สมาคมนิสิตเก่าวิศวฯ คณะวิศวฯ จัดงานคืนสู่เหย้า “Re-Freshy ปีหนึ่งอีกครั้ง”

เมื่อวันเสาร์ที่ 26 มกราคม 2562 สมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานคืนสู่เหย้า “Re-Freshy ปีหนึ่งอีกครั้ง” ณ ห้องประชุมใหญ่ 117 อาคาร 3 และบริเวณลานเกียร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยในช่วงแรกได้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2561 จากนั้น คณะกรรมการสมาคมฯ คณาจารย์ นิสิตเก่า และนิสิตปัจจุบัน ร่วมกันถวายบังคมพระบรมรูปสองรัชกาล ปิดท้ายด้วยงานเลี้ยงสังสรรค์ การแสดงบนเวที พิธีคารวะอาจารย์และรุ่นพี่อาวุโส ด้วยบรรยากาศอบอุ่นและเป็นกันเอง

 

 

โครงการบริจาคกระดูกเทียมและอุปกรณ์ไทเทเนียม 100 ชิ้น เพื่อคนไทย โดย คณะวิศวฯ จุฬาฯ

เมื่อวันศุกร์ที่ 25 มกราคม 2562 ณ โรงแรม S31 Sukhumvit โครงการบริจาคกระดูกเทียมและอุปกรณ์ไทเทเนียม 100 ชิ้น เพื่อคนไทย โดย คณะวิศวฯ จุฬาฯ ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ผู้สนับสนุนโครงการ) และ บริษัทเมติคูลี่ จำกัด บริษัท Startup ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายกระดูกเทียมไทเทเนียมโดยใช้เทคโนโลยี 3D printing ซึ่ง spin off มาจากงานวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดงานแถลงความสำเร็จของโครงการฯ และขอบคุณทีมแพทย์จากโรงเรียนแพทย์ชั้นนำของประเทศไทย ที่ได้ให้ความร่วมมือและทำให้โครงการสำเร็จนี้สำเร็จไปได้ด้วยดีในปี 2561 โดยมีศาสตราจารย์ นายแพทย์ยิ่งยศ อวิหิงสานนท์ ผู้ช่วยอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธานกล่าวเปิดงาน และ รศ. ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกล่าวขอบคุณถึงความสำเร็จของโครงการฯ และได้รับเกียรติจาก อาจารย์แพทย์ และคณะจากโรงพยาบาลต่าง ๆ เข้าร่วมงานในครั้งนี้ อีกทั้ง ยังเป็นการแสดงถึงก้าวใหม่ที่สำคัญในปี 2562 ที่จะเป็นการต่อยอดและพัฒนานวัตกรรมด้านอุปกรณ์ทางการแพทย์โดยคนไทยเพื่อคนไทยให้ดีและแพร่หลายมากยิ่งขึ้น

ขอเชิญชวน พี่น้องชาว วิศวฯ จุฬาฯ ทุกคน เข้าสู่สังคมไร้เงินสด (Cashless Society) ตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม นี้ ด้วยการใช้ QR payment ซื้ออาหารและเครื่องดื่มในโรงอาหารของคณะฯ 

ขอเชิญชวน พี่น้องชาว วิศวฯ จุฬาฯ ทุกคน เข้าสู่สังคมไร้เงินสด (Cashless Society) ตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม นี้ ด้วยการใช้ QR payment ซื้ออาหารและเครื่องดื่มในโรงอาหารของคณะฯ

ง่าย ๆ เพียงเปิด CU NEX Application
กดเมนู “จ่ายด้วย K PLUS” เพื่อ Scan QR Code และกดยืนยันชำระเงิน

พิเศษ! รับฟรี คุ้กกี้เสี่ยงทาย 1 ชิ้น เมื่อใช้จ่ายด้วย CU NEX Payment
วันที่ 21-22 ม.ค. นี้ (ของมีจำนวนจำกัด)

CU NEX Payment
สะดวก ง่าย ทุก ๆ 25 บาทได้ 1 แต้ม! แลกซื้อของต่าง ๆ มากมาย

ขอเชิญนิสิตร่วมฟังการบรรยาย วิศวกรรุ่นใหม่ เข้าใจเรื่อง Tech

เรียนจบวิศวฯ ต้องมีความรู้เรื่อง Tech มากแค่ไหน?
.
AI, Data Science, Machine Learning, Blockchain วิศวกรรุ่นใหม่เข้าใจคำเหล่านี้ดีพอรึยัง?
.
มาไขข้อสงสัยกันในงาน “วิศวกรรุ่นใหม่ เข้าใจเรื่อง Tech”
.
พบกันวันอังคารที่ 29 มกราคมนี้
เวลา 16:30 ถึง 19:00 น.
ณ ห้องประชุมใหญ่ ตึก 3 คณะวิศวฯ จุฬาฯ
.
ฟังการบรรยายร่วมกันจากแขกรับเชิญ พี่แท็บ รวิศ (CEO of ศรีจันทร์, นักเขียนและเจ้าของ podcast Mission to the moon) พี่โบ๊ท ไผท (CEO of Builkone Group) และพี่ต้า ดร.วิโรจน์ (MD of Skooldio)
.
สำรองที่นั่งได้ที่ (ด่วน! มีจำนวนจำกัด)
www.ChAMPEngineering.org
.
เพราะเรื่อง Tech เป็นเรื่องของวิศวกรทุกคน

ผู้บริหารคณะวิศวฯ มอบกระเช้าสวัสดีปีใหม่แก่ผู้บริหารจุฬาฯ

วันที่ 10 มกราคม 2562 รศ. ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี พร้อมด้วยผู้บริหารคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้เข้าพบและมอบกระเช้าสวัสดีปีใหม่แก่ ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ภิรมย์ กมลรัตนกุล นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ISE Summer School AY 2018

ISE Summer School AY 2018 📚✍🏼❗️

at the Faculty of Engineering, Chulalongkorn University in Thailand. It will be fully taught in English by Lecturers from UK, France, and Thailand. 💙❤️

ISE Summer School is a great opportunity to evolve into an international environment and to get to know more about engineering and emerging topics such as Big Data and Artificial Intelligence, Automation, Robotics, and Unmanned Aerial Vehicle (UAV).🎈
👉🏽 Click: https://bit.ly/2Tf6sDj 👈🏽

 

อาจารย์วิศวฯ รับรางวัลผลงานวิจัยสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติ “Silver Prize” จากงาน “Seoul International Invention Fair 2018 (SIIF 2018)”

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ขอแสดงความยินดีกับ รองศาสตราจารย์ ดร.ชวลิต รัตนธรรมสกุล ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ที่ได้รับรางวัลผลงานวิจัยสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติ “Silver Prize” จากงาน “Seoul International Invention Fair 2018 (SIIF 2018)” จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 6–9 ธันวาคม 2561 ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี โดยสมาคม Korea Invention Promotion Association (KIPA) ซึ่งเป็นเวทีประกวดผลงานด้านนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของทวีปเอเชีย โดยมีผลงานเข้าร่วมประกวดและนำเสนอกว่า 600 ผลงาน สำหรับผลงานวิจัยสิ่งประดิษฐ์ที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ เป็นการนำเสนอผลงานวิจัยสิ่งประดิษฐ์เรื่อง “Innovative Ecobiofilter-Membrane Bioreactor Wastewater Recycling System” เป็นการพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียสำหรับอาคารสูงและสามารถนำน้ำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการทำงานของระบบถังปฏิกรณ์ชีวภาพเมมเบรนหรือระบบเอ็มบีอาร์ ร่วมกับตัวกลางชีวภาพแบบตัวกลางเซรามิกส์ที่มีรูพรุน สามารถใช้งานได้นานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อลดการใช้ตัวกลางพลาสติกซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาขยะพลาสติกสู่สิ่งแวดล้อม โดยงานวิจัยนี้ได้รับการพิจารณาคัดเลือกและสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้ไปนำเสนอผลงานในครั้งนี้

คณะวิศวฯ ร่วมพิธีทำบุญตักบาตร เนื่องในโอกาสขึ้นพุทธศักราชใหม่ 2562

วันที่ 9 มกราคม 2562 รศ. ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี พร้อมด้วยผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้ร่วมพิธีทำบุญตักบาตร เนื่องในโอกาสขึ้นพุทธศักราชใหม่ 2562 ซึ่งจัดโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ลานพระศรีมหาโพธิ์ หน้าอาคารจามจุรี 4

 

บทความสัมภาษณ์ ผศ. ดร.พงษ์แพทย์ เพ่งวาณิชย์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ คณะวิศวฯ จุฬาฯ เกี่ยวกับ วิศวกรรมนิวเคลียร์และรังสี เรียนเกี่ยวกับอะไร เทรนด์สายนี้ มาแรงแค่ไหนในปี 2019

บทความสัมภาษณ์ ผศ. ดร.พงษ์แพทย์ เพ่งวาณิชย์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ คณะวิศวฯ จุฬาฯ เกี่ยวกับ วิศวกรรมนิวเคลียร์และรังสี เรียนเกี่ยวกับอะไร เทรนด์สายนี้ มาแรงแค่ไหนในปี 2019

สำหรับใครที่สนใจในสาขาวิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์และรังสีว่าจริงๆ แล้วเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์แพทย์ เพ่งวาณิชย์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมาแนะนำให้ความเข้าใจกับหลักสูตรนี้ให้มากยิ่งขึ้น และแนวทางของอาชีพสายนี้ที่กำลังมาแรงมากขึ้นต่อไปในปี 2019

วิศวกรรมนิวเคลียร์และรังสี เรียนเกี่ยวกับอะไร

สาขาวิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์และรังสี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คุณสมบัติเด่นสำคัญสำหรับหนุ่มสาววิศวกรรุ่นใหม่

“ผมคิดว่าเรื่องของความรู้พื้นฐานทั้งฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ ถ้าทุกคนขยัน ทุกคนก็สามารถเรียนได้ อีกอย่างคงเป็นเรื่องของความชอบ ถ้าเราชอบทำงานด้านวิศวกร และสนใจด้านนิวเคลียร์และรังสีเป็นพิเศษ ตรงนี้ก็เป็นทางที่เหมาะกับนิสิตที่เข้ามาเรียนทุกคน แต่สิ่งที่สำคัญมากๆ สำหรับคนที่จะทำงานทางด้านนี้ผมว่าน่าจะเป็นความชอบในการแก้ปัญหา เวลาเห็นปัญหาแล้วเราอยากที่จะลองคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาหรือเปล่า ถือเป็นคุณสมบัติของวิศวะทุกสาขาเลยก็ว่าได้

เรื่องของตรรกะหรือ LOGIC ก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญสำหรับการทำงานวิศวกรทุกด้าน ซึ่งเป็นทักษะที่ไม่สามารถสอนกันโดยตรงได้ ต้องอาศัยการเรียนรู้และปรับตัวทำความเข้าใจด้วยตัวเอง”

การต่อยอดในสายอาชีพ

“เมื่อก่อนคนอาจจะยังไม่รู้ว่าวิศวกรนิวเคลียร์และรังสีจะไปอยู่ที่ไหนบ้าง งานบางงานที่วิศวกรนิวเคลียร์และรังสีถนัด แต่เขาอาจไม่รู้ว่าอันนี้เป็นงานที่เราเชี่ยวชาญ เพราะเมื่อพูดถึงเรื่องนิวเคลียร์และรังสี ทุกคนจะคิดถึงเรื่องระเบิดหรืออุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซึ่งเป็นในแง่ลบส่วนใหญ่ แต่ศาสตร์ด้านนิวเคลียร์และรังสีถูกใช้มานานแล้วทั้งในและต่างประเทศ และไม่ได้เน้นไปที่ด้านพลังงานหรือโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อย่างเดียว แต่รวมถึงการสร้างและการใช้อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับนิวเคลียร์และรังสีในด้านอื่นๆ ด้วย เช่น ในด้านอุตสาหกรรมเราสามารถเอารังสีไปช่วยในตรวจวัดสินค้าโดยไม่ทำลายหรือปรับปรุงวัสดุได้ ในด้านความมั่นคงก็มีการใช้รังสีสำหรับตรวจวัดคลังสินค้า ตรวจจับสารเสพติด

หรือพวกเครื่องเอ็กซเรย์ตามสนามบินที่เราเห็น หรือในด้านการแพทย์ก็มีการนำรังสีไปใช้ในการวินิจฉัยโรคและรักษามะเร็ง ซึ่งมันเป็นเทคโนโลยีที่มีประโยชน์ และเป็นสิ่งที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันของเราของเราอยู่แล้ว แต่คนทั่วไปอาจไม่รู้ว่านี่คือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ด้านนิวเคลียร์และรังสี”

สำหรับน้องๆ ที่สนใจในสายวิศวกรรมนิวเคลียร์

“สำหรับน้องๆ ที่สนใจในภาควิชาของเรา เราจะมีรหัสรับตรงแยกออกมา คือ จฬ007 จะเปิดในรอบที่ 3 และ 4 นี้ ทุกปีเราจะรับในระดับปริญญาตรีแค่ 20 คน ถ้าคิดว่ารู้ว่าวิศวกรรมนิวเคลียร์เรียนอะไรแล้วสนใจก็สมัครเข้ามาเลย หรือจะลองมางาน OPEN HOUSE หรือดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ FB : NuclearChulaEngineering ก็ได้

แล้วตอนนี้ทางภาควิชาก็กำลังจะขยายในเรื่องเทคโนโลยีเครื่องเร่งอนุภาค โดยมีความร่วมมือกับประเทศจีน ที่ผ่านมานิสิตปริญญาโทและเอกของเราที่จบไปส่วนหนึ่งก็ทำงานในบริษัททางด้านเครื่องเร่งอนุภาคกันเยอะ เพราะเขาชอบวิศวกรจากภาควิชาของเรา ที่มีความรู้พื้นฐานทั้งในส่วนของไฟฟ้า เครื่องกล และรังสี ซึ่งการเรียนสามตัวนี้รวมกันจะเป็นพื้นฐานสำหรับคนที่เรียนนิวเคลียร์ ที่จะนำความรู้ทั้งหมดไปใช้ในเรื่องอื่นๆ ได้อีกด้วย”

 

ที่มา Campus Star : https://campus.campus-star.com/variety/93245.html?fbclid=IwAR3ZgWsib2Yx928-BRL7FNbQr_xcajmH_ZLXtab0-ZrSDyJWPAhrZvcuVf4

ขอเชิญผู้สนใจร่วมฟังการบรรยายพิเศษ เรื่อง “การสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนางานผ่านการสร้างนวัตกรรมจากงานประจำ”

ขอเชิญผู้สนใจร่วมฟังการบรรยายพิเศษ เรื่อง “การสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนางานผ่านการสร้างนวัตกรรมจากงานประจำ”
ภายใต้โครงการอาศรมความคิด อรุณ สรเทศน์ ณ ลานเกียร์ (เปิดโลกลานเกียร์)
วันอังคารที่ 15 มกราคม 2562 ระหว่างเวลา 09.00–12.00 น.
ณ ห้อง 209 ชั้น 2 ตึก 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
……………………………………………………..

08.30-09.00 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน
09.00-09.10 น. กล่าวเปิดการบรรยายพิเศษ
โดย คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(รองศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล) หรือผู้แทน
09.10-11.30 น. การบรรยายพิเศษ เรื่อง “การสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนางานผ่านการสร้างนวัตกรรมจากงานประจำ”
โดย ดร.จรงค์ศักดิ์ พุมนวน ตำแหน่ง นักวิทยาศาสตร์ ระดับเชี่ยวชาญ
คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
11.30-12.00 น. การบรรยาย เรื่อง “ข้อบังคับขั้นตอนการเข้าสู่ตำแหน่งสูงขึ้นของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”
โดย คุณธีรพงษ์ ประทุมศิริ เจ้าหน้าที่บริการการศึกษา (ครูปฏิบัติการ) ชำนาญการ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
12.00-12.15 น. ถาม-ตอบ และปิดการบรรยายพิเศษ

หมายเหตุ 1. พักรับประทานอาหารในห้องประชุม
2. กำหนดข้างต้น อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

คลิกลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้

บันทึกการตั้งค่า