูรณาการ เพื่อการป้องกัน วินิจฉัย และรักษาโรคเบาหวาน” โดยมี รศ.ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยฯ, นพ.ดร.สาครินทร์ บุญบรรเจิดสุข ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ็นโฟสิส จำกัด ดร.ธีรธร ธาราไชย ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน บริษัท เจ็นโฟสิส จำกัด คุณกิตติศักดิ์ เพ็ชรหาญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เดอะชาร์พเพ็นเนอร์ จำกัด, ดร.บารมี นวนพรัตน์สกุล กรรมการบริษัท พานาคูรา จำกัด ผศ.ดร.สถาพร. งามอุโฆษ CEO & Co-founder บริษัท ทานดี อินโนฟูด จำกัด ร่วมลงนามฯ ซึ่งบันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าวมีขึ้นเพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มการแพทย์แม่นยำแบบบูรณาการ เพื่อการป้องกัน วินิจฉัย และรักษาโรคเบาหวาน สร้างความตระหนักรู้ถึงอันตรายของโรคเบาหวานและสร้างสุขภาวะที่ดีของประชากรไทย และเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการและงานวิจัยในสาขาวิศวกรรมชีวเวช โดยจะร่วมกันจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลชีวสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ ตลอดจนสนับสนุนและส่งเสริมโครงการและกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคเบาหวานต่อไป
โอกาสนี้ ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดี จุฬาฯ ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ คุณศักดิ์ชัย ยอดวานิช นายกสมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคุณเชิดชัย บุญชูช่วย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่นวัตกรรมเเละธุรกิจใหม่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ให้เกียรติเข้าร่วมพิธีและเป็นสักขีพยานด้วย

ผู้บริหารและบุคลากร คณะวิศวกรรมศาสตร์ร่วมเจริญพระพุทธมนต์และเจริญจิตตภาวนา เพื่อถวายพระพรชัยมงคลและอธิษฐานจิตแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา

เมื่อวันที่ 6-10 กุมภาพันธ์ 2566 ผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากร คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมเจริญพระพุทธมนต์และเจริญจิตตภาวนา เพื่อถวายพระพรชัยมงคลและอธิษฐานจิตแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ขอให้ทรงหายจากพระอาการประชวรและมีพระพลานามัยแข็งแรงโดยเร็ววัน

ทั้งนี้ ขอเรียนเชิญคณาจารย์ และบุคลากรร่วมเจริญพระพุทธมนต์และเจริญจิตตภาวนา เพื่อถวายพระพรชัยมงคลแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา
ทุกวัน เวลา 08.00 – 08.30 น.
ณ หอธรรมวิศว์ ชั้น 3 ตึก 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ

 

The masked Bangkokian : เลือกหน้ากากอย่างไรเมื่อต้องเผชิญ COVID-19 พร้อมกับ PM2.5

The masked Bangkokian : เลือกหน้ากากอย่างไรเมื่อต้องเผชิญ COVID-19 พร้อมกับ PM2.5

บทความโดย
ธวัช งามศรีตระกูล
อัครโชค บุญอนันตพัฒน์
และ ศิริมา ปัญญาเมธีกุล
หลักสูตรวิศวกรรมและเทคโนโลยีการป้องกันประเทศ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คลิกอ่านบทความ

คณะวิศวกรรมศาสตร์ ขอแสดงความยินดีแด่คณาจารย์ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ “รองศาสตราจารย์”

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีแด่คณาจารย์ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ดังนี้

รองศาสตราจารย์ ดร.ประมวล สุธีจารุวัฒน
เนื่องในโอกาสได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ตำแหน่ง “รองศาสตราจารย์”

 

รองศาสตราจารย์ ดร.ปารวี วาศน์อำนวย
เนื่องในโอกาสได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ตำแหน่ง “รองศาสตราจารย์”

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และ National Chung Cheng University

เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2566 ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ และ Prof. Guo-En Chang (Vice Dean, College of Engineering) ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและ National Chung Cheng University โดยการลงนามความร่วมมือนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการแลกเปลี่ยนนิสิตนักศึกษาและการทำวิจัยร่วมกัน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ผู้บริหารคณะวิศวฯ ให้การต้อนรับ Dr.Robert Floyd เลขาธิการบริหารองค์การสนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามทดลองนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ (Comprehensive Nuclear-Test-Ban Treaty Organization:CTBTO) และคณะฯ พร้อมด้วย นางเพ็ญนภา กัญชนะ รองเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ และเจ้าหน้าที่สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.)

เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2566 ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์แพทย์ เพ่งวาณิชย์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ และคณาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ให้การต้อนรับ Dr.Robert Floyd เลขาธิการบริหารองค์การสนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามทดลองนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ (Comprehensive Nuclear-Test-Ban Treaty Organization:CTBTO) และคณะฯ พร้อมด้วย นางเพ็ญนภา กัญชนะ รองเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ และเจ้าหน้าที่สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.)

โดยการมาเยือนในครั้งนี้ เพื่อร่วมเป็นวิทยากรในงานสัมมนาวิชาการ เรื่อง “Special Seminar on the Comprehensive Nuclear-Test-Ban Treaty Organization (CTBTO)” จัดโดย ภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้

บันทึกการตั้งค่า