บทสัมภาษณ์ รศ. ดร.กุลยศ อุดมวงศ์เสรี อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในเรื่อง “แนวโน้มของทิศทางราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศในอนาคต”
ข้อมูลสัมภาษณ์เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2565




บทสัมภาษณ์ รศ. ดร.กุลยศ อุดมวงศ์เสรี อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในเรื่อง “แนวโน้มของทิศทางราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศในอนาคต”
ข้อมูลสัมภาษณ์เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2565
IN2SD Newsletter Vol.6 : AI Artificial Intelligence
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยลงทุนบริษัท spin-off แห่งแรก นำนวัตกรรมหน้ากากรางวัลระดับโลกประสิทธิภาพการกรอง 99% ออกสู่ตลาด
ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เล่าถึงเรื่องนี้ว่า “จากที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้สนับสนุนให้จัดตั้ง Club Chula Spin-Off ซึ่งประกอบไปด้วยสมาชิก Deep Tech Startup กว่า 50 บริษัท ที่นำผลงานนวัตกรรมจากงานวิจัยของคณาจารย์และนักวิจัยจุฬาฯ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมเมื่อช่วงปลายปี 2564 ซึ่งบริษัทเหล่านี้มีมูลค่าตลาดรวมแล้วกว่า 1.67 หมื่นล้านบาท ในขณะนี้ ตัวอย่างได้แก่ บริษัท ใบยา Phytopharm Haxter Robotics Nabsolute Tann D และ Innofood เป็นต้น
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้ดำเนินการในการจัดตั้งบริษัท University Holding Company ตามนโยบายของทางมหาวิทยาลัยโดยเร็วเพื่อลงทุนในกิจการ start up ด้วยเป้าประสงค์ที่จะนำเทคโนโลยีมาสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงที่พร้อมจะนำออกไปใช้ในโลกจริง การตั้ง CU Engineering Enterprise เป็น Holding Company จึงเกิดขึ้นเพื่อเข้าลงทุนงบประมาณสนับสนุนงานวิจัยต่อเนื่องจนถึงการผลิตและการจัดการ
Startup แรกที่ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เข้าลงทุนผ่านโครงสร้างนี้คือ บริษัท CURE Enterprise ซึ่งมีผลงานผลิตภัณฑ์ที่เริ่มผลิตจริงแล้วสำหรับการกรองอากาศหายใจ เป็นหน้ากาก respirator ประสิทธิภาพสูงสุด จากการร่วมมือของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาฯ (MMRI) และ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยร่วมส่งเสริมความเข้มแข็งด้วยการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา สร้างนวัตกรรมจากกองทุนศตวรรษที่สองของจุฬาฯ ซึ่งในแล็บนี้ประกอบไปด้วยคณาจารย์นักวิจัยกว่าสิบท่านจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และ MMRI เป็นหลักเพื่อทดสอบ วิจัย และพัฒนานวัตกรรมเพื่อสาธารณสุขสำหรับคนไทยอย่างต่อเนื่องต่อไปในอนาคต”
ทางด้าน นายพรเลิศ ลัธธนันท์ CEO และประธานคณะกรรมการบริหารบริษัท CU Engineering Enterprise ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้
“คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ มีคณาจารย์ที่มีความสามารถอยู่เป็นจำนวนมากที่งานวิจัยมีความพร้อมจะก้าวไปสู่ขั้นการผลิตและนำออกสู่มือประชาชนและลูกค้าระดับองค์กรแต่ยังขาดเพียงการบริหารและการลงทุน ซึ่ง CU Engineering Enterprise หรือนามย่อ CUEE จะเข้ามาสนับสนุน startup เหล่านี้ให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคงยั่งยืนเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะชน ซึ่งในอนาคตอาจทำให้เกิด valuation หรือแม้แต่การออก IPO ก็เป็นไปได้
CUEE จะเน้นในการทำงาน Research to Reality อย่างรวดเร็ว บริหารงานเป็นขั้นเป็นตอน ให้นวัตกรรมต่าง ๆ ที่ออกสู่ตลาดมีคุณภาพสูงสุดและสามารถแข่งขันได้ทางด้านธุรกิจทั้งในประเทศไทยและในตลาดโลก โดยเฉพาะในด้านที่ทางนักวิจัยของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ มีความพร้อม เช่น ด้านผลิตภัณฑ์สำหรับสุขภาพและสาธารณสุข, AI Platform ด้านการเรียนการสอน, Nano technology เป็นต้น
ศาสตราจารย์ ดร.อนงค์นาฏ สมหวังธนโรจน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังได้กล่าวถึงผลิตภัณฑ์แรกของ spin-off จาก CUEE Holding Company ดังนี้
“ทาง CURE Enterprise บริษัท spin-off แรกของเราได้สร้างนวัตกรรมหน้ากาก CUre AIR SURE ซึ่งเป็นผลงานจากการร่วมมือกันทำงานเป็นระยะเวลานับปีโดยสามสถาบันภายในของจุฬาฯ และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานเอกชนเช่น SCG Packaging เครือบริษัท TCP เครือสหพัฒน์และภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ ตั้งแต่การออกแบบ ผลิตชิ้นส่วน และประกอบผลิตภัณฑ์ได้สำเร็จในประเทศไทย จนได้รับรางวัล G Mark ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่รางวัลระดับโลกด้านการออกแบบนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ทางสุขภาพจากประเทศญี่ปุ่น
โดยหน้ากาก CUre AIR SURE มีประสิทธิภาพการกรองอนุภาคขนาด 0.1 micron สูงถึง 99% กระชับใบหน้า อากาศไม่รั่วไหล หายใจสะดวก ดูแลรักษาง่าย ใช้งานซ้ำได้นานนับปี เหมาะที่จะใช้งานได้ในทุกพื้นที่ โดยมีต้นทุนการใช้งานประมาณวันละห้าบาท นอกจากนี้แล้วผลประกอบการของบริษัท CURE Enterprise กว่า 60% จะถูกนำกลับสู่จุฬาฯ เพื่อส่งเสริมงานวิจัยอื่นของทางมหาวิทยาลัยต่อไป”
กรุงเทพฯ − วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ 2565 AerCap Holdings N.V. (“AerCap” หรือ “บริษัท”) (NYSE: AER) ประกาศวันนี้ว่า บริษัทจะมอบทุนการศึกษาจำนวน 10 ทุน ให้กับนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรวิศวกรรมนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแนวหน้าของประเทศไทย และเป็นผู้นำในด้านการศึกษาสาขาวิศวกรรมอากาศยาน โดยจะเป็นทุนการศึกษาเต็มจำนวนรวม 10 ทุนให้แก่นิสิตระดับปริญญาตรีในหลักสูตรวิศวกรรมอากาศยาน ตลอดระยะเวลา 4 ปี และนอกเหนือจากทุนการศึกษาแล้ว AerCap ยังจะให้การสนับสนุนด้านอาจารย์พิเศษ การจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ และการรับนิสิตเข้าฝึกงานในภาถฤดูร้อน โดยนิสิตชั้นปีสุดท้ายจะมีโอกาสได้ทำโครงการวิจัยร่วมกับ AerCap ด้วย ซึ่งโครงการวิจัยดังกล่าวจะมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของ AerCap ที่มีเป้าหมายในการปรับตัวให้ตอบรับกับเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ (Low carbon economy) โดยการจัดซื้อเครื่องบินที่มีเทคโนโลยีแบบใหม่ที่ใช้เชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลด carbon footprint เพื่อผลักดันการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับสายการบินผู้ใช้บริการและอุตสาหกรรมการบินในวงกว้าง
ทั้งนี้ AerCap ได้ดำเนินธุรกิจให้เช่าเครื่องบินกับกลุ่มลูกค้าในประเทศไทยมาเป็นเวลากว่า 40 ปี โดยในช่วงเวลาดังกล่าว AerCap ได้สานความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับอุตสาหกรรมการบินไทยผ่านการเป็นพันธมิตรกับการบินไทย บางกอกแอร์เวย์ส ไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์ และนกแอร์
Aengus Kelly ซีอีโอของ AerCap กล่าวว่า “เรามีความภาคภูมิใจอย่างยิ่งในการเป็นพันธมิตรกับสถาบันการศึกษาอันทรงเกียรติอย่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยในขณะที่เรามองเห็นและตระหนักถึงอุปสรรคและความยากลำบากทางการเงินที่หลายๆ คนทั่วโลกกำลังเผชิญอันเนื่องมาจากการแพร่ของโรคระบาดไปทั่วโลกอยู่ในขณะนี้ เราก็เล็งเห็นถึงความสำคัญในการเดินหน้าให้ความรู้อย่างต่อเนื่องแก่บรรดาผู้บุกเบิกด้านการบินและอวกาศรุ่นใหม่ผ่านโปรแกรมการศึกษาอย่างสาขาวิศวกรรมอากาศยานนี้ AerCap จะใช้โครงการริเริ่มนี้ในการสนับสนุนเป้าหมายของรัฐบาลไทย เพื่อผลักดันประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางด้านการบินของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราตั้งตารอที่จะร่วมมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในอีกหลายปีที่จะมาถึงนี้”
ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “ความร่วมมือในการให้ทุนการศึกษาแก่นิสิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับ AerCap นี้ จะช่วยส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางทางการบินในภูมิภาคนี้ของประเทศไทยในอนาคต เราเชื่อว่าความร่วมมือที่แน่นแฟ้นระหว่างภาคอุตสาหกรรมและภาคการศึกษา เป็นหัวใจสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านวิศวกรรมและการพัฒนาของอุตสาหกรรม สิ่งนี้สอดคล้องกับพันธกิจของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมและการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อให้นิสิตได้รับการพัฒนาประสบการณ์และองค์ความรู้อย่างสูงสุด และความเอื้อเฟื้อของ AerCap ในครั้งนี้จะช่วยให้หลักสูตรผลิตบุคคลากรที่มีคุณภาพให้กับอุตสาหกรรมการบินที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน”
พร้อมกันนี้คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้ส่งมอบสารแสดงความยินดีจากนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้กับบริษัท AerCap ซึ่งระบุว่า “เนื่องในโอกาสที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท AerCap ได้ลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือระหว่างกันในระดับทวิภาคีในการพัฒนาด้านวิชาการและการศึกษาวิจัยด้านวิศวกรรมอากาศยาน โดยทางบริษัท AerCap ได้มอบทุนการศึกษาให้แก่นิสิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผมในนามกระทรวงคมนาคมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณบริษัท AerCap ที่มอบโอกาสและให้ความสำคัญในการพัฒนาบุคลากร สุดท้ายนี้ ผมเชื่อมั่นว่าทั้งสองหน่วยงานจะร่วมกันพัฒนาต่อยอดความร่วมมือด้านวิศวกรรมอากาศยาน และผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพ ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมการบิน นำประโยชน์และความเจริญมาสู่ประเทศสืบไป”
เกี่ยวกับ AerCap
AerCap เป็นผู้นำระดับโลกในการให้เช่าเครื่องบินที่มีจำนวนการให้บริการสูงสุดในบรรดาอุตสาหกรรมการบิน โดยให้บริการอย่างครอบคลุมแก่ลูกค้าประมาณ 300 รายทั่วโลก AerCap เป็นบริษัทที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์ก (AER) โดยมีสำนักงานใหญ่ในกรุงดับลิน และมีสำนักงานสาขาในเมืองแชนนอนของไอร์แลนด์ ไมอามี สิงคโปร์ อัมสเตอร์ดัม เซี่ยงไฮ้ อาบูดาบี ซีแอตเทิล ตูลูส และสาขาอื่นๆ ทั่วโลก
เกี่ยวกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โรงเรียนวิศวกรรมแห่งแรกและอันดับหนึ่งของประเทศไทย และอันดับต้นๆ ของเอเชีย มุ่งสร้างวิศวกรที่มีความรู้และทักษะตามมาตรฐานในระดับนานาชาติ เปิดสอนระดับปริญญาบัณฑิตและระดับบัณฑิตศึกษา ในสาขาวิชาซึ่งสังกัดภาควิชาต่าง ๆ อาทิ ภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมโลหการ วิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม ฯลฯ รวมทั้งเปิดสอนหลักสูตรนานาชาติหลายหลักสูตร เช่น Nano Engineering และ Aerospace Engineering ในระดับปริญญาตรีด้วย
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดเข้าไปที่ www.aercap.com และติดตามได้ที่ www.twitter.com/aercapnv.
ข้อมูลติดต่อ:
Gillian Culhane, Vice President Corporate Communications, gculhane@aercap.com; +353 1 636 0945
น.ส.ฐิตินันท์ นิติภูมิเวชสกุล, เจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์และกิจการนิสิต สำนักบริหารหลักสูตรวิศวกรรมนานาชาติ, Thitinan.n@chula.ac.th; +66 2 218 6422 ext. 114
เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2565 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ กับ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการเพื่อการวิจัยและพัฒนาการกำกับดูแลความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสี ระหว่าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ และ นางสุชิน อุดมสมพร รองเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์แพทย์ เพ่งวาณิชย์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ และผู้บริหารทั้งสองหน่วยงานร่วมเป็นสักขีพยาน
บันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการเพื่อการวิจัยและพัฒนาการกำกับดูแลความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสีนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มคุณภาพงานวิจัย พัฒนาการกำกับดูแลความปลอดภัยจากการดำเนินกิจกรรมด้านนิวเคลียร์และรังสี และมุ่งหวังขับเคลื่อนงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ต่อไป
ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์เปิดเผยว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีและศาสตร์ทางด้านนิวเคลียร์และรังสีต่อการพัฒนาที่ยั่งยื่นของประเทศ ทั้งในเชิงอุตสาหกรรม สุขภาพ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และศักยภาพในการเป็นแหล่งพลังงานทางเลือกแห่งอนาคต ภายใต้การใช้งานที่เน้นความปลอดภัยเป็นหลัก จึงได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์ความรู้และบุคลากรทางด้านนี้ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511 เป็นต้นมา
ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ได้มีกิจกรรมความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัยระหว่างองค์กรมาเป็นระยะเวลายาวนาน โดยเฉพาะระหว่างบุคลากรจากภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และหน่วยงานต่าง ๆ ของสำนักงานฯ ได้มีการพัฒนาหลักสูตรการศึกษา การฝึกอบรม และงานวิจัยร่วมกันมาอย่างต่อเนื่อง บันทึกความเข้าใจฉบับนี้ จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับการทำงานร่วมกันในระดับบุคลากรและนักวิจัยมากยิ่งขึ้น สร้างความชัดเจนให้กับเป้าหมายของความร่วมมือที่สอดคล้องกับเจตนารมย์ของทั้งสององค์กร และขยายความร่วมมือด้านการวิจัยทางด้านนี้ไปยังห้องปฏิบัติการ และภาคส่วนอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยให้เกิดความหลากหลายมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ อันจะเกิดขึ้นจากบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ ทั้งในส่วนของบุคลากร สถานที่ อุปกรณ์ และงบประมาณ เพื่อความยั่งยืนด้านการพัฒนาการกำกับดูแลความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสีต่อไป
นางสุชิน อุดมสมพร เปิดเผยว่า ความร่วมมือในวันนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการพัฒนางานด้านกำกับดูแลความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสีให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด อาทิ การพัฒนาเทคนิคการตรวจวัดและการวิเคราะห์กัมมันตภาพรังสีในสิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์กัมมันตภาพรังสีเพื่อความปลอดภัยในสินค้าอุปโภคบริโภค การตรวจวิเคราะห์ก๊าซกัมมันตรังสีเรดอน-222 การพัฒนาทักษะบุคลากรและระบบเครือข่ายห้องปฏิบัติการให้เป็นตามมาตรฐานสากล เพื่อให้การวิเคราะห์มีความความแม่นยำสูงสุด รวมถึงการสนับสนุนความร่วมมือในการทดสอบความรู้และอบรมเกี่ยวกับการต่อใบอนุญาตเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีกับ ดร.ลัญจกร อมรกิจบำรุง นักวิจัยในกลุ่มงานของ ศ. ดร.ศราวุธ ริมดุสิต ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และคณะ ในโอกาสที่ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ประเภทรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับดี สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา ประจำปีงบประมาณ 2565 จากผลงานเรื่อง “ผลิตภัณฑ์ทรายแมวจากมันสําปะหลังไทย” โดยได้เข้ารับรางวัลจาก ศ. ดร. นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ในงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2564 – 2565 เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา
บทความทางวิชาการ : เปิดมุมมองวิศวกรรมเพื่อการจัดการน้ำมันรั่วในทะเล
โดย ดร.ทักษิณา โพธิ์ใหญ่
ภาวินี พงศ์พันธ์พฤทธิ์
รัชนัน ชำนาญหมอ
ดร.ณัฐวิญญ์ ชวเลิศพรศิยา
ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล
หน่วยปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีการจัดการน้ำมันรั่วและการปนเปื้อนของน้ำมัน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีกับ รศ. ดร.ภัทรพร คิม รองหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเคมี (วิจัย) และรองผู้อำนวยการศูนย์ BCGeTEC ฝ่ายบริหารงานวิจัย ในโอกาสที่ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ประเภท รางวัลผลงานวิจัย ระดับดีมาก ประจำปีงบประมาณ 2565 ในสาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย จากผลงานวิจัยหัวข้อเรื่อง “การพัฒนาเซลล์อิเล็กโตรไลซิสแบบออกไซด์ของแข็งชนิดตัวนำ ออกซิเจนไอออนและใช้โฟมของโลหะเป็นตัวรองรับเพื่อใช้ในการผลิต กรีนไฮโดรเจน จากไอน้ำ (Development on Metal-foam-Supported Oxygen-ion Conducting Solid Oxide Electrolysis Cell for Green Hydrogen Production from Steam)” โดยได้เข้ารับรางวัลจากนายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2564 – 2565 เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา
ทั้งนี้ รางวัลการวิจัยในปีนี้ประกอบด้วย ผลงานวิจัยระดับดีเด่น จำนวน 1 รางวัล ระดับดีมากจำนวน 10 รางวัล และ ระดับดี จำนวน 38 รางวัล ในโอกาสนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รางวัลจำนวน 11 ผลงาน จากทั้งหมด 49 ผลงานใน 11 สาขาวิชาการ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีกับ รศ. ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ ประธานหลักสูตรสหสาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวช และคณะ ในโอกาสที่ได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปีงบประมาณ 2565 : รางวัลประกาศเกียรติคุณ สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย ผลงานเรื่อง “รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ” (Express Analysis Mobile Unit) จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยได้เข้ารับรางวัลจาก ศ. ดร. นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ในงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2564 – 2565 เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา
ผลงานเรื่อง “รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ” (Express Analysis Mobile Unit) โดย
งานเสวนาออนไลน์ “เปิดมุมมองวิศวกรรมเพื่อการจัดการน้ำมันรั่วในทะเล”
จากเหตุการณ์น้ำมันรั่วบริเวณใกล้นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งก่อให้เกิดความตื่นตัวของสังคมในด้านการจัดการน้ำมันที่รั่วไหลลงสู่ทะเลและถูกพัดพาเข้ามาสู่พื้นที่ชายฝั่ง ตลอดจนผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น เหตุการณ์น้ำมันรั่วในครั้งนี้ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงและเปรียบเทียบกับเหตุการณ์น้ำมันรั่วครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่งที่เกิดขึ้นในปี 2556 บริเวณอ่าวพร้าว จังหวัดระยองเช่นเดียวกัน ทั้งในมุมมองผลกระทบและการจัดการเพื่อกำจัดน้ำมันและทำความสะอาดบริเวณที่ปนเปื้อน ซึ่งต้องอาศัยองค์ความรู้ในหลากหลายด้านและเทคโนโลยีที่มีความเหมาะสมในการจัดการให้เกิดประสิทธิภาพ รวมถึงลดผลกระทบทางลบที่อาจจะเกิดขึ้น
ด้วยเหตุนี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้จัดกิจกรรมเสวนาในหัวข้อ “เปิดมุมมองวิศวกรรมเพื่อการจัดการน้ำมันรั่วในทะเล” เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองและองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมในการจัดการเหตุการณ์น้ำมันรั่วที่เกิดขึ้นในทะเล โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ ในการเปิดกิจกรรมเสวนา มีวิทยากรในการเสวนาทั้งสิ้น 4 ท่าน ได้แก่ ดร.ณัฐวิญญ์ ชวเลิศพรศิยา ผู้อำนวยการโครงการ Industrial Liaison Program (ILP) คณะวิศวกรรมศาสตร์ และนักวิจัยในหน่วยปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีการจัดการน้ำมันรั่วและการปนเปื้อนของน้ำมัน จุฬาฯ ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองคณบดี และอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ และหัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีการจัดการน้ำมันรั่วและการปนเปื้อนของน้ำมัน จุฬาฯ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนุรักษ์ ศรีอริยวัฒน์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และนักวิจัยในหน่วยปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีการจัดการน้ำมันรั่วและการปนเปื้อนของน้ำมัน จุฬาฯ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐ์ ลีละวัฒน์ ผู้ช่วยคณบดี และอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ที่นำเสนอมุมมองและข้อมูลต่าง ๆ ในทางวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์น้ำมันรั่ว และการจัดการน้ำมันที่รั่วไหลในทะเล
ดร.ณัฐวิญญ์ ชวเลิศพรศิยา ผู้อำนวยการโครงการ Industrial Liaison Program (ILP) คณะวิศวกรรมศาสตร์ และนักวิจัยในหน่วยปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีการจัดการน้ำมันรั่วและการปนเปื้อนของน้ำมัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวถึง เหตุการณ์น้ำมันรั่วที่เคยเกิดขึ้นในอดีตทั้งในระดับโลกและในประเทศไทย โดยชี้ให้เห็นว่าน้ำมันรั่วเป็นอุบัติภัยที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ตลอดจนในหลายพื้นที่ทั้งในทะเลหรือบนบก ซึ่งจะเห็นได้จากข้อมูลว่าน้ำมันรั่วขนาดใหญ่หลายครั้งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบนบก ส่วนเหตุการณ์น้ำมันรั่วในประเทศไทยนั้นมีบันทึกว่ามีการเกิดขึ้นกว่า 182 ครั้ง ตั้งแต่ปี 2540 จากข้อมูลของกรมเจ้าท่า โดยมีเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้สังคมเกิดการตื่นตัวถึงผลกระทบจากน้ำมันรั่ว คือ เหตุการณ์น้ำมันรั่วที่่อ่าวพร้าวเมื่อปี 2556 และท้ายที่สุดได้อธิบายถึงแนวทางการจัดการน้ำมันรั่วในภาพรวมที่เริ่มจากการควบคุมการเคลื่อนที่ การนำกลับน้ำมัน การใช้สารเคมีเพื่อกระจายน้ำมัน และบางกรณีที่ใช้การเผาเพื่อลดปริมาณน้ำมันที่ปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อม และสุดท้ายคือแนวทางการจัดการน้ำมันรั่วเมื่อปนเปื้อนบนพื้นที่ชายฝั่ง ตลอดจนหยิบยกกรณีศึกษาที่มีการดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวทั้งในและต่างประเทศมาเป็นตัวอย่าง
ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองคณบดี และอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ และหัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีการจัดการน้ำมันรั่วและการปนเปื้อนของน้ำมัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับการจัดการน้ำมันรั่วอย่างยั่งยืน 9 ด้าน ได้แก่ (1) โมเดลคาดการณ์การเคลื่อนที่ของน้ำมันที่รั่วไหล (Oil spill modelling) (2) ทุ่นกักน้ำมันและสกิมเมอร์ (Boom & skimmer) (3) สารขจัดคราบน้ำมันทางชีวภาพ (Bio dispersant) (4) หุ่นยนต์เก็บน้ำมันหรือทรายปนเปื้อนน้ำมัน (Oil/sand collecting robot) (5) กระบวนการล้างทรายปนเปื้อนน้ำมัน (Sand washing unit) (6) การจัดการสารล้างหลังการใช้งาน (Solvent recovery) (7) การบำบัดน้ำเสียปนเปื้อนน้ำมัน (Oily waste treatment) (8) การพัฒนาจมูกอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการตรวจวัดสารอินทรีย์ระเหยง่ายและการติดตามพื้นที่ปนเปื้อน (E-nose for VOC detection & site monitoring) และ (9) การสร้างความร่วมมือและการจัดการองค์ความรู้ (Engagement & Knowledge Management) รวมถึงอธิบายแนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างยั่งยืนในการดำเนินการเพื่อรับมือสถานการณ์น้ำมันรั่วที่เกิดขึ้นทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว รวมถึงการบำบัดและฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนุรักษ์ ศรีอริยวัฒน์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และนักวิจัยในหน่วยปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีการจัดการน้ำมันรั่วและการปนเปื้อนของน้ำมัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึง การจำลองการเคลื่อนตัวของน้ำมันที่รั่วไหลจากบริเวณจุดขนถ่ายน้ำมันในทะเลเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2565 โดยใช้แบบจำลอง Delft3D model ซึ่งได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เหตุการณ์น้ำมันรั่วที่อ่าวพร้าว เพื่อคาดการณ์กระแสน้ำเนื่องจากน้ำขึ้นน้ำลง และนำกระแสน้ำที่ได้ไปใช้คาดการณ์การเคลื่อนตัวของน้ำมันที่รั่วไหลในทะเลด้วยแบบจำลอง GNOME ร่วมกับข้อมูลลมที่ได้จากเว็บไซต์ Windy.com รวมถึงข้อมูลที่ได้รับจากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) โดยแบบจำลองดังกล่าวสามารถระบุพื้นที่ชายฝั่งที่มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนและเส้นทางการเคลื่อนที่ของน้ำมันที่รั่วไหล ทำให้สามารถประเมินสถานการณ์และเห็นถึงความเร่งด่วนที่จะต้องรีบจัดการกับปัญหา รวมถึงการประเมินผลกระทบและการวางแผนฟื้นฟูในระยะยาวสำหรับบริเวณที่มวลน้ำมันมีการเคลื่อนที่ผ่าน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐ์ ลีละวัฒน์ ผู้ช่วยคณบดี และอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึง การวิเคราะห์ความสนใจต่อเหตุการณ์น้ำมันรั่วในทะเลบนสื่อสังคมออนไลน์ผ่านทางแพลตฟอร์มทวิตเตอร์ (Twitter) ซึ่งทีมนักวิจัยจากหน่วยปฏิบัติการวิจัยระบบสารสนเทศการจัดการภัยพิบัติและความเสี่ยง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ช่วยกันเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบก่อนและหลังวันที่ 26 มกราคม 2565 ที่มีการรายงานข่าวเหตุการณ์น้ำมันรั่ว พบว่า #น้ำมันรั่วมาบตาพุด ถูกทวีตและรีทวีตอย่างต่อเนื่องในช่วง 10 ชั่วโมงแรกหลังการรายงานข่าว และเมื่อพิจารณาร่วมกับ #น้ำมันรั่ว มีแนวโน้มได้รับความสนใจจากสื่อสังคมออนไลน์สูงมากในช่วง 10 ชั่วโมงแรกหลังเหตุการณ์และยังคงมียอดทวีตสูงอย่างต่อเนื่องจนถึงชั่วโมงที่ 16 นอกจากนี้ เมื่อลองสร้างเวิร์ดคลาวด์ (Word cloud) ที่ถูกรีทวีตและทวีตรวมทั้งหมดจะเห็นถึงคำที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์น้ำมันรั่วในช่วงวันที่ 21–28 มกราคม 2565 ทั้งการแจ้งเตือนเหตุการณ์และข้อกังวลถึงผลกระทบที่เป็นผลมาจากเหตุการณ์น้ำมันรั่วที่เกิดขึ้น การวิเคราะห์ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในสื่อสังคมออนไลน์นี้ทำให้เห็นถึงความสนใจและการรับรู้ของผู้คนในสังคมบนสื่อสังคมออนไลน์ที่มีความรวดเร็วในการสื่อสาร ซึ่งเป็นข้อมูลที่สามารถใช้ในการวางแผนการสื่อสารในภาวะวิกฤตหรือสถานการณ์ฉุกเฉินที่ควรคำนึงถึงในอนาคต
ทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาจากกิจกรรมเสวนา “เปิดมุมมองวิศวกรรมเพื่อการจัดการน้ำมันรั่วในทะเล” ที่แลกเปลี่ยนมุมมองและองค์ความรู้ในด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์น้ำมันรั่วที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือเหตุการณ์คล้ายคลึงกันที่อาจเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต และทุกท่านสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมในการจัดการน้ำมันรั่วได้ในบทความวิชาการที่จะเผยแพร่ผ่านทาง Facebook page : Chula Engineering และเว็บไซต์คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย www.eng.chula.ac.th ได้ต่อไป
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ยอมรับทั้งหมดประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้