ฝ่ายกิจการนิสิตและนิสิตคณะวิศวฯ ลงพื้นที่เพื่อสำรวจข้อมูลเพื่อทำกิจกรรมค่ายอาสา ณ ตำบลบ้านก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

เมื่อวันที่ 20-21 พฤศจิกายน 2564 รศ. ดร.สรรเพชญ ชื้อนิธิไพศาล รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต เจ้าหน้าที่กิจการนิสิตและนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้ลงพื้นที่เพื่อสำรวจข้อมูลเพื่อทำกิจกรรมค่ายอาสา ณ ตำบลบ้านก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน โดยได้ลงพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่น และชาวบ้านในพื้นที่ ซึ่งการดำเนินการค่ายนั้นเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดจะพิจารณาถึงความจำเป็นของพื้นที่และความร่วมมือของชาวบ้าน

สืบเนื่องจากปี 2563 ที่ผ่านมา กลุ่มนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้มีโอกาสลงพื้นที่พบปะพูดคุยกับชาวบ้านเพื่อทราบถึงปัญหาและความเดือดร้อนที่แท้จริงของชุมชน โดยกิจกรรมเริ่มจากการลงสำรวจในพื้นที่ และร่วมทำประชาคมกับชาวบ้านตำบลบ้านก้อ ตั้งแต่ในช่วงเดือนตุลาคม 2563 และพบว่าชาวบ้านประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำใช้ในภาคการเกษตร จึงเล็งเห็นร่วมกันว่าควรมีการสร้างฝายชะลอน้ำในพื้นที่ขึ้น เพราะการสร้างฝายจะทำให้สามารถเพิ่มแหล่งกักเก็บน้ำ ชะลอและลดความรุนแรงของน้ำป่า ช่วยให้ป่ามีความชุ่มชื้นส่งผลดีต่อระบบนิเวศ จึงได้ใช้พื้นที่บ้านก้อจอก หมู่ 3 เป็นพื้นที่นำร่อง ได้ร่วมกันทำฝายในพื้นที่ชุมชน จำนวน 7 ฝาย ประกอบด้วยฝายชะลอน้ำความกว้าง 9 เมตร 1 ฝาย ฝายดักตะกอนความกว้าง 3 เมตร 6 ฝาย นอกจากนี้ยังมีการสร้างฝายชะลอน้ำในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่ปิงขนาดความกว้าง 1-2 เมตร อีกจำนวน 12 ฝาย

กฐินสามัคคีและทอดผ้าป่าสามัคคี คณะวิศวกรรมศาสตร์และสมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาฯ ประจำปี 2564

เมื่อวันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2564 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย ศ. ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี พร้อมด้วยนิสิตเก่า ผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากร ได้เดินทางไปทำบุญทอดกฐินสามัคคีคณะวิศวกรรมศาสตร์และสมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี 2564 ณ วัดกาญจนบุรีเก่า ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี และในวันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน 2564 ได้เดินทางไปทำบุญทอดผ้าป่าสามัคคี ณ วัดสหธรรมทัศน์ ตำบลระแหง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี โดยมีผู้ร่วมทำบุญถวายปัจจัย ยอดรวมทั้งสิ้น 1,506,592.94 บาท

ทำบุญทอดกฐินสามัคคี ณ วัดกาญจนบุรีเก่า ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

ทำบุญทอดผ้าป่าสามัคคี ณ วัดสหธรรมทัศน์ ตำบลระแหง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี

10 ปีเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิภูมิภาคโทโฮคุ ประเทศญี่ปุ่น : บทเรียนที่ประเทศไทยสามารถเรียนรู้ได้จากประเทศญี่ปุ่น

10 ปีเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิภูมิภาคโทโฮคุ ประเทศญี่ปุ่น : บทเรียนที่ประเทศไทยสามารถเรียนรู้ได้จากประเทศญี่ปุ่น


โดย ผศ. ดร.ณัฏฐ์ ลีละวัฒน์, อำพัน เหล่าสุนทร, อ. ดร. Jing Tang, รศ. ดร.อนวัช สรรพศรี, ศ. ดร.อาณัติ เรืองรัศมี, ผศ.ประเสริฐ อัครประถมพงศ์, ศ. ดร. Fumihiko Imamura, ปิยพร โสเจ

นิสิตผู้แทนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จากกิจกรรมการแข่งขันนำเสนอผลงานในโครงการ The Comprehensive Course in Japanese Business Innovation Program 2021 จัดโดยหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพ

เมื่อวันพุธที่ 4 พฤศจิกายน 2564 นิสิตผู้แทนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 นางสงวน ภู่ระหงษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร และผู้แทนคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้เดินทางไปร่วมแสดงความยินดีพร้อมรับมอบรางวัล จาก Mr. Takeo Kato รองประธานหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพ และประธานส่วนการศึกษา คณะกรรมการส่วนการช่วยเหลือสังคม จากกิจกรรมการแข่งขันนำเสนอผลงานในโครงการ The Comprehensive Course in Japanese Business Innovation Program 2021 จัดโดยหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพ เมื่อวันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม 2564 ณ ห้องประชุมใหญ่ หอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ และผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting ภายใต้หัวข้อ “Innovation for New Normal (นวัตกรรมเพื่อการดำเนินชีวิตในวิถีใหม่)”

ชื่อทีม : SALMON (รองชนะเลิศอันดับ 2)
ผลงาน : Alarmii แนวคิดในการพัฒนาผลงานที่ช่วยจัดตารางเวลาและกระตุ้นให้เด็กเกิดแรงจูงใจในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งด้านวิชาการและด้านอื่น ๆ ได้ด้วยตัวเอง โดยที่ผู้ปกครองไม่ต้องคอยเป็นกังวลกับเด็ก มาในรูปแบบของ Gadget ที่สามารถพกพาได้สะดวกสบาย

  1. นายพิชญะ ทองกู้เกียรติ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์
  2. นางสาวพิมพ์ลภัส อุษาโชคเจริญ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์
  3. นางสาวพิมพ์ลักษณ์ชญา วาทีรักษ์ สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์
  4. นายธัชธน จุลพลัง สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ (นานาชาติ) คณะเศรษฐศาสตร์
  5. นายอัครพนธ์ ศรีวรกุล สาขาวิชาบริบาลทางเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์

ขอแสดงความยินดีแด่คณาจารย์วิศวฯ เนื่องในโอกาสได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ขอแสดงความยินดีแด่ รองศาสตราจารย์ ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ เนื่องในโอกาสได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ตำแหน่ง “รองศาสตราจารย์” ในสาขาวิศวกรรมชีวเวช

และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิสิทธิ์ น้ำประสานไทย
เนื่องในโอกาสได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ตำแหน่ง “ผู้ช่วยศาสตราจารย์” ในสาขาวิศวกรรมทรัพยากรธรณีและเหมืองแร่

นิสิตรับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จากกิจกรรมการแข่งขันนำเสนอผลงานในโครงการ The Comprehensive Course in Japanese Business Innovation Program 2021

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีกับนิสิตที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จากกิจกรรมการแข่งขันนำเสนอผลงานในโครงการ The Comprehensive Course in Japanese Business Innovation Program 2021 จัดโดยหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพ เมื่อวันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม 2564 ณ ห้องประชุมใหญ่ หอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ และผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting ภายใต้หัวข้อ “Innovation for New Normal (นวัตกรรมเพื่อการดำเนินชีวิตในวิถีใหม่)” โดยภายในงานประกอบด้วยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตัดสินการประกวดแข่งขัน ได้แก่ นายสมทรง งามวงษ์ ผู้อำนวยการสำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นายทาเคโอะ คะโต้ รองประธานหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ คุณเทตซียะ โฮริอิ ประธานคณะกรรมการฝ่ายการพัฒนาบุคลากร หอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ คุณโนบูยูกิ อิชิอิ กรรมการผู้จัดการ หอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ และ ดร.สุพจน์ ชินวีระพันธุ์ ผู้อำนวยการสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)

กิจกรรมในครั้งนี้มีผู้แทนนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าร่วมการแข่งขันจำนวน 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม SALMON นำเสนอผลงานชื่อ “Alarmii” เป็นแนวคิดในการพัฒนาผลงานที่ช่วยจัดตารางเวลาและกระตุ้นให้เด็กเกิดแรงจูงใจในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งด้านวิชาการและด้านอื่น ๆ ได้ด้วยตัวเอง โดยที่ผู้ปกครองไม่ต้องคอยเป็นกังวลกับเด็ก มาในรูปแบบของ Gadget ที่สามารถพกพาได้สะดวกสบาย และกลุ่ม SHIB นำเสนอผลงานชื่อ “EMOTION MONITORING TOOL” เป็นแนวคิดในการพัฒนาอุปกรณ์วิเคราะห์หน้าคนโดยใช้โปรแกรม AI วิเคราะห์ใบหน้าเพื่อรับรู้การแสดงออกทางอารมณ์ ซึ่งจะช่วยพัฒนาสุขภาวะทางจิตใจของแต่ละบุคคล และป้องกันการเกิดโรคสุขภาวะทางจิตใจในอนาคต

ชื่อทีม : SALMON (ได้รองชนะเลิศอันดับ 2)
ผลงาน : Alarmii

  1. นายพิชญะ ทองกู้เกียรติ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา ชั้นปีที่ 2 คณะวิศวกรรมศาสตร์
  2. นางสาวพิมพ์ลภัส อุษาโชคเจริญ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา ชั้นปีที่ 2 คณะวิศวกรรมศาสตร์
  3. นางสาวพิมพ์ลักษณ์ชญา วาทีรักษ์ สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ชั้นปีที่ 2 คณะวิศวกรรมศาสตร์
  4. นายธัชธน จุลพลัง สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ (นานาชาติ) ชั้นปีที่ 2 คณะเศรษฐศาสตร์
  5. นายอัครพนธ์ ศรีวรกุล สาขาวิชาบริบาลทางเภสัชกรรม ชั้นปีที่ 5 คณะเภสัชศาสตร์

ชื่อทีม : SHIB
ผลงาน : EMOTION MONITONGTOOL

  1. นางสาวพลอยภัค วาตานาเบ้ สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรม ชั้นปีที่ 2 คณะอักษรศาสตร์
  2. นายณธัชพงศ์ บุรงค์ สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี ชั้นปีที่ 2 คณะวิศวกรรมศาสตร์
  3. นายภาธร กิติศุภวัฒนา สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์
  4. นายรอณ โซนี่ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการศึกษาและพัฒนาด้านความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ระหว่าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน 2564 หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมและเทคโนโลยีการป้องกันประเทศ สังกัดภารกิจบูรณาการการศึกษา ฝ่ายวิชาการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นหลักสูตรความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า  ได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการศึกษาและพัฒนาด้านความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ระหว่าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในรูปแบบเสมือนจริง (Virtual MOU Signing Ceremony) ผ่านระบบ Microsoft Teams  โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี, รองศาสตราจารย์ ดร.พิชญ รัชฎาวงศ์ ประธานหลักสูตรวิศวกรรมและเทคโนโลยีการป้องกันประเทศ, นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ และนายนพดล ปิ่นสุภา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่นวัตกรรมและดิจิทัล ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงฯ

ความร่วมมือทางวิชาการในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรทั้งสองฝ่าย ตลอดจนความร่วมมือในการจัดทำโครงการวิจัย โดยการนำองค์ความรู้ด้านวิชาการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และความชำนาญด้านนวัตกรรมของกลุ่ม ปตท. มาร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีที่ช่วยแก้ไขปัญหาของประเทศในวิกฤตการณ์ต่าง ๆ อาทิ สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ประกอบด้วย การพัฒนาหน้ากากผ้าที่สามารถป้องกันได้ทั้งเชื้อโควิด-19 และฝุ่น PM 2.5 โดยใช้วัตถุดิบจากปิโตรเคมี ซึ่งช่วยป้องกันการเกิดเชื้อแบคทีเรียได้สูงถึง 99.98% และป้องกันอนุภาคฝุ่นขนาดเล็ก 0.1 ไมครอน (µm) ได้ถึง 84% ทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังจะร่วมพัฒนาระบบระบายอากาศเพื่อป้องกันและกำจัดเชื้อโควิดภายในอาคาร การนำเทคโนโลยีมาใช้แก้ปัญหาขยะติดเชื้อ พร้อมต่อยอดสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อป้องกันประเทศในระยะยาว ซึ่งนับเป็นหนึ่งในภารกิจการบูรณาการความร่วมมือของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในบริบทสถาบันการศึกษา ผู้ผลิตองค์ความรู้ ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่มีความพร้อมและศักยภาพในการผลิตต้นแบบนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ แก้ปัญหา และพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

ขอแสดงความยินดีแด่ ศาสตราจารย์ ดร.ชนาธิป ผาริโน ในโอกาสที่ได้รับพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีแด่ ศาสตราจารย์ ดร.ชนาธิป ผาริโน ในโอกาสที่ได้รับพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

นิสิตวิศวฯ รับรางวัลเยาวชนคนต้นแบบ สาขาบำเพ็ญประโยชน์ โครงการเชิดชูเกียรติเด็กและเยาวชนผู้มีคุณูปการต่อกิจกรรมเยาวชนอีกทั้งผู้มีคุณูปการต่อกิจกรรมเยาวชน เนื่องในวันเยาวชนแห่งชาติ ประจำปี 2564

ตามที่สโมสรโรตารีจตุจักร ภาค 3350 โรตารีสากล ได้จัดทำโครงการเชิดชูเกียรติเด็กและเยาวชนผู้มีคุณูปการต่อกิจกรรมเยาวชนอีกทั้งผู้มีคุณูปการต่อกิจกรรมเยาวชน เนื่องในวันเยาวชนแห่งชาติ ประจำปี 2564 และได้พิจารณาแล้วนั้น
.
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีกับ นายปฏิพล แก้วสีมรกต ประธานฝ่ายพัฒนาสังคมและบำเพ็ญประโยชน์ กรรมการนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2563 ที่ได้รับรางวัลเยาวชนคนต้นแบบ สาขาบำเพ็ญประโยชน์ ในการดำเนินกิจกรรมโครงการค่ายอาสาพัฒนาชุมชนก้อลำพูนไม่ลำพัง
.
ค่ายอาสาพัฒนาชุมชนก้อลำพูนไม่ลำพัง เป็นค่ายที่ร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่สร้างฝายชะลอน้ำสำหรับการเกษตรชุมชน ลดความรุนแรงของน้ำป่า และยังช่วยให้ป่ามีความชุ่มชื้น ทำให้ผู้คนในพื้นที่รอบ ๆ ฝายมีการต่อยอดโดยปรับรูปแบบทางการเกษตรเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยทำฝายใหญ่ 1 จุด ฝายดักตะกอน 1 จุด ณ พื้นที่ห้วยขจวม ตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ทำฝายธรรมชาติที่อุทยานแห่งชาติแม่ปิง 12 จุด และทำกิจกรรมสร้างความสนุกสนาน ให้กับน้อง ๆ โรงเรียนบ้านก้อจัดสรร ระหว่างวันที่ 19-26 ธันวาคม 2563

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้

บันทึกการตั้งค่า