อาจารย์วิศวฯ ร่วมให้ความรู้เกี่ยวกับวิศวกรรมความปลอดภัยทางถนน ในรายการ “รู้สู้ภัย Don’t Panic”

รศ. ดร.เกษม ชูจารุกุล รองคณบดีด้านบริหาร อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวฯ จุฬาฯ และผู้จัดการศูนย์ความเป็นเลิศด้าน ThaiRAP
ได้ร่วมให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับวิศวกรรมความปลอดภัยทางถนน ในรายการ “รู้สู้ภัย Don’t Panic” ตอน “ตัดต่อแต้ม แก้วินัยจราจร”
โดยออกอากาศเมื่อวันเสาร์ที่ 26 ต.ค. 62 เวลา 11.00 – 11.30 น. ทางไทยพีบีเอส

ที่มา : ThaiPBS

ศิษย์เก่าและอาจารย์ วิศวฯ จุฬาฯ ได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่นโตเกียวเทคในประเทศไทย

เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2562 Tokyo Tech Alumni Association (Thailand Chapter) ได้มีการจัดงาน The 12th Thai Kuramae Kai General Meeting ณ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น โดยภายในงานได้มีการประกาศรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น สำหรับศิษย์เก่าในประเทศไทยที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว (Tokyo Institute of Technology) ประเทศญี่ปุ่น ที่ทำประโยชน์และสร้างชื่อเสียงด้านต่าง ๆ สำหรับปีนี้มีผู้ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการ จำนวน 3 รางวัล ได้แก่

1. รางวัล Outstanding Alumni Award มอบให้ ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ศิษย์เก่าและอดีตอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,

2. รางวัล Outstanding Alumni Award มอบให้ ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย และศิษย์เก่าภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, และ

3. รางวัล Young Outstanding Alumni Award มอบให้ อาจารย์ ดร.ณัฏฐ์ ลีละวัฒน์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต โรจน์อารยานนท์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น และประธาน Tokyo Tech Alumni Association (Thailand Chapter) เป็นผู้มอบรางวัล

 

 

ภายในงานได้รับเกียรติจาก Professor Dr. Kazuya Masu อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ร่วมกล่าวเปิดงาน และมีผู้บริหารสถาบันฯ คณาจารย์ และศิษย์เก่าจากสถาบันฯ ในประเทศไทยเข้าร่วมงาน

 

ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร รับรางวัล Outstanding Alumni Award

 

อาจารย์ ดร.ณัฏฐ์ ลีละวัฒน์ รับรางวัล Young Outstanding Alumni Award

คณะวิศวฯ แสดงความยินดีกับอธิบดีกรมทางหลวง

วันที่ 25 ตุลาคม 2562 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.เกษม ชูจารุกุล รองคณบดี พร้อมด้วยผู้บริหาร คณาจารย์ และผู้แทนจากสมาคมนิสิตเก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ไปแสดงความยินดีกับนายสราวุธ ทรงศิวิไล นิสิตเก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ ในโอกาสที่ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมทางหลวง

ขอเชิญนิสิตเก่าวิศวฯ จุฬาฯ ร่วมงาน “INTANIA CAMPUS TOUR 2019”

คิดถึงคณะกันมั้ย?
“Intania” เรา กำลังพัฒนาด้านใดอยู่ และพวกเราจะไปสนับสนุนด้านใดได้บ้าง..

โอกาสมาถึงแล้ว!!

“INTANIA CAMPUS TOUR 2019”

วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2562 เวลา 09.30 น. – 13.00 น.

ใครสนใจลงทะเบียนด่วนภายใน อาทิตย์ที่ 10 พ.ย.

จำนวนจำกัด ลงก่อนมีสิทธิ์ก่อน (ไม่มีค่าใช้จ่าย)

https://www.zipeventapp.com/e/Intania-Campus-Tour-2019

คณะวิศวฯ ร่วมจัดแสดงผลงานนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านพลังงาน ในงานนิทรรศการนานาชาติ SETA 2019

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมจัดแสดงผลงานนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านพลังงานที่สอดคล้องกับการขยายตัวของเมืองและสะท้อนแนวคิดมุ่งไปสู่เมืองอัจฉริยะ ในงานนิทรรศการนานาชาติ “โครงการพลังงานและเทคโนโลยีที่ยั่งยืนแห่งเอเชีย 2562” หรือ “SETA 2019” เมื่อวันที่ 10-12 ตุลาคม 2562 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทคบางนา Hall 98

โดยผลงานที่ร่วมจัดแสดงในกิจกรรมครั้งนี้ ได้แก่
– เทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า
– กังหันลมชาร์ตแบตเตอรี่สำรอง
– แบตเตอรี่สังกะสี-อากาศ (Zinc-air battery) แบตเตอรี่สังกะสี-อากาศอัดประจุซ้ำได้ สำหรับการสำรองไฟฟ้าในระบบขนาดใหญ่ ระบบแบตเตอรี่ไอออนสังกะสี ซึ่งสามารถผลิตโดยใช้กระบวนการผลิตที่ใกล้เคียงกับแบตเตอรี่ไอออนลิเธียม แต่มีความปลอดภัยกว่าและต้นทุนต่ำกว่า
– แบตเตอรี่สังกะสี-ไอโอดีน (Zinc-iodine battery) ที่มีความปลอดภัยสูงไม่ระเบิด มีอัตราการอัดประจุสูงกว่า 6 เท่าของความจุ

รวมถึงเทคโนโลยี
– Energy Saving Smart Farming System Using IoT Devices
– Train System Simulation Tool Using Python
– Cloud-based Teleoperation PhoneBot
และ Anaerobic Co-digestion of food waste and sewage sludge for Biogas Production from High-rise building

โดยงานครั้งนี้ได้รับความสนใจจากกลุ่มผู้บริหาร ภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน ผู้ผลิต บริษัทผู้ผลิตไฟฟ้า นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ บริษัทผู้ผลิตพลังงานทดแทน ธนาคาร นักลงทุน จากทุกภาคส่วนและผู้สนใจทั่วไป ทั้งในและต่างประเทศ เป็นอย่างมาก

งานแสดงมุทิตาจิตแด่บุคลากรที่เกษียณอายุราชการ ประจำปี 2562

วันที่ 30 กันยายน 2562 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานแสดงมุทิตาจิตแด่บุคลากรที่เกษียณอายุราชการ ประจำปี 2562 จำนวน 12 ท่าน พร้อมทั้งได้มอบโล่ประกาศเกียรติคุณ “ศรีอินทาเนีย” เพื่อเป็นที่ระลึกและขอบคุณคณาจารย์ บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในคณะวิศวกรรมศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพ เปี่ยมด้วยคุณธรรมและจริยธรรมมาเป็นระยะเวลานาน โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี เป็นประธานในพิธี

รายนามผู้เกษียณอายุราชการ
1. อ. ดร.เจิดศักศิ์ ไชยคุนา ภาควิชาวิศวกรรมเคมี
2. นางดวงพร พิสนุแสน ผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร
3. นายธีรพงษ์ ประทุมศิริ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
4. นางนงนุช ธีรกรชัยธวัช ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
5. รศ. ดร.บรรเจิด พละการ ภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ
6. นางมนิส เขียวน้อย ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
7. นางสาวยุพา ทัสกุล ภาควิชาวิศวกรรมโลหการ
8. นายศิริ ใจซื่อ ภารกิจบริหารระบบกายภาพ
9. ผศ. ดร.สืบสกุล พิภพมงคล ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
10. นางสุพรรณี ยงกิจเจริญลาภ ห้องสมุด
11. ผศ.สุวิทย์ นาคพีระยุทธ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
12. นางอัจฉรา ปลื้มกุศล ภารกิจบริหารระบบกายภาพ

รูปเพิ่มเติม

ห้อง True Lab @ Chula Engineering : 5G & Innovative Solution Center เปิดให้บริการแล้วสำหรับคณาจารย์และนิสิตคณะวิศวฯ จุฬาฯ

ห้อง True Lab @ Chula Engineering : 5G & Innovative Solution Center
เปิดให้บริการแล้วสำหรับคณาจารย์และนิสิตคณะวิศวฯ จุฬาฯ

พื้นที่สร้างสรรค์นวัตกรรมที่เพียบพร้อมด้วยโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ทั้ง 5G, 4G, บรอดแบนด์ และ WiFi รวมถึงเครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อการทดลอง ทดสอบ ทุนวิจัย/พัฒนา และกิจกรรมเสริมสร้างองค์ความรู้ เสริมศักยภาพให้คณาจารย์และนิสิตในการค้นคว้า สร้างนวัตกรรมและผลงานวิจัย ตลอดจนพัฒนาและสร้างสรรค์รูปแบบการใช้งานต่าง ๆ

พื้นที่ให้บริการ 5 ส่วนได้แก่ ออดิทอเรียม (Auditorium) ,พื้นที่จัดกิจกรรมประชุม สัมมนา ในรูปแบบ Townhall, Working space พื้นที่สำหรับการทำงาน, ห้องประชุม พร้อมฟังก์ชั่นแบ่งเป็นห้องย่อยได้ 2 ห้อง และห้องสำนักงาน และพื้นที่ส่วนกลาง (Lounge) ปรับเปลี่ยนฟังก์ชั่นใช้งานได้หลายรูปแบบ

ให้บริการวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 8.00-21.00 น.
ชั้น 1 อาคาร 3 (ฝั่งสวนรวมใจ) คณะวิศวฯ จุฬาฯ

คณะวิศวฯ ขอแสดงความยินดีกับกลุ่มนิสิตทุนวิศวฯ จุฬาฯ ที่ได้รับรางวัลพระราชทานเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2562

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ขอแสดงความยินดีกับกลุ่มนิสิตทุนวิศวฯ จุฬาฯ ที่ได้รับรางวัลพระราชทานเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2562 สาขาพัฒนาเยาวชน บำเพ็ญประโยชน์ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเยาวชน

เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2562 ที่ผ่านมาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ นายอำพน กิตติอำพน องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ ในการเปิดงานเยาวชนแห่งชาติ และมอบรางวัลเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ เนื่องในวันเยาวชนแห่งชาติ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีกับ “กลุ่มนิสิตทุนคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ที่ได้รับรางวัลพระราชทาน “กลุ่มเด็กและเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ” ประจำปี 2562 สาขาพัฒนาเยาวชน บำเพ็ญประโยชน์ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเยาวชน โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สรรเพชญ ชื้อนิธิไพศาล รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต เป็นอาจารย์ที่ปรึกษากลุ่ม

กลุ่มนิสิตทุนวิศวฯ จุฬาฯ คือนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่ได้รับทุนการศึกษา โดยได้รวมกลุ่มกันเป็นกลุ่มนิสิตทุน เพื่อที่จะเป็นกำลังเสริมช่วยเหลือคณะ ทำกิจกรรมตอบแทนมหาวิทยาลัย และสังคมภายนอก เนื่องด้วยกลุ่มนิสิตทุนได้ตระหนักและมีจิตสำนึกในฐานะการเป็นผู้รับ ที่ได้รับทุนการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้มีโอกาสทางการศึกษา และต้องการที่จะ ส่งต่อ แบ่งปัน เป็นผู้ให้ แก่ผู้อื่นด้วยความรู้ความสามารถที่ตัวเองมี โดยไม่จำเป็นต้องรอให้จบการศึกษา พร้อมด้วยการพัฒนาศักยภาพนิสิตให้มีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ คือ “บัณฑิตจุฬาฯ เป็นผู้ที่มีคุณค่าของสังคมโลก” โดยได้ดำเนินการโครงการต่างๆ ที่ได้พัฒนาเยาวชนและสังคมมาจนถึงปัจจุบัน ในการนี้ นายเจษฎา ตั้งมงคลสุข เป็นตัวแทนนิสิตทุน กลุ่มนิสิตทุนคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขึ้นรับรางวัลที่ได้รับพระราชทาน

 

วิศวฯ จุฬาฯ จับมือ กลุ่มทรู เปิด TRUELAB@CHULA ENGINEERING: 5G & INNOVATIVE SOLUTION CENTER พร้อมเดินหน้าความร่วมมือพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม 5G/IoT เพื่อสังคมไทย

วันที่ 23 กันยายน 2562 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จับมือ กลุ่มทรู เดินหน้าความร่วมมือพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม ในโครงการ “TrueLab”  พร้อมเปิด TrueLab@Chula Engineering: 5G & Innovative Solution Center พื้นที่สร้างสรรค์นวัตกรรมที่เพียบพร้อมด้วยโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ทั้ง 5G, 4G, บรอดแบนด์ และ WiFi รวมถึงเครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อการทดลอง ทดสอบ ทุนวิจัย/พัฒนา และกิจกรรมเสริมสร้างองค์ความรู้ เสริมศักยภาพให้คณาจารย์และนิสิตในการค้นคว้า สร้างนวัตกรรมและผลงานวิจัย ตลอดจนพัฒนาและสร้างสรรค์รูปแบบการใช้งานต่างๆโดยใช้เทคโนโลยี 5G ที่สามารถพัฒนาต่อยอดให้สามารถใช้งานได้จริง เพื่อประโยชน์สาธารณะและการพัฒนาสังคมไทยในยุคดิจิทัล

 

ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมุ่งสร้างสรรค์องค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อสร้างเสริมสังคมไทยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน และสร้างบัณฑิตที่จะเป็นนวัตกรช่วยปรับเปลี่ยนสังคมไทยให้สามารถสร้างมูลค่าและคุณค่าให้แก่ประเทศ      ซึ่งหนึ่งในกลยุทธ์หลักของจุฬาฯ คือ การบ่มเพาะและผลักดันนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการจริงทั้งเชิงสังคมและเทคโนโลยี  โดยความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและองค์กรเอกชน นับเป็นหนึ่งในแนวทางที่จะช่วยพัฒนาวิชาการของมหาวิทยาลัย ให้สามารถสร้างคน สร้างนวัตกรรมและผลการวิจัยที่เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะในวงกว้างได้ ความร่วมมือกับกลุ่มทรูในการดำเนินโครงการ TrueLab ในครั้งนี้ จะช่วยเพิ่มโอกาสการเรียนรู้ พัฒนาทักษะ และเพิ่มศักยภาพของคณาจารย์และนิสิตจุฬาฯ  ทั้งยังสนับสนุนให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมและต่อยอดการนำผลการวิจัยที่ได้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจ อุตสาหกรรม และประเทศ  สอดคล้องกับนโยบายด้านความเป็นเลิศทางวิชาการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”

 

ดร.กิตติณัฐ ทีคะวรรณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า “กลุ่มทรูมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะวิศวกรรมศาสตร์ ให้โอกาสกลุ่มทรูได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนความเป็นเลิศทางวิชาการของมหาวิทยาลัย สอดคล้องกับความตั้งใจของกลุ่มทรูในการส่งเสริมศักยภาพของระบบการศึกษาของไทย เพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถและมีความคิดสร้างสรรค์ที่จะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตและแข่งขันได้กับนานาประเทศ โดยกลุ่มทรูเดินหน้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมและดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยยกระดับการใช้ชีวิตให้สะดวกสบาย และส่งเสริมการบูรณาการโดยใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมและเทคโนโลยีดิจิทัลในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อประโยชน์สุงสุดของประเทศ โดยความร่วมมือในโครงการทรูแล็บครั้งนี้ กลุ่มทรูจะนำศักยภาพของโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมดิจิทัล โดยเฉพาะโครงข่าย 5G ที่สามารถทดลองทดสอบได้แล้ววันนี้  พร้อมทั้งความรู้ ความชำนาญในด้านเทคโนโลยี มาผสานกับองค์ความรู้ของคณาจารย์และนิสิต เพื่อสร้างนวัตกรไทยรุ่นใหม่ ที่จะช่วยสร้างสรรค์นวัตกรรมและผลงานวิจัยที่มีคุณค่าต่อสังคมไทย”

 

ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มุ่งมั่นผลิตบุคลากรและวิศวกรที่มีความรู้ มีทักษะและสามารถบุกเบิกองค์ความรู้ใหม่ด้านวิศวกรรมและบูรณาการองค์ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคมไทย ล่าสุด ร่วมมือกับกลุ่มทรู เปิด TrueLab@Chula Engineering เพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ การวิจัยและคิดค้นนวัตกรรมต่าง ๆ  เสริมสร้างกระบวนการในการเรียนรู้ของนิสิต ให้สามารถนำความรู้ทางทฤษฎีที่ได้จากห้องเรียนมาทดลอง วิจัย และพัฒนาต่อยอดเป็นผลงานที่จะสร้างคุณประโยชน์ให้แก่สังคมได้  โดยเฉพาะ 5G และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ มั่นใจว่า TrueLab@Chula Engineering จะเป็นพื้นที่สร้างประโยชน์ และเป็นการเตรียมความพร้อมของบุคลากรและส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยเทคโนโลยี 5G เพื่อให้เกิดระบบนิเวศของการพัฒนาเทคโนโลยีและบริการ 5G ของประเทศต่อไป

 

ดร.ธีระพล ถนอมศักดิ์ยุทธ หัวหน้าคณะผู้บริหาร ด้านนวัตกรรมและความยั่งยืน บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า “TrueLab เป็นโครงการความร่วมมือด้านงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมระหว่างกลุ่มทรูและสถาบันการศึกษา โดยมุ่งพัฒนาระบบนิเวศเพื่อให้บริการครบวงจรสำหรับคณาจารย์และนิสิต นักศึกษา เพื่อสร้างนักวิจัยและนวัตกรไทยจากรั้วมหาวิทยาลัย ภายใต้แนวคิด “STARTUP” ผ่านการสนับสนุนในด้าน Startup seed fund แหล่งทุนเพื่อสร้างสรรค์และพัฒนาผลงานนวัตกรรม, Talent Recruitment  การเฟ้นหานวัตกรที่มีความรู้ความสามารถ เพื่อช่วยพัฒนาไอเดียและต่อยอดในเชิงธุรกิจให้เกิดขึ้นจริง, Assessment Center ช่วยประเมินความถนัดและความสามารถ เพื่อวางแผนการพัฒนาตนเองในด้านต่างๆ, Research & Development Fund สนับสนุนทุนวิจัย, The future job and digital training ศูนย์บ่มเพาะและอบรมความรู้ด้านดิจิทัล, University 4.0 สนับสนุนดิจิทัลไลฟ์สไตล์ในมหาวิทยาลัย และ Privilege as a member  สิทธิพิเศษจากโครงการ TrueLab  เชื่อมั่นว่า TrueLab@Chula Engineering: 5G & Innovative Solution Center ที่มีระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่เอื้อต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรม จะสร้างคุณค่าและประโยชน์ต่อนิสิต คณาจารย์ และสร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศไทย

 

TrueLab@Chula Engineering: 5G & Innovative Solution Center ตั้งอยู่ที่อาคาร 3 ชั้น 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีขนาดพื้นที่ประมาณ 570 ตารางเมตร  สุดล้ำกับเครือข่าย 5G และระบบเทคโนโลยีสื่อสารพื้นฐาน สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และ WiFi ครอบคลุมทั่วพื้นที่ใน TrueLab เพียบพร้อมด้วยอุปกรณ์และเครื่องมือที่ทันสมัย ประกอบด้วยพื้นที่หลัก 5 ส่วนได้แก่ ออดิทอเรียม (Auditorium) พื้นที่จัดกิจกรรมประชุม สัมมนา ในรูปแบบ Townhall, Working space  พื้นที่สำหรับการทำงาน, ห้องประชุม พร้อมฟังก์ชั่นแบ่งเป็นห้องย่อยได้ 2 ห้อง, ห้องสำนักงาน และ พื้นที่ส่วนกลาง (Lounge) ปรับเปลี่ยนฟังก์ชั่นใช้งานได้หลายรูปแบบ

คณะวิศวฯ จุฬาฯ ร่วมส่งเสริมการพัฒนาทักษะ กระบวนการคิด สร้างสรรค์ ออกแบบด้าน Innovation & Enterprise Capabilities ภายใต้ความร่วมมือกับ True Lab และ Nanyang Polytechnic ประเทศสิงคโปร์

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมส่งเสริมการพัฒนาทักษะ กระบวนการคิด สร้างสรรค์ ออกแบบด้าน Innovation & Enterprise Capabilities ภายใต้ความร่วมมือกับ True Lab และ Nanyang Polytechnic ประเทศสิงคโปร์

จัดกิจกรรม Mixed Team Ideation Competition ในวันที่ 10-12 กันยายน 2562 ณ True Lab ชั้น 1 อาคาร 3 คณะวิศวฯ จุฬาฯ เพื่อพัฒนาทักษะ กระบวนการคิดและออกแบบสร้างสรรค์แนวทาง หรือนวัตกรรมที่ตอบโจทย์กับผู้ใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยนิสิตจะได้รับโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนิสิตต่างชาติและได้รับประสบการณ์ผ่านการลงมือทำในการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้

บันทึกการตั้งค่า