คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีกับ ผศ. ดร.อมรชัย อาภรณ์วิชานพ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเคมี ที่ได้รับ certificate of appreciation จาก Elsevier โดยมี 87 ผลงาน ตีพิมพ์ใน scopus SDG7 ระหว่างปี 2015-2020 มากที่สุดในประเทศไทย

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีกับ ผศ. ดร.อมรชัย อาภรณ์วิชานพ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเคมี ที่ได้รับ certificate of appreciation จาก Elsevier โดยมี 87 ผลงาน ตีพิมพ์ใน scopus SDG7 ระหว่างปี 2015-2020 มากที่สุดในประเทศไทย
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ขอแสดงความยินดีกับทีม CULFEWS (ChUlalongkorn Flood and Early Warning System) มีสมาชิกร่วมจากภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า และหลักสูตรสหสาขาการจัดการความเสี่ยงและภัยพิบัติ โดยมี รศ. ดร.ไพศาล สันติธรรมนนท์ ภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ (MGA Award) จากงาน Rapid Prototype Development (RPD) Challenge การประกวดการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ใช้ (Application) เพื่อแจ้งเตือนและบริหารจัดการเพื่อรับมือกันภัยพิบัติล่วงหน้า (Early Warming Service : EWS) ซึ่งจัดโดย GISTDA และ Cabinet office of Japan
รับชมผลงานของทีม CULFEWS ได้ที่
ประเด็นสิ่งแวดล้อมจาก “สไตรีนโมโนเมอร์” ในเหตุโรงงานโฟมระเบิดที่กิ่งแก้ว 21
โดย ดร.ณัฐวิญญ์ ชวเลิศพรศิยา, อ. ดร.กริชชาติ ว่องไวลิขิต, เหมือนตะวัน อ่อนน้อม, สรวุฒิ กิตติสกุลนาม, ชนม์นิภา ว่องวีรวัฒนกุล, พีรณัฐ นวมะชิติ, ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีกับรองศาสตราจารย์ ดร.อังคีร์ ศรีภคากร หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล และประธานคณะกรรมการกำหนดแผนงานกลยุทธ์เพื่อพัฒนาการศึกษาด้านวิศวกรรม (Intania Strategic Platform For Engineering Education Development (iSPEED) สังกัดภายใต้ภารกิจบูรณาการการศึกษา ฝ่ายวิชาการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในโอกาสที่ได้รับการเลือกตั้งจากที่ประชุม CDIO Council Organization ในฐานะ Council members – at large ซึ่งมีวาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี โดยมีหน้าที่เป็นส่วนสำคัญในการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับทิศทางขององค์กร CDIO ที่ในปัจจุบันมีสมาชิกจากสถาบันการศึกษาชั้นนำทั่วโลกกว่า 260 สถาบัน ทั้งนี้คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้นำแพลทฟอร์มซีดีไอโอมาใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 และเข้าร่วมเป็นสมาชิกในปี พ.ศ. 2558 และในกรอบความร่วมมือ CDIO Thailand กับ มทร. ธัญบุรี ได้ดำเนินกิจกรรมสร้างเครือข่ายทางด้านการศึกษาในประเทศไทยทั้งในสถาบันการศึกษาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสถาบันการศึกษาทางธุรกิจและนวัตกรรม เพื่อนำกรอบแนวคิดการจัดการศึกษาแบบซีดีไอโอมาประยุกต์ใช้ในระดับรายวิชา ระดับหลักสูตร จนถึงการสนับสนุนการเข้ารับการประเมินรับรองคุณภาพมาตรฐานการศึกษาด้วย
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ขอแสดงความยินดีแด่ ศ. ดร.อนงค์นาฏ สมหวังธนโรจน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเคมี และ รศ. ดร.วิทิต ปานสุข อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา ในโอกาสที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ Thai-UK World-class University Consortium
โดยโครงการ Thai-UK World-class University Consortium ได้รับการริเริ่มโดย British Council และสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โครงการนี้สนับสนุนความต้องการของประเทศไทยในการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยเพื่อก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลกและพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลและสนับสนุนการปรับปรุงระบบการศึกษาระดับอุดมศึกษาโดยมุ่งเน้นที่ความท้าทายร่วมกันของแต่ละมหาวิทยาลัยด้านคุณภาพ ความเท่าเทียมและความเป็นสากลโดยได้รับการสนับสนุนจากสหราชอาณาจักร
🎉🎉Congratulations to the Chula Researchers on their joining the Thai-UK World-class University Consortium🎉🎉
.
The British Council Thailand and the Office of Permanent Secretary, Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation are working on the Thai-UK World-class University Consortium to form partnership and knowledge sharing platform between universities in Thailand and the UK. The Consortium aims to support the advancement of quality teaching, learning, and research, with the goal of improving the university system through human capacity development and knowledge exchange with the UK.
.
Chula Researchers on their joining the Thai-UK World-class University Consortium
📍Architecture / Built Environment :
-Dr. Withit Punsuk (Department of Civil Engineering, Faculty of Engineering)
📍Chemical Engineering :
-Dr. Anongnat Somwangthanaroj (Department of Chemical Engineering, Faculty of Engineering)
📍Life Sciences :
-Dr. Supachitra Chadchawan (Department of Botany, Faculty of Science)
📍Medicine :
-Dr. Nattawan Utoomprurkporn (Department of Otolaryngology, Faculty of Medicine)
-Dr. Viroj Boonyaratanakornkit (Faculty of Allied Health Sciences)
📍Geography :
-Dr. Pannee Cheewinsiriwat (Faculty of Arts)
📍Development Studies :
-Dr. Bhanubhatra Jittiang (International Development Studies Programme (MAIDS-GRID), Faculty of Political Science)
.
Announcement
https://www.research.chula.ac.th/wp-content/uploads/2021/06/Announcement-of-Successful-Candidate_TH-universities_WCU-Consortium.pdf?fbclid=IwAR3uC4i9ep76XaOKqF0GLW80HHGs1nWoFxeEpgZSz3PP2QUlD6jfwmFFHEI
ขอขอบคุณที่มา : สำนักบริหารวิจัย จุฬาฯ
เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2564 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย ดร.ณัฐวิญญ์ ชวเลิศพรศิยา ผู้อำนวยการโครงการ Industrial Liaison Program (ILP) และนายเหมือนตะวัน อ่อนน้อม นักวิจัยในโครงการ Sensor for All ได้ส่งมอบ Sensor ตรวจวัดฝุ่นขนาดเล็ก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Sensor for All ให้แก่เทศบาลตำบลบางเดื่อ จังหวัดปทุมธานี โดยมี พลตรีสมพงษ์ ธรรมสุธีร์ นายกเทศมนตรีตำบลบางเดื่อ และนายฐนยศ รัตนปรีชาชัย ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลบางเดื่อ เป็นผู้รับมอบ
ทั้งนี้ เทศบาลตำบลบางเดื่อได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 เทศบาลน่าอยู่ยั่งยืน และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 เทศบาลด้านสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ประจำปี 2562 จากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเป็นเทศบาลที่มีความเข้มแข็งในด้านการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมภายในพื้นที่ที่สามารถรองรับการขยายตัวของชุมชนที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องได้ โดยข้อมูลการตรวจวัดฝุ่นขนาดเล็กจาก Sensor จะช่วยให้เทศบาลบางเดื่อ สามารถขยายผลการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมไปสู่การจัดการคุณภาพอากาศเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนได้
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอขอบคุณเทศบาลตำบลบางเดื่อที่เข้าร่วมเป็นเครือข่ายตรวจวัดสภาพอากาศและมลภาวะ ภายใต้โครงการ Sensor for All สำหรับข้อมูลสภาพอากาศและมลภาวะ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://sensorforall.com และแอพพลิเคชัน Sensor for All (ทั้งในระบบ iOS และ Android)
#ChulaEngineering #InnovationTowardSustainability #SensorForAll
เมื่อวันที่ 21 – 23 มิถุนายน พ.ศ. 2564 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เป็นเจ้าภาพจัดงานการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ครั้งที่ 17 “The 17th CDIO International Conference” (CDIO2021) ภายใต้หัวข้อ “Re-imagining Engineering Education for the New Normal” ได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี โดย ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมหมาย ผิวสอาด อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ให้เกียรติร่วมกล่าวต้อนรับและเป็นประธานในพิธี ผู้บริหาร คณะกรรมการจัดงานฯ ขอขอบคุณผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่านสำหรับการสนับสนุนการเรียนรู้ตามกรอบแนวคิดการจัดการศึกษาแบบซีดีไอโอ รวมถึงการปรับปรุงแพลตฟอร์มและโครงสร้างพื้นฐานด้านวิชาการ CDIO-based Education มาประยุกต์ใช้ในระดับรายวิชา ระดับหลักสูตร จนถึงการเปลี่ยนแปลงระดับสถาบัน ซึ่งเป็นกรอบแนวปฏิบัติที่เหมาะสมอย่างยิ่งในการผลิตบัณฑิตสำหรับโลกยุคศตวรรษที่ 21 และเพื่อให้มีความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
ในวันที่ 1 ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานกรรมการและกรรมการอิสระ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) ให้เกียรติเป็นวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิร่วมปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “TRANSFORMING THE EDUCATIONAL CONTEXT FOR THAILAND IN THE NEW NORMAL ERA” และในวันที่ 2 Professor Dr. Johanna ANNALA อาจารย์อาวุโส คณะศึกษาศาสตร์และวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยตัมเปเร ประเทศฟินแลนด์ เป็นวิทยากผู้ทรงคุณวุฒิร่วมบรรยายในหัวข้อ “ACADEMICS AS CURRICULUM CREATORS IN HIGHER EDUCATION” ภายในงานมีการนำเสนอรูปแบบทั่วไปและโปสเตอร์จำนวน 81 รายการ การอภิปรายโต๊ะกลมจำนวน 8 ครั้ง การประชุมเชิงปฏิบัติการ 6 ครั้ง คณะทำงาน 2 กลุ่ม รวมถึงการประชุมระดับภูมิภาค การเลือกตั้งสภา เครือข่าย ซึ่งมีนักวิชาการที่มีความสนใจจำนวนมากกว่า 150 ท่าน จากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกจำนวน 27 ประเทศ ที่เข้าร่วมนำเสนอผลงานในการประชุมออนไลน์ครั้งนี้
การจัดงานประชุมระดับนานาชาติ CDIO 2021 ในครั้งนี้เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความร่วมมือระยะยาวระหว่าง 2 สถาบันที่เริ่ม CDIO ร่วมกันมาตั้งแต่ในปี 2556 และดำเนินการตามเส้นทางในการพัฒนาด้านวิศวกรรมและการศึกษาที่ไม่ใช่วิศวกรรมมาเกือบศตวรรษ ซึ่งถือเป็นความท้าทายมากขึ้นสำหรับนักการศึกษาในอนาคตเกี่ยวกับ VUCA และโลกหลังเกิดโรคระบาดใหญ่ของ COVID-19 ที่มีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของเราทุกคน CDIO Thailand เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนการจัดการเรียนเรียนรู้ และการแบ่งปันแนวปฏิบัติทางด้านการจัดการเรียรการสอนที่ดีที่สุดกับมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลก
สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.cdio2021.chula.ac.th
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 มิถุนายน 2564 ณ อาคาร 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ (ศ.น.สพ.ดร.รุ่งโรจน์ ธนาวงษ์นุเวช) คณบดีคณะแพทยศาสตร์ (ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ) คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ (ศ.ดร.พลกฤษณ์ แสงวณิช) และคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ (ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล) ร่วมกับ บริษัทเชฟรอนประเทศไทย สำรวจและผลิต จำกัด และบริษัทพีคิวเอ แอสโซซิเอส จำกัด จัดพิธีเปิดตัว “รถดมไว เพื่อนำสุนัขดมกลิ่นคัดกรอง COVID-19 ออกปฏิบัติงานภาคสนาม” โดยมีการแนะนำสุนัขลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ 6 ตัว ที่ได้รับการฝึกดมกลิ่นผู้ติดเชื้อ COVID-19 และ ชมการตรวจคัดกรองตัวอย่างเหงื่อบน”รถดมไว” ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยเคลื่อนที่สำหรับการปฏิบัติงานของสุนัข
พิธีเปิดตัวรถดมไว จัดขึ้นที่ห้องประชุม 213 อาคาร 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ โดยมี ศ.สพ.ญ.ดร.เกวลี ฉัตรดรงค์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม คณะสัตวแพทยศาสตร์ กล่าวรายงานผลการดำเนินงานและความก้าวหน้าของโครงการฯ รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดี ด้านการวางแผนและกำหนดยุทธศาสตร์ นวัตกรรมและพันธกิจสากล กล่าวถึงยุทธศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในด้านการสร้างสรรค์งานนวัตกรรม คุณอาทิตย์ กริชพิพรรธ ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายสนับสนุนธุรกิจ บริษัท เชฟรอนประเทศไทย สำรวจ และผลิต จำกัด กล่าวถึงความพร้อมในการร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในการนำสุนัข พร้อมด้วยรถ “ดมไว” ไปใช้คัดกรองผู้ติดเชื้อในแหล่งชุมชน นพ.วิชาญ ปาวัน ผู้อำนวยการสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค กล่าวถึงบทบาทของกรมควบคุมโรค ในการรับมือกับวิกฤต COVID-19 จากนั้น ผศ.ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ ประธานหลักสูตรวิศวกรรมชีวเวช คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ผู้ออกแบบ “รถดมไว” อธิบายคุณสมบัติของรถ และกล่าวปิดงานโดย ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
สุนัขดมกลิ่นอะไรในผู้ป่วยโควิด-19
ตอบคำถามโดย อ.ดร.ชฎิล กุลสิงห์ อาจารย์ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมวิจัย ได้อธิบายว่า สารเคมีระเหยง่ายที่เก็บมาจากผิวหนังมนุษย์อาจมาจากแหล่งกำเนิดหลายแหล่ง ได้แก่ ต่อมใต้ผิวหนังชนิด Eccrine, Sebaceous และ Apocrine โดยต่อม Apocrine นี้จะเป็นต่อมสำคัญที่ผลิตสารระเหยง่าย เป็นกลิ่นตัวเฉพาะของมนุษย์ ส่วนต่อมอีกสองชนิดจะผลิตสารเคมีที่ไม่ระเหยง่ายเป็นส่วนใหญ่ซึ่งไม่มีผลต่อกลิ่นตัวโดยตรง อย่างไรก็ตามสารพวกนี้จะถูกนำไปใช้ต่อโดยแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ใต้ผิวหนังมนุษย์ แล้วเปลี่ยนเป็นสารระเหยง่าย ให้กลิ่นไปปนอยู่กับกลิ่นตัวมนุษย์ ดังนั้นกลิ่นโดยรวมของตัวอย่างเหงื่อที่ดูดซับโดยแท่งสำลี แล้วเก็บมาให้สุนัขดม จะมีคุณสมบัติแตกต่างกันขึ้นกับชนิดและปริมาณของต่อมในแต่ละอวัยวะ การที่ผู้ป่วยโควิด-19 มีกระบวนการเผาผลาญในร่างกายที่แตกต่างออกไปจากก่อนที่จะได้รับเชื้อ ทำให้มีสารเคมีจากต่อมทั้งสามชนิดเปลี่ยนแปลงไปทั้งชนิดและปริมาณ จึงถูกตรวจจับโดยสุนัขได้
หลังรายงานความสำเร็จของโครงการวิจัย “การใช้สุนัขดมกลิ่นตรวจหาผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่แสดงอาการ” ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ในเดือนมีนาคม 2564 สุนัขดมกลิ่นได้ให้บริการตรวจคัดกรองแก่พนักงานบริษัทเชฟรอน ฯ และสำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา แล้วจำนวนกว่า 500 ราย เมื่อมีการระบาดของโรคในกรุงเทพฯ สุนัขดมกลิ่นจึงได้เดินทางจากจังหวัดสงขลา มาตั้งจุดตรวจที่คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ให้บริการตรวจคัดกรองแก่บุคลากรจุฬาฯ ผู้ป่วยติดเตียง (โดยความร่วมมือกับกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์) โดยมีอาสา พม. ลงพื้นที่เก็บตัวอย่างเหงื่อมาส่งตรวจแล้วจำนวนทั้งสิ้นกว่า 1,500 ราย ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อไวรัสจากสิ่งแวดล้อมไปบนตัวสุนัขในระหว่างลงพื้นที่คลัสเตอร์ต่าง ๆ จึงได้มีการออกแบบห้องปฏิบัติงานเคลื่อนที่ “รถดมไว” พร้อมอุปกรณ์มาตรฐานตามข้อกำหนดของกรมควบคุมโรค ซึ่งจะสร้างความปลอดภัยทั้งผู้ที่มารับการตรวจและสุนัขที่ปฏิบัติงาน อีกทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการคัดกรองเชิงรุกในชุมชน และคลัสเตอร์ที่เกิดขึ้นใหม่ในแต่ละวัน
รถ “ดมไว” มีชื่อเต็มเป็นภาษาอังกฤษว่า Dog Olfactory Mobile Vehicle for Viral Inspection (DOM VVI) ถูกออกแบบให้มีห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่ อุปกรณ์การดม และอุปกรณ์ฆ่าเชื้อต่าง ๆ เพื่อให้การปฏิบัติงานร่วมกับกรมควบคุมโรคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บนพื้นที่ใช้สอยประมาณ 16.8 ตารางเมตร (7 เมตร x 2.4 เมตร) ภายในแบ่งเป็น 4 ห้อง ได้แก่
จุดเด่นและความพิเศษของห้องปฏิบัติงานนี้
รถ “ดมไว” ได้นำห้องปฏิบัติการของสุนัขดมกลิ่นขึ้นมาอยู่ภายใน ด้วยการจัดสรรพื้นที่ที่มีจำกัด ภายในรถได้ถูกออกแบบเพื่อการปฏิบัติงานที่ปลอดภัยและลงตัว มีเครื่องปรับอากาศให้ความเย็นแก่สุนัข นอกจากนี้ยังได้คำนึงถึงความปลอดภัยของทั้งเจ้าหน้าที่และสุนัขผู้ปฏิบัติงานบนรถ โดยได้สร้างระบบความดันลบในห้องเตรียมตัวอย่าง ระบบฆ่าเชื้อด้วยรังสี UV ในช่องรับส่งตัวอย่าง ห้องเตรียมตัวอย่างและห้องปฏิบัติงาน พร้อมทั้งระบบความปลอดภัยอื่น ๆ อาทิ ตู้ยาปฐมพยาบาล ถังดับเพลิง ไฟขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน และไฟแจ้งเตือนขณะปฏิบัติงานบนรถ นับเป็นรถปฏิบัติงานชีวนิรภัยเคลื่อนที่ของสุนัขดมกลิ่นคันแรกของประเทศไทย
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีกับนิสิตที่ได้ผ่านการคัดเลือกเป็น 4 ทีมสุดท้ายที่มีผลงานดีที่สุดเพื่อเข้าสู่ “Sandbox Stage” โดยจะได้รับทุนพัฒนาต้นแบบ ค่าใช้จ่ายรายเดือนผ่าน True Money Wallet และสิทธิในการใช้พื้นที่ทำงานทรู ดิจิทัล พาร์ค ฟรีตลอดระยะเวลาที่เข้าร่วมโครงการ และยังได้เป็นสมาชิก co-working space ต่อหลังจากจบโครงการอีก 3 เดือน รวมเงินรางวัลรวมมูลค่า 1.5 ล้านบาท พร้อมโอกาสได้ทำงานกับบริษัทในเครือทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
.
กิจกรรมในครั้งนี้ เกิดจากความร่วมมือระหว่างฝ่ายวิชาการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ภายใต้โครงการ True Lab Startup Sandbox โดยได้ประชาสัมพันธ์เชิญชวนนิสิตที่มีความสนใจด้าน Robotic และ AI ด้าน Speech recognition และ Image recognition เข้าร่วมกิจกรรม Hack idea โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมทักษะทางความคิดให้กับนิสิตเตรียมความพร้อมสู่การประกอบวิชาชีพ รวมทั้งขยายผลให้คณาจารย์สามารถนำเทคโนโลยีมาช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนและยังเป็นการสร้างเครือข่ายต่อยอดสู่นวัตกรรมในเชิงธุรกิจต่อไปในอนาคต
.
โดยการแข่งขันจัดขึ้นที่ True Digital Park ถนน สุขุมวิท 101/1 ภายในงานเริ่มต้นด้วยการจัดกิจกรรม Open House เพื่อให้นิสิต นักศึกษา และผู้สำเร็จการศึกษาที่อายุไม่เกิน 30 ปี ได้คัดเลือกสมาชิกทีมจำนวน 3 -5 คน พร้อมส่งรายละเอียดของแนวคิดธุรกิจที่สนใจ ซึ่งคณะกรรมการจะพิจารณาจากการนำเสนอแนวคิดทางธุรกิจและประกาศผู้เข้ารอบ Hackathon เมื่อวันที่ 20 พ.ค. 64 ที่ผ่านมา จนได้รับคัดเลือกในรอบแรก ทั้งหมด 10 ทีม เพื่อเข้าร่วม Hackathon เป็นเวลา 2 วัน 1 คืน ที่ทรู ดิจิทัล พาร์ค ซึ่งจะมีการทำกิจกรรม Workshop พร้อมรับคำปรึกษาและคำแนะนำ 1-0n-1 จากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน Robotics & AI ตลอดจนพาร์ทเนอร์ทั้งไทยและต่างประเทศของ ทรู ดิจิทัล พาร์ค จากหลากหลายภาคส่วนอุตสาหกรรม
หลังการแข่งขันอย่างเข้มข้นตลอดทั้ง 2 วันของกิจกรรม Hackathon Days เมื่อวันที่ 29 – 30 พ.ค. 64 จึงได้รายชื่อทีมผู้ถูกคัดเลือกในรอบสุดท้าย
.
.
โดยทีมจากนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คือ Team “หางกะทิ” แผนธุรกิจ Business, App develop, Creator, Engineer expert, programmer เป็นนิสิตชั้นปีที่ 1 และ 3 มีสมาชิกจำนวน 5 คน มีรายชื่อดังต่อไปนี้
1.) นายวรเดช อึ๊งล่ำซำ
นิสิตชั้นปีที่ 1 ภาควิชาวิศวกรรมทั่วไป
(ตำแหน่งในทีม VP, CMO, Creator, Presentation)
.
2.) นายไมโล อรินทร์พล ศรีภคากร
นิสิตชั้นปีที่ 1 ภาควิชาวิศวกรรมทั่วไป
(ตำแหน่งในทีม CEO, CIO)
.
3.) นายวิชชา วนิชเวชารุ่งเรือง
นิสิตชั้นปีที่ 1 ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
(ตำแหน่งในทีม Developer, CTO)
.
4.) นายชยางกูร สอนเสนา
นิสิตชั้นปีที่ 1 ภาควิชาวิศวกรรมทั่วไป
(ตำแหน่งในทีม Developer)
.
5.) นายวศิน พันธุ์ศุภถาวร
นิสิตชั้นปีที่ 3 ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
(ตำแหน่งในทีม Developer)
.
#ChulaEngineering #ACTNOW #Chula #CU #Intania
วันที่ 1 มิถุนายน 2564 ในโอกาสครบรอบ 108 ปีแห่งการสถาปนาคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ทางคณะวิศวฯ ร่วมกับสมาคมนิสิตเก่าวิศวฯ จุฬาฯ มอบรถความดันบวก CU กองหนุน ให้กับโรงพยาบาลสนามต่าง ๆ ได้แก่ โรงพยาบาลวชิรพยาบาล โรงพยาบาลสนามกองทัพบก (เกียกกาย) และโรงพยาบาลราชวิถี เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยโควิด-19
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ยอมรับทั้งหมดประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้