คณะวิศวฯ จัดงานสัมมนาบุคลากร เรื่อง การจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล Individual Development Plan (IDP)

เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2566 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานสัมมนาบุคลากร เรื่อง การจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล Individual Development Plan (IDP) ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์ เป็นวิทยากร โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี เป็นประธานกล่าวเปิดงานสัมมนา นางสงวน ภู่ระหงษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารกล่าวต้อนรับและกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของงานสัมมนา และศาสตราจารย์ ดร.เกษม ชูจารุกุล รองคณบดี มอบของที่ระลึกแก่วิทยากร

 

งานสัมมนานี้จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจแก่บุคลากร ในเรื่อง Individual Development Plan (IDP) พร้อมทั้งให้บุคลากรได้ร่วมกันทดลองทำแผน IDP เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรมี Smart IDP ที่ชัดเจนและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง สร้างแรงจูงใจให้บุคลากรทุกคนคิดถึงความก้าวหน้า ตอบโจทย์ของตนเอง ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัย

 

คณะวิศวฯ ขอแสดงความยินดีกับบุคลากรที่ได้รับรางวัลจากการประชุมวิชาการวิจัยระดับชาติสำหรับบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ ในสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 15 “ดอกจานบ้านเชียงวิชาการ’66” เมื่อวันที่ 13-15 มีนาคม 2566

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีกับบุคลากรที่ได้รับรางวัลจากการประชุมวิชาการวิจัยระดับชาติสำหรับบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ ในสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 15 “ดอกจานบ้านเชียงวิชาการ’66” จัดโดย มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี ร่วมกับเครือข่ายวิจัยและนวัตกรรมบุคลากรสายสนับสนุนในสถาบันอุดมศึกษา ที่ประชุมสภาข้าราชการ พนักงานและลูกจ้างมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 13-15 มีนาคม 2566 ณ อาคารกิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ดังนี้

รางวัลชนะเลิศ กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
จากการนำเสนอผลงานแบบบรรยาย เรื่อง การพัฒนาระบบติดตามงานเอกสารผ่านระบบออนไลน์
สมาชิกประกอบด้วย
1. น.ส.สุขกมล พันธไชย
2. นางพัชราภรณ์ กองเพ็ชร
3. น.ส.อรวรรณ เปตะคุ
4. น.ส.มโนทัย ศรีละออ

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
จากการนำเสนอผลงานแบบบรรยาย เรื่อง การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดสอบรายวิชาส่วนกลางแบบออนไลน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นผลงานของบุคลากร ภารกิจทะเบียนและประเมินผล จำนวน 7 คน โดยมี น.ส.ดวงตา ใบโคกสูง และน.ส.สุกัลยา โพทอง เป็นผู้แทนในการนำเสนอ

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ โดยภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ ร่วมกับ สมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทย จัดกิจกรรม “IAEA-Expert Mission on Strengthening Networks for Human Resource and Knowledge Development (HRKD)” ระหว่างวันที่ 21 – 24 มีนาคม 2566

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ ร่วมกับ สมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทย จัดกิจกรรม “IAEA-Expert Mission on Strengthening Networks for Human Resource and Knowledge Development (HRKD)” ระหว่างวันที่ 21 – 24 มีนาคม 2566 เวลา 09.00 – 17.00 น. ณ ห้องประชุม 209 อาคาร 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์เป็นประธานกล่าวเปิดงาน
กิจกรรมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นและหาแนวทางร่วมกันในการสร้างเครือข่ายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์ความรู้ทางด้านนิวเคลียร์และรังสีในระดับประเทศ โดยมีคณะผู้เชี่ยวชาญจาก IAEA นำโดย Mr. Masashi Nakazono, Senior Expert, Nuclear Knowledge Management Section, IAEA และมีผู้เข้าร่วมประชุมจากสถาบันการศึกษา หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องด้านนิวเคลียร์และรังสี ทั้งสิ้น 35 คน

คณะวิศวฯ ขอแสดงความยินดีกับนิสิตทีม TAF จากภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า และภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ (MGA Award) จากงาน “Rapid Prototype Development (RPD) Challenge – a multi GNSS Asia programme”

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีกับนิสิตทีม TAF จากภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า และภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ (MGA Award) จากงาน “Rapid Prototype Development (RPD) Challenge – a multi GNSS Asia programme” ด้วยนวัตกรรม smart suit เสื้อกันเพลิง ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี GNSS, IoTและ LoRa ที่ประกอบไปด้วย sensor ต่าง ๆ วัดค่าพารามิเตอร์และมีระบบแจ้งเตือน เพื่อความปลอดภัยของนักดับเพลิงจากการผจญเพลิงจากไฟป่า

ทีม TAF ประกอบด้วย
1. นายนฤดม หมี-อิ่ม นิสิตภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
2. นายนิธิ อจละนันท์ นิสิตภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
3. นางสาวนิชานันท์ ชุณห์เสรีชัย นิสิตภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
4. นายณฐพงศ์ อินทรสุข นิสิตภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ
5. นางสาวอนุธิดา ฤทธิพันธ์ นิสิตภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ

 

บุคลากรคณะวิศวฯ เข้าร่วมนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการการวิจัยระดับชาติ สำหรับบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการในสถาบันอุดมศึกษาครั้งที่ 15 ในงานดอกจานบ้านเชียงวิชาการ 66 วันที่ 13-15 มี.ค. 66

บุคลากรคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าร่วมนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการการวิจัยระดับชาติ สำหรับบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการในสถาบันอุดมศึกษาครั้งที่ 15 ในงานดอกจานบ้านเชียงวิชาการ 66 ระหว่างวันที่ 13-15 มีนาคม 2566

โดยผลงานของบุคลากรที่ได้รับเลือกในการร่วมนำเสนอในครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนจาก ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวฯ จุฬาฯ และคณะผู้บริหาร ที่ให้ความสำคัญในการส่งเสริมศักยภาพการทำงานของบุคลากรในทุกภาคส่วน เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการร่วมขับเคลื่อนคณะวิศวฯ จุฬาฯ อย่างยั่งยืน

 

คณะวิศวฯ จัดการอบรมให้กับบุคลากร เรื่อง การบันทึกกิจกรรมการประมวลผลขององค์กร และบันทึกข้อมูลในโปรแกรม OneTrust เพื่อปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ เมื่อวันที่ 9 มี.ค. 66

เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2566 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการอบรมให้กับบุคลากร ในเรื่อง การบันทึกกิจกรรมการประมวลผลขององค์กร และบันทึกข้อมูลในโปรแกรม OneTrust เพื่อปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ

โดยได้รับเกียรติจากคุณสนธยาพร พรจินดา คุณพุฒิพงศ์ จวบความสุข และคุณบุณยวีร์ มานะสุรการ ผู้แทนโครงการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ สำนักงานมหาวิทยาลัย เป็นวิทยากร และ คุณสงวน ภู่ระหงษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร คณะวิศวฯ จุฬาฯ กล่าวเปิดการอบรม

วิศวฯ จุฬาฯ จับมือ เอกชนยักษ์ใหญ่ ผลิตคนดิจิทัล แก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดสาขาใหม่ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล ที่แตกต่างไปจากการเรียนตามหลักสูตรทั่วไป โดยมุ่งเน้นการผลิตกำลังคนดิจิทัลคุณภาพสูงจำนวนมากถึง 300 คนต่อรุ่น เพื่อตอบสนองต่อความขาดแคลนอย่างหนักของประเทศ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรของวงการศึกษาไทยที่ต้องปรับตัวให้เกิดความแตกต่าง และตอบโจทย์ของโลกยุคใหม่ที่ต้องการบุคลากรที่มีทักษะตรงตามความต้องการของอุตสาหกรรมนั้น เพื่อให้เกิดความร่วมมือกับภาคเอกชนอย่างเป็นรูปธรรมและผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถเฉพาะด้านตามความต้องการของภาคเอกชน คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้จัดพิธีลงนามข้อตกลงร่วมกับกว่า 30 บริษัทชั้นนำ ภาคเอกชน เพื่อให้การจัดการศึกษาหลักสูตร Sandbox ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล เมื่อวันพุธที่ 8 มีนาคม 2566
 
การลงนามข้อตกลงนี้จะทำให้การเรียนในหลักสูตร ตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง โดยการทำหลักสูตรแบบ Co-Creation ที่บริษัทเอกชนจะสามารถเข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาหลักสูตรอย่างใกล้ชิด ใน 5 ด้าน ได้แก่
1. การฝึกงานในทุกช่วงชั้นปี ตั้งแต่ปีที่ 1 จนถึงปีที่ 4
2. การเสนอหัวข้อและร่วมพัฒนาโครงงาน เพื่อให้นิสิตได้ฝึกประสบการณ์จากปัญหาจริงในภาคอุตสาหกรรม และได้รับคำแนะนำจากภาคอุตสาหกรรมโดยตรง
3. การเปิดสอนวิชาเลือกที่ทันสมัยและจำเป็นต่อการทำงานจริงในภาคเอกชน โดยบริษัทร่วมเป็นวิทยากรและพี่เลี้ยง
4. การจัดกิจกรรมนอกห้องเรียนที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนเป็นสำคัญ
5. การให้ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงหลักสูตรอย่างรวดเร็วและก้าวทันต่อเทคโนโลยีในแต่ละปีการศึกษา
 
องค์กรความร่วมมือที่เข้าร่วมพิธีลงนามก็เป็นองค์กรขนาดใหญ่และองค์กรมหาชน ได้แก่ บริษัท เบริล 8 พลัส จำกัด (มหาชน) บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) บริษัท เมโทรซิสเต็มส์คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ จำกัด บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท ซีนเนอร์ยี่ เทคโนโลยี จำกัด
 
กลุ่มธนาคารและการเงิน ได้แก่ สมาคมธนาคารไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารทหารไทยธนชาต ธนาคารเกียรตินาคินภัทร ธนาคารไทยพาณิชย์
องค์กรนานาชาติ ได้แก่ บริษัท เอคเซนเชอร์ โซลูชั่นส์ จำกัด บริษัท เอ็กซอนโมบิล จำกัด บริษัท การีนา ออนไลน์ (ประเทศไทย) จำกัด
องค์กรด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ได้แก่ บริษัท บล็อคฟินท์ จำกัด บริษัท บิลค์ วัน กรุ๊ป จำกัด บริษัท เด็กดี อินเตอร์แอคทีฟ จำกัด บริษัท ฟิน อินชัวรันส์ โบรคเกอร์ จำกัด บริษัท ฟอร์วิซ จํากัด บริษัท ไฮฟ์กราวนด์ จำกัด บริษัท จั๊ม เอไอ จำกัด บริษัท ไลน์แมน (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท วงใน มีเดีย จำกัด บริษัท มายคอร์สวิลล์ จำกัด บริษัท โอโบตรอนส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัท โอโบดรอยด์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัท ออเรนจ์แคป อินโนเวทีฟ จำกัด บริษัท เพลย์ทอเรียม โซลูชันส์ จำกัด บริษัท สคูลดิโอ จำกัด บริษัท ซอฟต์สแควร์ 1999 จำกัด บริษัท เอส เทลลิเจนซ์ จำกัด บริษัท เซตตะซอฟต์ จำกัด บริษัท แอ็คโคเมท จำกัด และองค์กรอื่น ๆ รวมกว่า 30 บริษัท
 
ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นรากฐานที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน สถานประกอบการต้องการกำลังคนด้านดิจิทัลจำนวนมากที่มีความรู้ในหลากหลาย และสามารถผสมผสานทักษะการทำงานและเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และก้าวทันกับเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว จึงได้เปิดหลักสูตรนี้ขึ้นมาตามนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมที่ได้รับการอนุมัติหลักสูตร ภายใต้กรอบนโยบายการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา (Higher education sandbox) และเชื่อมั่นว่าจะสามารถผลิตกำลังคนสมรรถนะสูงตามความต้องการของประเทศจำนวนมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
โดยความร่วมมือครั้งนี้ในส่วนของภาคเอกชนทุกบริษัทมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เข้าร่วมลงนามความร่วมมือนี้ เนื่องจากในปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมยังขาดแคลนบุคลากรด้านเทคโนโลยีดิจิทัลจำนวนมากและเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมานาน หลักสูตรใหม่ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพัฒนาขึ้นนี้สามารถตอบโจทย์และช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมได้จริง โดยภาคเอกชนที่เข้าร่วมความร่วมมือเชื่อว่าจะสามารถผลิตบัณฑิตคุณภาพสูงจำนวนมากและปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปได้อย่างรวดเร็ว โดยบัณฑิตเหล่านี้จะเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญต่อองค์กรภาคเอกชนต่อไป
 
ผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้ จะมีความเชี่ยวชาญในการออกแบบ วิเคราะห์ และสร้างโปรแกรมประยุกต์ของระบบซอฟต์แวร์ การวิเคราะห์ข้อมูล ระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายกลุ่มเมฆ รวมถึงระบบปัญญาประดิษฐ์ และสามารถประยุกต์หลักการทางวิศวกรรมเพื่อการแก้ปัญหาในสาขาอาชีพอื่นด้วยคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดี
 
รายละเอียดหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์: https://www.cp.eng.chula.ac.th/cedt
 

ขอเชิญนิสิตคณะวิศวฯ จุฬาฯ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนคณะฯ ไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ผ่านการเข้าร่วมประกวดโปรเจคเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนจากกิจกรรมภายในคณะฯ

ขอเชิญนิสิตคณะวิศวฯ จุฬาฯ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนคณะฯ ไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ผ่านการเข้าร่วมประกวดโปรเจคเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนจากกิจกรรมภายในคณะฯ

📍รายละเอียดการสมัคร
https://drive.google.com/file/d/1r4zAABX5sFp6bfFJyBRNY0gflaq7PGfo/view?usp=drivesdk

📲 สมัครได้ทาง
https://forms.gle/rukATxoPmYDCpnHk7

ตั้งแต่วันนี้ – 24 มีนาคม 2566

คณะวิศวกรรมศาสตร์ร่วมกับมูลนิธิ อรุณ สรเทศน์ จัดกิจกรรมอบรมให้กับบุคลากรของคณะฯ และผู้สนใจในเรื่อง “การประชุมเชิงปฏิบัติการ (workshop) เพื่อเสนอมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกของคณะวิศวฯ” เมื่อวันที่ 7 มี.ค. 66

เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2566 ณ ห้องประชุม ชั้น 2 อาคารเจริญวิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับมูลนิธิ อรุณ สรเทศน์ จัดกิจกรรมอบรมให้กับบุคลากรของคณะฯ และผู้สนใจในเรื่อง “การประชุมเชิงปฏิบัติการ (workshop) เพื่อเสนอมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกของคณะวิศวฯ” ซึ่งเป็นกิจกรรมภายใต้โครงการพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมการจัดการขยะมูลฝอยเพื่อส่งเสริมการสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.อรทัย ชวาลภาประสิทธิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และ ดร.ณัฐวิญญ์ ชวเลิศพรศิยา ผู้อำนวยการโครงการ Industrial Liaison Program (ILP) คณะวิศวกรรมศาสตร์เป็นวิทยากร โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี เป็นผู้กล่าวเปิดงาน และคุณพินิต ผลพิรุฬห์ กรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิ อรุณ สรเทศน์ ให้เกียรติร่วมงาน
โดยการอบรมเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมการจัดการขยะมูลฝอยเพื่อส่งเสริมการสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอนของคณะวิศวกรรมศาสตร์ การให้ความรู้เรื่อง แนวทางการลดก๊าซเรือนกระจกในองค์กร และกิจกรรมระดมสมองในการนำเสนอมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินกิจกรรมของคณะวิศวฯ

“ค่ายวิศวพัฒน์ 6” ณ บ้านเชตวัน ตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน

“ค่ายวิศวพัฒน์ 6” โดย ชมรมนิสิตทุนคณะวิศวกรรมศาสตร์ และนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดกิจกรรมจิตอาสาสร้างฝายยกระดับน้ำ โครงการพัฒนาระบบชลประทานเพื่อการเกษตร ณ บ้านเชตวัน ตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน

รับชมได้ที่ https://youtu.be/0A7ykIFnHtk

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้

บันทึกการตั้งค่า