ศูนย์บริการวิศวกรรม (CES)

 

 

 

เกี่ยวกับศูนย์บริการวิศวกรรม (CES)

      ศูนย์บริการวิศวกรรม ในอดีตนั้นเริ่มดำเนินงานภายใต้ชื่อ ศูนย์บริการวิชาการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ (Center for Engineering Research and Technical Service ) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547  ภายหลังได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงานตามมติคณะกรรมการบริหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครั้งที่ 8/2557 เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2557  โดยใช้ชื่อว่า ศูนย์บริการวิศวกรรม หรือ Center for Engineering Service (CES) ให้เป็นหน่วยงานของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่มีระบบการบริหารจัดการที่คล่องตัว โดยมีเป้าหมายเพื่อแสวงหารายได้มาสนับสนุนการดำเนินงานของคณะวิศวกรรมศาสตร์ และเป็นศูนย์กลางในการประสานงานและสนับสนุนการผลิตงานบริการวิชาการ เพื่อพัฒนาวิทยาการด้านวิศวกรรมศาสตร์ สร้างฐานความรู้และประสบการณ์ให้แก่คณาจารย์ของคณะในการนำวิทยาการด้านต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน ตลอดจนให้คำปรึกษาแนะนำแก่หน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย


การให้บริการของศูนย์บริการวิศวกรรม

ขอบเขตของการให้บริการทางวิชาการ

 

การบริการวิชาการ หมายถึง กิจกรรมหรือโครงการทางวิชาการที่ให้บริการวิชาการแก่สังคม โดยที่สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาที่อยู่ในพื้นที่ชุมชนหรือสังคมทำหน้าที่เป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการหรือมีผลต่อการพัฒนาสังคมในด้านวิชาการ ความรู้ เทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ตลอดจนสร้างความเข้มแข็งแก่ประเทศชาติและนานาชาติ ซึ่งการบริการทางวิชาการนั้นมีทั้งการให้บริการที่มีค่าตอบแทนและการบริการแบบให้เปล่าโดยจะนำความรู้และประสบการณ์มาใช้ในการพัฒนาหรือบูรณาการเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม

 

การให้บริการทางวิชาการของ ศูนย์บริการวิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ

 

1.  การวิเคราะห์ ทดสอบ ตรวจสอบ

การให้บริการวิเคราะห์ ทดสอบ ตรวจสอบวัสดุและอุปกรณ์ รวมไปถึงการให้บริการอุปกรณ์ที่ใช้ในทางวิศวกรรม และการทดสอบนอกสถานที่ ดำเนินการโดยภาควิชา 5 ภาควิชา ดังรายละเอียดต่อไปนี้

 

 

 

  • ภาควิชาวิศวกรรมโลหการ
    ติดต่อ เจ้าหน้าที่ธุรการภาค
    โทร 0-2218-6942
    ดูแลเครื่อง SEM
    รศ.ดร. ปฐมา วิสุทธิพิทักษ์กุล
    อาจารย์ ดร. จิราภรณ์ คำวรรณะ
    ดูแลเครื่องFE-SEM
    อาจารย์ ดร. เชษฐา พันธ์เครือบุตร
    ผศ.ดร. บุญรัตน์ โล่ห์วงศ์วัฒน
    ดร.อัจฉรา คำกรองแก้ว
    รายการที่มีการให้บริการทดสอบ

 

 


 

2.  การฝึกอบรม ประชุม สัมมนา อภิปราย บรรยาย

 

การจัดอบรมหรือสัมมนาของศูนย์วิศวกรรมแบ่งเป็น 2 ประเภทตามรูปแบบการจัดเก็บค่าบริการคือ

  1.  โครงการอบรมแบบให้เปล่า คือ โครงการอบรมที่ศูนย์บริการวิศวกรรมเห็นว่ามีประโยชน์ต่อผู้เข้าอบรมและไม่เก็บค่าลงทะเบียน ซึ่งทางศูนย์บริการวิศวกรรมดำเนินการจัดอบรมประมาณปีละ 2 ครั้ง โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์เป็นผู้สนับสนุนหลัก
  2.  โครงการอบรมที่ได้รับงบสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกหรือมีการจัดเก็บค่าลงทะเบียน

 

การจัดอบรม ประชุม สัมมนา อภิปราย บรรยาย นั้นมีทั้งเนื้อหาที่เกี่ยวข้องและที่ไม่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ แต่เป็นเนื้อหาความรู้ที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาบุคคลภายในและภายนอกคณะ เช่น การอบรมภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเบื้องต้น การวางแผนการเงินและการวางแผนเกษียณ ที่มีการเชิญวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนี้มาให้ความรู้กับบุคคลที่สนใจ หรือจะเป็นการอบรมความรู้พื้นฐานวิศวกรรมโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ซึ่งเป็นการจัดอบรมโดยมีคณาของภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์เป็นวิทยากรในการให้ความรู้กับบุคลากรของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รวมทั้งการจัดงานประชุมในระดับนานาชาติเพื่อเป็นเวทีในการนำเสนอผลงานวิจัยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์วิจัยที่เป็นการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัยระหว่างสถาบันในต่างประเทศ นอกจากนี้สูนย์บริการวิสวกรรมยังได้จัดบรรยายในหัวข้อต่างๆ ที่เป็นประโยชน์กับผู้ที่มาฟังเช่น โครงการบริหารจัดการงาน Cross Function ด้านการเงิน วิจัยและบริการวิชาการซึ่งได้เชิญผู้อำนวยการสำนักบริหารการเงิน การบัญชีและพัสดุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาบรรยายเกี่ยวกับเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560

 


 

3.  การให้คำปรึกษาทางวิชาการและเทคนิควิชาชีพ งานแปล งานค้นคว้า รวบรวมข้อมูล วางแผน วางระบบ ออกแบบ ประดิษฐ์

การให้บริการวิชาการดำเนินการโดย ภาควิชาและหน่วยงานของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้แก่ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ภาควิชาวิศวกรรมโลหการ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ภาควิชาเหมืองแร่และปิโตรเลียม ภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ ภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ และสำนักงานบริหารหลักสูตรวิศวกรรมนานาชาติ (ISE) ดังแสดงตัวอย่างโครงการดังนี้

 

การศึกษา วิจัย ค้นคว้า รวบรวมข้อมูล เช่น

  • โครงการงานศึกษาเทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์รุ่นที่สาม และศึกษาขอบเขตรายละเอียดความเป็นไปได้ของเซลล์แสงอาทิตย์รุ่นที่สามชนิดที่มีศักยภาพสูงสุด เพื่อการวิจัยและพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์
  • โครงการศึกษาแนวทางการปรับปรุงการบริหารโครงการให้มีประสิทธิภาพ
  • โครงการศึกษาการลดการดูดซับสารเคมีในแหล่งกักเก็บในกระบวนการเพิ่มผลผลิตน้ำมันในแหล่งน้ำมันสิริกิติ์
  • โครงการศึกษาความเป็นไปได้และการเก็บข้อมูลการตรวจวัดรังสี

 

วางแผน ออกแบบ วางระบบ ประดิษฐ์ เช่น

  • โครงการรณรงค์การอนุรักษ์พลังงาน (การพัฒนาต้นแบบเพื่อประเมิน Carbon Footprint ของส่วนงานภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)(ส่วนที่ 1 ส่วนอาคาร)
  • โครงการเพื่อจัดทำแผนพัฒนาทางหลวงชนบทประจำกรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 กลุ่มที่ 1
  • โครงการทดสอบระบบดาวเทียมนำร่อง QZSS
  • โครงการปรับปรุงและพัฒนาระบบฐานข้อมูลภัยพิบัติและระบบภูมิสารสนเทศ (GIS) เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย ระยะที่ 2

 

ศูนย์บริการวิศวกรรมได้ให้บริการวิชาการด้านวิศวกรรมศาสตร์แก่หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรเอกชน และองค์กรระหว่างประเทศ รวมถึงโครงการสำคัญระดับประเทศมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตจนถึงปันจุบัน

เอกสารดาวน์โหลด
  • ขั้นตอนการดำเนินโครงการบริการวิชาการ (แบบย่อ)
  • รายละเอียดใบเสร็จ
  • เอกสารที่เกี่ยวข้องการทำโครงการ
    1  ขั้นตอนการยื่นข้อเสนอโครงการ
    2  ขั้นตอนการลงนามในสัญญาจ้างฯ
    3  ขั้นตอนการเสนอโครงการเข้ากรรมการบริหารคณะฯ
    4  ขั้นตอนการขออนุมัติรายชื่อบุคลากรโครงการที่ไม่ได้ระบุชื่อไว้ใน
    ประกาศโครงการ
    5  ขั้นตอนการยืมรองจ่ายโครงการ
    6  ขั้นตอนการส่งรายงานและการเบิกเงินผู้ว่าจ้าง
    7  ขั้นตอนการติดตามเงินผู้ว่าจ้าง
    8  ขั้นตอนการเบิกจ่ายของโครงการ
    9  ขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างของโครงการ
    10 ขั้นตอนการโอนครุภัณฑ์ให้ผู้ว่าจ้าง
    11  ขั้นตอนขอขยายระยะเวลาโครงการ
    12  ขั้นตอนการขออนุมัติใช้เงินสำรองทั่วไป
    13  ขั้นตอนการขอปรับงบประมาณ
    14  ขั้นตอนการปิดโครงการ
    15  ขั้นตอนจัดเตรียมวุฒิบัตรโครงการ

ข้อมูลและข่าวสารต่างๆ

สถาบันทรัพย์สินทางปัญญา แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในวันพุธที่ 17 ตุลาคม 2561 รศ.ดร ดวงหทัย เพ็ญตระกูล ผู้อำนวยการสถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CUIP) เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้กับผู้บริหารของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ในเรื่องความเข้าใจถูกต้องในเรื่องของสัญญาและทรัพย์สินทางปัญญา

 

 

 

 

ติดต่อที่
254 อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (อาคารจามจุรี 10) ชั้น 2
ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
Email: info@cuip.chula.ac.th
โทรศัพท์ :02-218-4195-7 โทรสาร :02-218-4198
http://www.cuip.chula.ac.th


  • ในเดือนมิถุนายน 2561  ศูนย์บริการวิศวกรรมได้จัดการบรรยายเรื่อง “การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ สำหรับโครงการวิจัย และโครงการบริการวิชาการ ตาม พรบ.การจัดซื้อจัดจ้าง พ.ศ.2560 ” โดยเชิญ
    คุณจริยา ลาภวรกิจชัย ผู้อำนวยการสำนักบริหารการเงิน การบัญชีและการพัสดุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาเป็นวิทยากร

 

    

 

เอกสารบรรยาย

“การจัดซื้อจัดจ้างสำหรับโครงการวิจัยและบริการวิชาการ”

“สรุปประเด็นถาม-ตอบ”

 


คำถามที่พบบ่อย

1.เกณฑ์การคิดเงินหมวดค่าสาธารณูปโภคและเงินอุดหนุนพัฒนาวิชาการของโครงการบริการวิชาการเป็นอย่างไร

โครงการที่ปรึกษา โครงการอบรม
หมวดค่าสาธารณูปโภค 0.5% 5%

– คณะวิศวกรรมศาสตร์

0.25% 2.5%
– ภาควิชา 0.25%

2.5%

เงินอุดหนุนเพื่อพัฒนาวิชาการ 10% 10%
– คณะวิศวกรรมศาสตร์ 2.5% 2.4%
– กองทุนเพื่อพัฒนาบุคลากร 2.5% 3.3%
– ภาควิชา 2.5% 3.3%
– ศูนย์บริการวิศวกรรม 2.5% 1%

หมายเหตุ หากโครงการมีค่าปรับต้องตั้งหมวดเงินสำรองทั่วไป 5 % ของงบประมาณทั้งหมด

 

2.  โครงการบริการวิชาการสามารถยืมรองจ่ายได้เท่าไร

ทุกโครงการต้องทำการยืมรองจ่ายตาม หนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจ้ดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ที่ กค (กวจ) 0405.2/ว119 ลงวันที่ 7 มีนาคม 2561 โดยโครงการสามารถยืมรองจ่ายได้ 20% ของหมวดค่าใช้สอยและค่าวัสดุ ถ้าโครงการมีค่าปรับสามารถยืมรองจ่ายได้แต่ต้องไม่เกินค่าตอบแทนหัวหน้าโครงการ

 

3.  เกณฑ์การใช้จ่ายเงินระหว่างโครงการบริการวิชาการและโครงการวิจัยแตกต่างกันอย่างไร

ต่างกันในเรื่องการเบิกจ่าย หมวดค่าใช้สอยและค่าวัสดุ

– โครงการวิจัยสามารถเบิกจ่ายได้ไม่เกิน 500,000 บาท / ใบเสร็จ ตาม ข้อบังคับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยว่าด้วยการบริหารโครงการวิจัย พ.ศ. 2559

– โครงการบริการวิชาการสามารถเบิกจ่ายได้ไม่เกิน 10,000 บาท / ใบเสร็จ ตาม หนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดจ้างและบริหารพัสดุ ภาครัฐครั้งที่ กค (กวจ) 0405.2/ว 119 ลงวันที่ 7 มีนาคม 2561

 

4.  รายการและยอดเงินใบเสร็จที่จะต้องดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง ผ่านหน่วยพัสดุ

รายการค่าใช้จ่ายตาม ตารางที่ 1 ภายใต้พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ที่มียอดเงินเกิน 10,000 บาท ทุกรายการจะต้องทำการจัดซื้อจัดจ้าง ในระบบ ERP (ทุกกรณี) ซึ่งรายการที่จะต้องทำการจัดซื้อจัดจ้างในระบบ ERP นั้น เจ้าหน้าที่โครงการควรนำรายการมาปรึกษากับเจ้าหน้าที่พัสดุคณะ เพื่อตรวจสอบข้อมูลหลักผู้ขายและเอกสารที่ต้องใช้ก่อนที่จะดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างในระบบ ERP

 

5.  ใบเสร็จที่ใช้สำหรับเบิกจ่ายต้องมีรายละเอียดอะไรบ้าง

1.ชื่อ-ที่อยู่ ผู้รับเงิน 5.ราคาต่อหน่วย
2.ชื่อ-ที่อยู่ ของคณะฯ 6.ยอดรวมเงินเป็นตัวเลข (ไม่เกิน 10,000 บาท)
3.วัน/เดือน/ปี (ภายในระยะเวลาโครงการ) 7.ยอดรวมเงินเป็นตัวอักษร
4.รายการและจำนวน (รายการที่เกี่ยวข้องกับโครงการ) 8.ลายมือชื่อผู้รับเงิน

 

6.  การตรวจสอบความถูกต้องของหนังสือสัญญา

หัวหน้าโครงการต้องตรวจสอบความถูกต้องของสัญญาและจะต้องทำบันทึกขอให้คณบดีลงนามในสัญญา มาให้ทางศูนย์บริการวิศวกรรมทุกครั้ง ยกเว้น กรณีที่สัญญามีการระบุบเรื่องผลประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญาจะต้องส่งสัญญาให้ทางสถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ตรวจสอบก่อนเสนอคณบดีลงนามซึ่งอาจใช้ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 สัปดาห์เนื่องจากเจ้าหน้าที่ที่คอยตรวจสัญญานั้นมีน้อยทำให้เอกสารจะต้องรอตรวจตามคิวที่ส่งไป

 

7.  หนังสือมอบอำนาจจะต้องทำทุกโครงการหรือไม่

โครงการบริการวิชาการจะต้องทำหนังสือมอบอำนาจจากอธิการบดีถึงคณบดีทุกครั้ง ควรที่จะดำเนินการก่อนที่จะมีการยื่นข้อเสนอโครงการซึ่งต้องใช้ระยะเวลาดำเนินการไม่น้อยกว่า 2 สัปดาห์

 

8.  คณะวิศวกรรมศาสตร์ มีหนังสือจดทะเบียนที่ปรึกษาจากสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลังหรือไม่

มี          ได้ขึ้นทะเบียนที่ปรึกษา ประเภทนิติบุคคล หมายเลข 139 ระดับ 1

 

9.  โครงการบริการวิชาการที่มีการทำสัญญาจ้างจะต้องตีตราสารหรือติดอากรแสตมป์หรือไม่

ไม่ต้อง    เนื่องจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นส่วนงานในสังกัดมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่มีฐานะเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ โดยไม่ได้ใช้ทุนหรือทุนหมุนเวียนเพื่อประกอบการพาณิชย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จะได้รับยกเว้นอากรแสตมป์สำหรับสัญญาจ้างจากกรมสรรพากร เลขที่ กค 0702/6536 ลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2558

 

10.  สามารถซื้อของจากต่างประเทศได้หรือไม่

โครงการบริการวิชาการสามารถจัดซื้อสินค้าจากต่างประเทศในกรณีที่สินค้านั้นไม่สามารถหาซื้อได้ภายในประเทศ โดยแยกเป็น 2 กรณี

 

กรณีที่ 1 รายการสินค้าที่จัดซื้อในบริษัทหรือร้านค้าเดียวกัน/ใบเสร็จ/เดือน  ไม่เกิน 10,000 บาท

– มีใบ invoice ระบุรายการและยอดสินค้า

– ใบหลักฐานการโอนเงิน (กรณีจ่ายด้วยบัตรเครดิต จะต้องเป็นบัตรเครดิตมหาวิทยาลัยเท่านั้น)

– ใบเสร็จรับเงินออกในนาม “Faculty of Engineering, Chulalongkorn University 254 Phayathai Road, Wang Mai Subdistrict, Pathumwan District, Bangkok, Thailand 10330

– ในใบเสร็จให้เขียนเหตุผลที่ซื้อสินค้าจากต่างประเทศ

– ใบ บก.4231 (เขียนชี้แจงรายการสินค้า เนื่องจากในใบเสร็จรับเงินไม่มีลายเซ็นผู้รับเงิน)

 

กรณีที่ 2 รายการสินค้าที่จัดซื้อในบริษัทหรือร้านค้าเดียวกัน/ใบเสร็จ/เดือน  เกิน 10,000 บาท

หัวหน้าโครงการ/ผู้ประสานงานโครงการควรนำรายการสินค้ามาปรึกษากับเจ้าหน้าที่พัสดุคณะ เพื่อตรวจสอบข้อมูลหลักผู้ขายและเอกสารที่ต้องใช้ก่อนที่จะดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างในระบบ ERP

ติดต่อเรา

 

ไปยัง Google Maps

ศูนย์บริการวิศวกรรม (Center for Engineering Service)

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตึก 3 ชั้น 3 ห้อง 307

โทรศัพท์ 0-2218-6344

E-mail: ces.eng@chula.ac.th

Line Group: Q&A@CES.