ขอแสดงความยินดีกับนิสิตภาควิชาวิศวกรรมเคมีและอาจารย์ที่ปรึกษา ที่ได้รับรางวัลการนำเสนอผลงานประชุมวิชาการ The 30th Thai Institute of Chemical Engineering and Applied Chemistry Conference (TIChE 2021)

🎉 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีกับนิสิตภาควิชาวิศวกรรมเคมีและอาจารย์ที่ปรึกษา ที่ได้รับรางวัลการนำเสนอผลงานประชุมวิชาการ The 30th Thai Institute of Chemical Engineering and Applied Chemistry Conference (TIChE 2021) ในวันที่ 6-7 พฤษภาคม 2564 ซึ่งเป็นการประชุมวิชาการประจำปีของสมาคมวิศวกรรมเคมีและเคมีประยุกต์แห่งประเทศไทยที่มีการจัดมาอย่างต่อเนื่องโดยในปีนี้เป็นครั้งที่ 30 ภายใต้ Theme : Sustainable Development for Better Lives


🎉 Congratulations on 4 Best oral presentation and 2 Best poster presentations of our postgraduate students which attend
🏆 The 30th Thai Institute of Chemical Engineering and Applied Chemistry Conference (TIChE2021)
🎊 Best Oral Presentation
👉Mr. Puwit Buapin (นายภูวิศ บัวผิน)
📖 Advisor: Dr. Supareak Praserthdam
💾 Topic: A Density Functional Theory Study on The Stability of Perfect and Defective MnO2 Electrocatalyst during The Two-electron Oxygen Reduction Reaction in Zn-Air Battery
🎊 Best Oral Presentation
👉Mr. Pakawat Suttitham (นายภควัต สุทธิธรรม)
📖 Advisor: Assoc. Prof. Anongnat Somwangthanaroj
💾 Topic: Preparation and Characterization of Sequential Curing with Off-Stoichiometric Amine-Diglycidyl Ether of Bisphenol A/Novolac Epoxy Blended Systems
🎊 Best Oral Presentation
👉Ms. Krittaphorn Longsiri (นางสาวกฤตพร หลงศิริ)
📖 Advisor: Prof. Sarawut Rimdusit
💾 Topic: Improvement of Thermal Stability of Ultrafine Fully Vulcanized Powdered Natural Rubber Grafted with Styrene-Acrylonitrile Copolymers
🎊 Best Oral Presentation
👉Miss Waritsaraporn Gatudomsub (นางสาววริศราภรณ์ เกษอุดมทรัพย์)
📖 Advisor: Prof. Sarawut Rimdusit
💾 Topic: Effects of Graphene Contents on Mechanical Property of Glass Fiber-reinforced Polybenzoxazine Composites
🎊 Best Poster Presentation
👉Miss Sutida Meesattham (นางสาวสุธิดา มีสัทธรรม)
📖 Advisor: Asst.Prof. Pattaraporn Kim – lohsoontorn
💾 Topic: Effect of Alcohol Type in Alcohol-Assisted Low Temperature Methanol Synthesis from Carbon Dioxide and Hydrogen
🎊 Best Poster Presentation
👉Miss Chutanan Muangsuwan (นางสาวชุตานันท์ เมืองสุวรรณ์)
📖 Advisor: Asst.Prof. Pattaraporn Kim – lohsoontorn
💾 Topic: Simultaneous Synthesis of Dimethyl Carbonate from Urea and Methanol over ZnO-based Catalysts and Removal of Ammonia using 3A Molecular Sieve
Source: https://www.facebook.com/104556661464514/posts/236840054902840/

ขั้นตอนการขอเข้ามาปฏิบัติงานภายในคณะวิศวฯ จุฬาฯ ในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 เฉพาะกรณีเร่งด่วนและมีความจำเป็นอย่างยิ่งเท่านั้น

ขั้นตอนการขอเข้ามาปฏิบัติงานภายในคณะวิศวฯ จุฬาฯ ในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 เฉพาะกรณีเร่งด่วนและมีความจำเป็นอย่างยิ่งเท่านั้น
.
ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง การขยายเวลาการปิดสถานที่ทำการชั่วคราวการจัดการเรียนการสอน และการปฏิบัติงาน ในช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ลงวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2564

ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง การขยายเวลาการปิดสถานที่ทำการชั่วคราว การจัดการเรียนการสอน และการปฏิบัติงาน ในช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ลงวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2564

ประกาศคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เรื่อง แนวปฏิบัติสำหรับบุคลากรคณะวิศวฯ เนื่องจากการปิดสถานที่ทำการชั่วคราว และการปฏิบัติงาน ในช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19
ลงวันที่ 18 เมษายน 2564

ประกาศคณะวิศวกรรมศาสตร์ เรื่อง แนวปฏิบัติสำหรับบุคลากร เนื่องจากการปิดสถานที่ทำการชั่วคราว และการปฏิบัติงาน ในช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ลงวันที่ 18 เมษายน 2564

ประกาศคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เรื่อง แนวปฏิบัติสำหรับบุคลากรคณะวิศวฯ เนื่องจากการปิดสถานที่ทำการชั่วคราว และการปฏิบัติงาน ในช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19
ลงวันที่ 18 เมษายน 2564

ขอแสดงความยินดีกับนิสิตภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง และรางวัลชมเชย จากงาน Bitkub Tech Challenge รอบชิงชนะเลิศ เพื่อเฟ้นหา Developer รุ่นใหม่เข้าสู่แวดวง Blockchain Technology

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขอแสดงความยินดีกับนิสิตภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง และรางวัลชมเชย จากงาน Bitkub Tech Challenge รอบชิงชนะเลิศ เพื่อเฟ้นหา Developer รุ่นใหม่เข้าสู่แวดวง Blockchain Technology

เมื่อวันเสาร์ที่ 3 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา บริษัท บิทคับ แคปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด พร้อมบริษัทในเครือ ได้จัดงาน Bitkub Tech Challenge รอบชิงชนะเลิศ เพื่อเฟ้นหา Developer รุ่นใหม่เข้าสู่แวดวง Blockchain Technology

จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา Group CEO บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด เผยถึงวัตถุประสงค์ในการจัด Bitkub Tech Challenge ในครั้งนี้ขึ้นเพื่อค้นหาคนรุ่นใหม่สายเทคโนโลยีโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักพัฒนาซอฟท์แวร์ได้ให้รู้จักและเข้าใจในเทคโนโลยีบล็อกเชนมากขึ้น เนื่องจากทักษะนี้เป็นที่ต้องการเป็นอันดับหนึ่งของโลกและในประเทศไทยอุตสาหกรรมนี้ยังขาดบุคคลากรที่มีทักษะดังกล่าวอยู่มาก

หลังจากความเร็จของบริษัทและเป็นที่รู้จักแล้วบิทคับมุ่งหวังที่จะเป็นบริษัทที่สนับสนุนคนรุ่นใหม่และสร้างบุคคลากรด้านเทคโนโลยีบล็อกเชนให้กับประเทศไทย รวมถึงให้วิสัยทัศน์กับนิสิต นักศึกษาถึงการเข้ามาทำงานในแวดวงสตาร์ทอัพหรือแม้กระทั่งกล้าสร้างสตาร์ทอัพเป็นของตนเอง ซึ่งบิทคับเองมีแผนที่จะตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนและลงทุนในสตาร์ทอัพของน้อง ๆ รุ่นถัดไปตามวัตถุประสงค์ของบริษัทที่ว่าต้องการกระจายโอกาสให้คนทั่วไปได้เข้าถึงทั้งการลงทุน การศึกษา รวมถึงสนับสนุนการสร้างธุรกิจตามแบบฉบับคนรุ่นใหม่

การแข่งขันในครั้งนี้ได้จัดขึ้นที่ บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด (สำนักงานใหญ่) อาคาร เอฟวายไอ เซ็นเตอร์ ถนนพระรามที่ 4 ภายในงานเริ่มต้นด้วยการจัดกิจกรรมเวิร์คช็อปเกี่ยวกับ Smart Contract โดยคุณฐิติพงศ์ กรุงแก้ว Co-CTO & CIO (Chief Innovation Officer) จากบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ต่อด้วยการเสวนาในช่วงบ่ายให้ผู้เข้าแข่งขันได้ทราบถึงภาพรวมการทำงานที่บิทคับ การผลักดันและพัฒนาคน รวมถึงวิถีชีวิตแบบสตาร์ทอัพ ตั้งแต่การรวมทีมสร้างธุรกิจ และการทำงาน โดย คุณต้น สกลกรย์ สระกวี ประธานบริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด, รวมถึง คุณเค อรรถกฤต ชิมผลาพิบูลย์ CEO และคุณกอล์ฟ นิธิวัฒน์ มณีสินธุ์ CTO แห่งบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด

หลังการแข่งขันอย่างเข้มข้นตลอดทั้งวัน ตรวจคำตอบและคัดเลือกนานกว่า 2 ชั่วโมงก็ได้รายชื่อผู้ชนะการแข่งขัน ดังต่อไปนี้

รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นายปิยวัฒน์ อำนวยผลเจริญ (ธรรศ) ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัล 0.1 BTC

รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง ได้แก่ นายกองทัพ อรุณรักษ์วิลาส (อาร์ม) ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัล 0.04 BTC

รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง ได้แก่ นายอินทัช ยุตินทร (คีย์) คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้รับรางวัล 0.03 BTC

รางวัลชมเชย ได้แก่ นายนิธิภัทร์ ตันติเจริญวิวัฒน์ (ภัทร์) ภาควิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นายสรธันย์ กฤตวีรนันท์ (บูม), ภาควิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นายสุพศิน ลิ่วลักษณ์ (ปาล) ภาควิชาการสื่อสารและสารสนเทศ ( ICE ) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภายหลังการประกาศผล ปิยวัฒน์ อำนวยผลเจริญ (ธรรศ) ผู้ชนะการแข่งขันซึ่งเป็นนิสิตชั้นปีที่ 3 ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เปิดเผยว่าได้ร่วมเข้าแข่งขันครั้งนี้เป็นครั้งแรก ส่วนตัวได้เรียนรู้มากขึ้นว่า Smart contract บนบล็อกเชนสามารถทำอะไรได้มากกว่าการสร้างเหรียญคริปโทเคอร์เรนซี และที่สำคัญที่สุดคือได้แรงบันดาลในการไปพัฒนาตนเอง จึงอยากให้ทางบิทคับจัดงานแบบนี้ขึ้นอีกเรื่อย ๆ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้มีคนรุ่นใหม่สายนี้มากขึ้น

ขอขอบคุณที่มา : THE STORY THAILAND

https://www.thestorythailand.com/06/04/2021/20049/?fbclid=IwAR01UgRMhPhZivnAxkvOr8yBZ6tpGyECTsg4gJcRlFO4cPoiBNA1xVF3KcQ

คณะวิศวฯ จุฬาฯ ส่งมอบฝายกักน้ำและฝายดักตะกอน ให้กับบ้านเชตวัน ตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน ซึ่งเป็นกิจกรรมของนิสิตค่ายวิศวพัฒน์

เมื่อวันที่ 2-6 เมษายน 2564  นิสิตค่ายวิศวพัฒน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เดินทางไปทำกิจกรรมจิตอาสาโดยทำฝายกักน้ำและฝายดักตะกอน ณ บ้านเชตวัน ตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน และได้ทำการส่งมอบฝายดังกล่าวให้กับทางพื้นที่ในวันที่ 5 เมษายน 2564 โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สรรเพชญ ชื้อนิธิไพศาล รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต คุณทวีวิทย์  ศรีไตรรัตนรักษ์  คุณเกียรติชัย ปรีชาชัยสุรัตน์  คุณจรัญญา บุรพรัตน์ ตัวแทนสมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เจ้าหน้าที่กิจการนิสิต และนิสิตชมรมค่ายวิศวพัฒน์ เป็นผู้ส่งมอบ และมี ว่าที่ร้อยตรีศราวุธ กรจิระเจริญ นายอำเภอนาน้อย  นายอภิชาติ วังเขียว นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสันทะ จ่าสิบเอกธงชัย ใจดอนมูล รองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลสันทะ เจ้าหน้าที่หน่วยงานต่าง ๆ และชาวบ้านเป็นผู้รับมอบ

ชาวบ้าน บ้านเชตวัน ตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่านแต่เดิมส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตรกันมารุ่นสู่รุ่น แต่ด้วยลักษณะของปริมาณน้ำฝนที่ไม่เอื้อต่อการเกษตรมากนักคือ ช่วงหน้าแล้งจะแล้งหนักและกินเวลานาน  ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงสามารถปลูกได้เพียงข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ทนแล้ง แต่มีราคาต่ำ นอกจากนี้ด้วยความที่ปลูกได้เพียงข้าวโพดทำให้ชาวบ้านต้องบุกรุกพื้นที่ป่ามากขึ้น การใช้ยาฆ่าหญ้าและยาฆ่าแมลงที่ทำให้ดินเสีย และการเผาซังข้าวโพด

จากปัญหาที่กล่าวมาจะเห็นว่าปัญหาที่เป็นแกนหลักของเรื่องนี้คือปัญหาการขาดแคลนน้ำ  ซึ่งปัญหานี้จะสามารถแก้ไขได้โดยการทำฝายชะลอน้ำเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงหน้าแล้ง

โดยตั้งแต่ปี 2561 ค่ายวิศวพัฒน์ได้ทำการลงพื้นที่และได้มีการทำฝายหน้าตัดกว้าง 6 เมตร สูง 1.5 เมตร ต่อมาในปี 2562 ได้มีการต่อเติมฝายเก่าให้สูงขึ้น 1 เมตร มีหน้ากว้าง 18 เมตรและมีการต่อท่อเข้าพื้นที่การเกษตรของชาวบ้านเป็นระยะทางร่วม 1.4 กม.

และในปี 2563 กลุ่มนิสิตได้ร่วมกันทำฝายชะลอน้ำเพื่อดักตะกอนก่อนเข้าฝายเดิม และทำฝายบริเวณตาน้ำ เพื่อกักเก็บน้ำสำหรับบริโภคได้

ซึ่งจากการทำฝายดังกล่าวให้กับพื้นที่ตั้งแต่ปี 2561 แต่เดิมชาวบ้านปลูกข้าวโพด 100 %  จนปัจจุบันการใช้พื้นที่ปลูกข้าวโพดลดลงเหลือ 65 % โดยชาวบ้านได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกโดยหันมาปลูกไม้ยืนต้น เช่น ทุเรียน  โกโก้ อินทผาลัม ฯลฯ

คณะวิศวฯ เข้ารับการตรวจประเมินมาตรฐานคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ TABEE ในสาขาวิศวกรรมเครื่องกลและวิศวกรรมเคมี

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ขอรับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ (Thailand Accreditation Board of Engineering Education : TABEE) จากสภาวิศวกร จำนวน 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล และสาขาวิชาวิศวกรรมเคมี โดยมีเป้าหมายให้ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษา (Accreditation) ตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (outcome based) ในหลักสูตรปริญญาตรี เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานคุณภาพการศึกษาสำหรับหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ให้เป็นมาตรฐานในระดับสากลและสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพการศึกษา โดยคณะผู้ตรวจประเมินมาตรฐานคุณภาพการศึกษาได้เข้าตรวจเยี่ยมสถาบันและพิจารณาผลการดำเนินงานของทั้ง 2 หลักสูตร เมื่อวันที่ 30-31 มีนาคม 2564

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีกับนิสิตเก่าและนิสิตภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ รองชนะเลิศอันดับหนึ่ง และรองชนะเลิศอันดับ 2 ในงาน “BANGKOK BLOCKATHON 2021 : FINANCE AND BEYOND”

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีกับนิสิตเก่าและนิสิตภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ รองชนะเลิศอันดับหนึ่ง และรองชนะเลิศอันดับ 2 ในงาน “BANGKOK BLOCKATHON 2021 : FINANCE AND BEYOND”

รางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่ง สมาชิกทีมเป็นศิษย์เก่าของ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ นายชานน ยาคล้าย ( Game lab)
0.1 Bitcoin ได้แก่ ทีม KillSwitch เจ้าของไอเดีย Decentralized Application ที่ช่วยให้นักลงทุนที่ทำ Yield Farming สามารถถอน Liquidity Position ออกจาก Farm และขายเหรียญทิ้งทันทีในกรณีที่ราคาของเหรียญตกลงอย่างรวดเร็ว หมดปัญหาเรื่องการถอนเงินไม่ทันตอนราคาตก อีกทั้งยังลดจำนวนธุรกรรมที่ต้องทำ จากปกติ 3 ครั้งใน 3 แพลตฟอร์มให้เหลือเพียงครั้งเดียวในแพลตฟอร์มเดียว

รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง สมาชิกทีมได้แก่

  1. ธีรธรรม วิมุตตินันท์ นิสิตระดับชันปีที่ 3 ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
  2. ปุณยวัชร์ รุจิพิรานันท์ นิสิตระดับชันปีที่ 3 ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
  3. วงศ์ตะวัน จันทร์ไทย นิสิตระดับชันปีที่ 3 ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
  4. เต็มภูมิ ชัยวัฒนายน นิสิตระดับชันปีที่ 3 ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
  5. เอมิกา สันติสำราญวิไล นิสิต นิสิตระดับชันปีที่ 3การธนาคารและการเงิน คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

การทำ TrustPass คือ platform ที่ให้คนเข้ามาช่วยยืนยันความปลอดภัยของผู้เข้าร่วม event ช่วยให้การจัดกิจกรรมทางสังคมปลอดภัยขึ้น เริ่มจากผู้จัด event จ่ายเงินจำนวนหนึ่งไว้เพื่อเปิด event ในระบบและเป็น incentive สำหรับคนที่มาช่วยกันยืนยัน ส่วนผู้ที่อยากมาเข้าร่วม event ก็จะขอให้คนรู้จักมาช่วยยืนยันว่าตัวเองปลอดภัย โดยผู้ยืนยัน จะฝากเงินไว้ใน smart contract เพื่อเป็นหลักประกันความปลอดภัย ผู้ยืนยันจะได้เงินที่ฝากไว้คืนพร้อมส่วนแบ่งจากผู้จัด event เมื่อผ่านวัน event ไป 14 วันแล้วยังไม่มีผู้เข้าร่วมงานติดเชื้อ ในกรณีที่มีผู้ติดเชื้อ เงินทั้งหมดที่ฝากไว้ใน pool จะถูกนำไปให้กระทรวงสาธารณสุขใช้สำหรับรักษาและตรวจผู้ที่ได้รับเชื้อโควิดจากการเข้าร่วมงาน event นั้น

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2
สมาชิกทีมมาจาก 3 มหาวิทยาลัย โดยมี นาย ชมธน ฉันจรัสวิชัย เป็นนิสิตระดับชันปีที่ 3 ของ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์

Project: Estate Onblock เป็น NFT แพลตฟอร์ม ที่ให้นักลงทุนได้ซื้อ NFT ที่จำลองสถานที่สำคัญของประเทศต่าง ๆ เช่น หอไอเฟล วัดพระแก้ว เป็นต้น โดยนักลงทุนต้องซื้อเหรียญประเทศต่าง ๆ คู่กับ Governance token เพื่อไป Farm NFT สถานที่สำคัญ ๆ ต่างๆมาเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ (NFTs Gallery)

ขอเชิญคณาจารย์ บุคลากร และนิสิตคณะวิศวฯ ร่วมตอบแบบสำรวจความพึงพอใจต่อการดำเนินงานของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2563 (Satisfaction survey in Academic Year 2020)

ขอเชิญคณาจารย์ บุคลากร และนิสิตคณะวิศวฯ ร่วมตอบแบบสำรวจความพึงพอใจต่อการดำเนินงานของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2563 (Satisfaction survey in Academic Year 2020)

https://forms.gle/i4xa5TTxjLiBBVGG9

เริ่มดำเนินการวันที่ 1 เมษายน 2564 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2564

คณะวิศวฯ จัดกิจกรรมคณบดีพบนิสิต TownHall Meeting

เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2564 ภารกิจยุทธศาสตร์และโครงการพิเศษ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดกิจกรรมคณบดีพบนิสิต TownHall Meeting ณ ห้อง 201A ชั้น 2 อาคารวิศวฯ 100 ปี และทางระบบออนไลน์ โดย ศ. ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี ได้นำเสนอถึงโครงการที่ช่วยตอบสนองความต้องการของนิสิต มุ่งสู่การเป็น Future Leaders และทิศทางการขับเคลื่อนคณะวิศวกรรมศาสตร์ในปัจจุบันและอนาคต ศ. ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองคณบดี ศ. ดร.เกษม ชูจารุกุล รองคณบดี รศ. ดร.อติวงศ์ สุชาโต รองคณบดี ผศ. ดร.ณัฏฐ์ ลีละวัฒน์ ผู้ช่วยคณบดี และ อ. ดร.สุรัฐ ขวัญเมือง ผู้ช่วยคณบดี ได้นำเสนอถึงกลยุทธ์การดำเนินงานตาม Core Value: ACT NOW แก่นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยมี รศ. ดร.นระเกณฑ์ พุ่มชูศรี เป็นผู้ดำเนินรายการ

นอกจากนี้ ภายในงานยังได้มีกิจกรรมลุ้นรางวัลจากคณบดี โดยการเล่น Bingo ผ่านแพลตฟอร์มลงทะเบียน “อยาก•ให้•มา (Yak•Hai•Ma)” ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ใช้สำหรับการลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของคณะฯ พัฒนาโดยคณะวิศวฯ จุฬาฯ

คณะวิศวฯ จุฬาฯ ส่งมอบบ้านพักครูโรงเรียนบ้านขามทะเลสอ อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นกิจกรรมของนิสิตชมรมค่ายอาสาพัฒนา “ยุววิศวกรบพิธ”

เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2564 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สรรเพชญ ชื้อนิธิไพศาล รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต รองศาสตราจารย์ ดร.วิทิต ปานสุข อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการฯ เจ้าหน้าที่กิจการนิสิต และนิสิตชมรมค่ายอาสาพัฒนาชนบท ยุววิศวกรบพิธ ได้เดินทางไปส่งมอบบ้านพักครูโรงเรียนบ้านขามทะเลสอ ตำบลขามทะเลสอ อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นกิจกรรมของนิสิตชมรมค่ายอาสาพัฒนา “ยุววิศวกรบพิธ” โดยมี นายสุระ รุ่งสันเทียะ ปลัดอาวุโส เป็นผู้แทนนายอำเภอ เป็นประธานรับมอบ พร้อมด้วย นายบุญยัง เจิมขุนทด รักษาการผู้อำนวยการโรงเรียน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และครูโรงเรียนบ้านขามทะเลสอ เป็นผู้รับมอบ

การสร้างบ้านพักครูโรงเรียนบ้านขามทะเลสอ ตำบลขามทะเลสอ อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา เป็นกิจกรรมที่ใช้ความรู้ให้เกิดประโยชน์ ในการช่วยเหลือพัฒนาชุมชนและสังคมเพื่อความยั่งยืน เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ของครูที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งเป็นการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนความเป็นอยู่ของครูในพื้นที่ชนบทให้สามารถทุ่มเทให้กับการเรียนการสอนได้อย่างเต็มที่

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้

บันทึกการตั้งค่า