อาจารย์วิศวฯ ร่วมให้ความรู้เรื่อง “ฝุ่น PM 2.5 แก้ไขอย่างไรให้ยั่งยืน” ในรายการ nbt มีคำตอบ

รองศาสตราจารย์ ดร.มาโนช โลหเตปานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันการขนส่ง จุฬาฯ และอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมให้ความรู้เรื่อง “ฝุ่น PM 2.5 แก้ไขอย่างไรให้ยั่งยืน” ในรายการ nbt มีคำตอบ
ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ NBT วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2563

ขอบคุณที่มา : http://csvpch11web1.ecartstudio.net/th/?p=186559

https://www.facebook.com/ChulaEngineering/videos/2539786622935137/

วิศวฯ จุฬาฯ ผนึกพลังภาครัฐและเอกชน นำร่องโครงการติดตั้งเซนเซอร์ตรวจวัดปริมาณ PM 2.5 ทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล เดินหน้าเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล นำสู่แนวทางการแก้ไขปัญหาเพื่อสุขภาพของคนไทย

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อุทิศองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมเทคโนโลยี เพื่อสร้างประโยชน์แก่สังคมไทยอีกครั้ง ต่อยอดการพัฒนาโครงการติดตั้งเซนเซอร์ตรวจวัดปริมาณ PM 2.5 ปีที่ 2 ร่วมกับ การเคหะแห่งชาติ, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม, สภาวิศวกร, บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หลังจับมือ กสท โทรคมนาคมดำเนินการโครงการในปีแรกประสบความ สำเร็จเป็นไปตามเป้าหมาย มั่นใจสามารถนำข้อมูลที่ได้มาศึกษาวิจัย วิเคราะห์หาสาเหตุ พร้อมเสนอแนวทางแก้ไขปัญหามลภาวะฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในไทย หลังเริ่มทวีความรุนแรงถึงขั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพ

ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา คณะวิศวฯ จุฬาฯ ได้ร่วมกับโครงการอาศรมความคิด อรุณ สรเทศน์ ณ ลานเกียร์ (เปิดโลกลานเกียร์) หลอมรวมศาสตร์และนวัตกรรมด้านวิศวกรรมเพื่อผลักดันประเทศไทยให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยได้รับการสนับสนุนที่ดีเยี่ยมจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนมาอย่างต่อเนื่องในทุกครั้งที่ประเทศไทยและคนไทยต้องเผชิญภาวะวิกฤติ ครั้งนี้ก็เช่นกัน ปัญหามลภาวะฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 นับวันยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น และมีแนวโน้มอยู่ในระดับที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนไทย ด้วยเหตุดังกล่าว คณะวิศวฯ จุฬาฯ จึงได้จัดตั้งคณะทำงานที่เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม พัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีเซนเซอร์ตรวจวัดปริมาณ PM 2.5 ที่เริ่มดำเนินการแล้วในปีที่ผ่านมา และมีประสิทธิภาพในการตรวจวัดสภาพอากาศและจัดเก็บข้อมูลเป็นที่น่าพอใจ ซึ่งเป็นประโยชน์อยากมากในการศึกษาวิจัยเพื่อหาต้นตอสาเหตุปัญหา จึงได้เริ่มโครงการในระยะที่ 2 ภายใต้ความร่วมมือจากหลายภาคส่วน เพื่อขยายการจัดเก็บข้อมูลสภาพอากาศให้ขยายวงกว้างยิ่งขึ้น ตลอดจนการพัฒนาแอพพลิเคชั่นและเว็บไซต์คอยให้คำแนะนำ สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่คนไทย เพื่อให้ผู้สนใจสามารถเข้าถึงได้ง่าย แบบไร้ขีดจำกัด

“คณะวิศวฯ จุฬาฯ จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น เพื่อพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลสภาพอากาศ นำมาใช้ประโยชน์ด้านการวิจัย ผนึกพลังพันธมิตรเพิ่มพื้นที่การติดตั้งเซนเซอร์เพิ่มศักยภาพโครงการ วิเคราะห์ถึงผลกระทบ เสนอแนะแนวทางแก้ไข และพร้อมที่จะส่งมอบองค์ความรู้ต่างๆ แก่ภาครัฐ เพื่อนำไปใช้พัฒนากลยุทธ์แก้ปัญหาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก และประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ที่สำคัญต้องการนำองค์ความรู้ที่ได้มามอบให้แก่คนไทยเพื่อนำประโยชน์ดังกล่าวไปใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตในมิติต่างๆ สอดคล้องกับปณิธานในการดำเนินงานของคณะฯ CHULA INNOVATION ENGINEERING” ศ. ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล กล่าว

ทั้งนี้ เซนเซอร์ตรวจวัดปริมาณ PM 2.5 ที่พัฒนาขึ้นโดยคณะวิศวฯ จุฬาฯ สามารถตรวจวัดได้ทั้งฝุ่น PM 2.5, PM 10, อุณหภูมิ และความชื้น พร้อมทั้งคำนวณค่า AQI และแสดงผลผ่านทั้งหน้าจอเซนเซอร์และเว็บไซต์ http://sensorforall.eng.chula.ac.th เพื่อบ่งบอกระดับผลกระทบต่อสุขภาพ โดยความร่วมมือในโครงการนี้ จะมีการติดตั้งเซนเซอร์ตรวจวัดปริมาณ PM 2.5 ทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑลในระยะแรกจำนวน 30 จุด และพร้อมเปิดรับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ต้องการร่วมเป็นเครือข่ายในการตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 เพื่อหาแนวทางจัดการมลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยข้อมูลจากเซนเซอร์ทุกจุดจะถูกนำมาประมวลร่วมกับข้อมูลอุตุนิยมวิทยา ข้อมูลจุดความร้อน (Hot Spot) ข้อมูลการจราจร รวมไปถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อวิเคราะห์และคาดการณ์แหล่งกำเนิดของฝุ่น PM 2.5 และนำเสนอนโยบายสำหรับแก้ไขปัญหา PM 2.5 และร่วมสร้างสังคมสุขภาพดีให้เกิดขึ้นในประเทศไทย

ด้านศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงแนวนโยบายของคณะฯ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมแก่สังคมไทยว่า “ที่ผ่านมา คณะวิศวฯ จุฬาฯ ได้จัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ในโครงการ CHULA MOOC รายวิชาเรื่องสิ่งแวดล้อมเรื่องของเรา What (Love) is in the air ขึ้น เพื่อรวมข้อมูลความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมไว้อย่างหลากหลาย และแน่นอนว่าข้อมูลเกี่ยวกับฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ก็ถูกบรรจุอยู่ด้วยเช่นกัน ผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาค้นคว้าศึกษาได้ด้วยตนเองโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ นอกจากนี้ คณะฯ ยังได้พัฒนาเว็บไซต์เพื่อรายงานสภาพอากาศในแต่ละจุดที่ติดตั้งเซนเซอร์ โดยสามารถเข้าไปชมข้อมูลได้ที่ http://sensorforall.eng.chula.ac.th การสร้างการเข้าถึงข้อมูลที่ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น จะช่วยให้คนไทยสามารถเตรียมพร้อมเพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

We fully support our professors and students from China and their families to overcome this coronavirus outbreak.

我们祝愿朱拉隆功大学的中国老师,
学生及家人, 能够平安度过, 此次新型冠状病毒危机.​

We fully support our professors and students from China and their families to overcome this coronavirus outbreak.

พวกเราขอส่งความปรารถนาดีขอให้อาจารย์จากประเทศจีน
และนักศึกษาจีนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสมาชิกในครอบครัว สามารถผ่านพ้นวิกฤตการณ์ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ครั้งนี้ด้วยความปลอดภัย

อาจารย์วิศวฯ รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับดีมาก สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ขอแสดงความยินดีกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ตั้งพรประเสริฐ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัญญาพันธ์ วิรุฬห์ศรี ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล และคณะ ที่ได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับดีมาก สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในผลงาน เรื่อง “ข้อสะโพกเทียมชนิดมอดูล่ายูนิโพล่าที่เหมาะสมกับกายวิภาคศาสตร์ของคนไทย (Unipolar Modular Hip Prosthesis for Thai Anatomy)” จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยได้เข้ารับรางวัลในวันนักประดิษฐ์ประจำปี 2563 เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2563 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้ไปร่วมแสดงความยินดี

งานคืนสู่เหย้า วิศวฯ จุฬาฯ 2020

เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2563 สมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานคืนสู่เหย้า วิศวฯ จุฬาฯ 2020 โดยภายในงานมีกิจกรรม Intania Campus Tour ให้นิสิตเก่าได้เยี่ยมชมพื้นที่นวัตกรรมของคณะฯ การประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2562 จากนั้น คณะกรรมการสมาคมฯ ผู้บริหารคณะฯ คณาจารย์ นิสิตเก่า และนิสิตปัจจุบัน ร่วมกันถวายบังคมพระบรมรูปสองรัชกาล ปิดท้ายด้วยงานเลี้ยงสังสรรค์ การแสดงบนเวที พิธีคารวะอาจารย์และรุ่นพี่อาวุโส ด้วยบรรยากาศอบอุ่นและเป็นกันเอง

 

คณะวิศวฯ ร่วมออกบูทแนะแนวการศึกษา ในงานนิทรรศการตลาดนัดหลักสูตรอุดมศึกษา ครั้งที่ 24 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

เมื่อวันที่ 30-31 มกราคม 2563 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมออกบูทแนะแนวการศึกษา ประชาสัมพันธ์หลักสูตรและให้ข้อมูลเกี่ยวกับการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ ในงานนิทรรศการตลาดนัดหลักสูตรอุดมศึกษา ครั้งที่ 24 ณ ศูนย์ประชุมอเนกประสงค์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
 
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษา ครู ผู้ปกครอง หน่วยงานและผู้ที่สนใจทั่วไป ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รับรู้ข้อมูลหลักสูตร ข้อมูลการศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ โดยทัดเทียมกัน และเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับนักเรียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งกิจกรรมในครั้งมีผู้มีให้ความสนใจเข้าร่วมงานในครั้งนี้เป็นจำนวนมาก

สุดเจ๋ง!! อาจารย์จุฬาฯ แพทย์-วิศวะ ผนึกกำลัง พัฒนาหุ่นยนต์ช่วยประเมิน ดูแล ฟื้นฟู ผู้ป่วย ติดเชื้อ “โคโรนาไวรัส” วิจัยนวัตกรรมจุฬาฯ มีคำตอบ

วันที่ 31 มกราคม 2563 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มอบนวัตกรรม Telemedicine Robots 3 ตัวแรก พัฒนาโดย ศ. ดร.วิบูลย์ แสงวีระพันธุ์ศิริ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและหัวหน้าศูนย์ Regional Center of Robotic Technology แก่ นพ.เขตต์ ศรีประทักษ์ แพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจและหลอดเลือด สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ เพื่อใช้ในการสื่อสารระหว่างผู้ป่วยโคโรนาไวรัสกับบุคลากรทางการแพทย์และล่าม เริ่มใช้ที่ สถาบันบำราศนราดูร โรงพยาบาลราชวิถี และโรงพยาบาลทรวงอก โดยมี รศ. ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดี กำกับดูแลด้านการพัฒนางานใหม่และงานนวัตกรรม ศ. ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์  และนายธนารักษ์ พงษ์เภตรา ผู้แทนสมาคมนิสิตเก่าวิศวฯ จุฬาฯ ร่วมเป็นสักขีพยาน

นวัตกรรมทางการแพทย์ใหม่ล่าสุดของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ที่กำลังเป็นที่จับตามองในแวดวงสาธารณสุขไทย และประสบความสำเร็จในการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีอาการเฉียบพลันร้ายแรงได้ นั่นก็คือ “โครงการประเมิน ดูแล ฟื้นฟู บริการผู้สูงอายุ และผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง” ที่แพทย์สามารถเข้าถึงผู้ป่วยได้อย่างไร้พรมแดนโดยผ่านระบบการประชุมทางไกลผ่านระบบวิดีโอ (Video Conference) ช่วยลดอุปสรรคด้านเวลาและระยะทางในการเดินทางของผู้ป่วยเพื่อมาพบแพทย์ถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมที่เหมาะอย่างยิ่งกับการให้บริการผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเฉียบพลันและต้องการการรักษาในวินาทีชีวิตอย่างเร่งด่วน โดยโครงการ Telemedicine นี้ มี ศ. พญ.นิจศรี ชาญนรงค์ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจร Chula Excellence Center เป็นหัวหน้าโครงการ โดยจุฬาฯ เริ่มต้นมาจากโครงการได้รับทุนสนับสนุน spearhead เป็นหนึ่งโครงการที่รัฐบาลที่ต้องการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน และการเงิน ให้กับมหาวิทยาลัยทำงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดผลงานการวิจัยออกมาสู่ตลาดและเกิดประโยชน์แก่ประชาชน  ซึ่งโครงการนี้ได้รับความร่วมมืออย่างดีจาก คณะแพทยศาสตร์และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือ ศ. ดร.วิบูลย์ แสงวีระพันธุ์ศิริ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและหัวหน้าศูนย์ Regional Center of Robotic Technology และทีมวิจัย รศ. พญ.กฤษณา พิรเวช หัวหน้าฝ่ายเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ที่เข้ามาช่วยพัฒนาหุ่นยนต์และระบบกายภาพบำบัดสำหรับใช้บริการผู้สูงอายุ และผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและ ภาคเอกชนคือ บริษัท Haxter Robotics และ บริษัท Softsquare ที่เข้าร่วมสนับสนุนเงินทุน เทคโนโลยี และ การพัฒนาโปรแกรม ซึ่งหุ่นยนต์นี้สามารถประเมินสภาวะของผู้ป่วย ช่วยให้แพทย์และพยาบาลสามารถติดตามอาการของผู้ป่วยทางโทรเวชกรรม รวมถึงการเตือนให้รับประทานยาหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ อีกทั้งมีวีดิทัศน์เพื่อให้ความรู้และสอนวิธีทำกายภาพบำบัดให้แก่ผู้ป่วยด้วย ซึ่งตอนนี้มีการวางแผนที่จะนำหุ่นยนต์ไปใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อ Corona virus ตามโรงพยาบาลทั้งกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดอีกด้วย

ทั้งนี้ บริษัท Haxter Robotics เป็นบริษัทที่ก่อตั้งโดยทีมสตาร์ทอัพที่บ่มเพาะจากศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย CU Innovation Hub เมื่อปี พ.ศ. 2560 โดยมีวัตถุประสงค์ในการผลิตหุ่นยนต์ เพื่อนำงานวิจัยที่พัฒนาขึ้นภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนาไปสู่ในเชิงพาณิชย์

 

คณะวิศวฯ จัดกิจกรรม “Crafting the Future of Chula Engineering:Beyond Strategic Alignment to the New Horizon”

เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2563 ภารกิจยุทธศาสตร์และโครงการพิเศษ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดกิจกรรม “Crafting the Future of Chula Engineering:Beyond Strategic Alignment to the New Horizon” ค้นหา core value สร้างกลไกในการขับเคลื่อนคณะวิศวฯ จุฬาฯ ณ ห้อง 601 ชั้น 6 อาคารวิศวฯ 100 ปี โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี เป็นประธานในการนำทัพคณะผู้บริหาร ผู้แทนอาจารย์และหัวหน้างาน สร้างความร่วมมือในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการพัฒนานิสิต อาจารย์ เจ้าหน้าที่ เพื่อสร้างความพร้อมและยกระดับคณะวิศวฯ จุฬาฯ ให้บรรลุวิสัยทัศน์ “การเป็นผู้นาด้านนวัตกรรมและแนวทางแก้ไขปัญหา ด้วยวิศวกรรมเพื่อประชาคมโลก”

โครงการอาศรมความคิด อรุณ สรเทศน์ ณ ลานเกียร์ (เปิดโลกลานเกียร์) ร่วมกับ ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม จัดกิจกรรมเนื่องในโอกาสครบรอบ “วันอรุณ สรเทศน์ รำลึก” ครั้งที่ 26

วันที่ 22 มกราคม 2563 โครงการอาศรมความคิด อรุณ สรเทศน์ ณ ลานเกียร์ (เปิดโลกลานเกียร์) ร่วมกับ ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดกิจกรรมเนื่องในโอกาสครบรอบ “วันอรุณ สรเทศน์ รำลึก” ครั้งที่ 26 ณ ห้อง 201A ชั้น 2 อาคารวิศวฯ 100 ปี โดยภายในงานได้มีการมอบทุนการศึกษาให้กับนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ และการบรรยายพิเศษ เรื่อง ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ภายใต้บริบทของประเทศไทย กรณีศึกษา ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน สู่การปฏิบัติในภาคเอกชน บริษัท พีทีโกลบอลเคมิคอล จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.อรทัย ชวาลภาฤทธิ์ ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ คุณสมจิตต์ นิลถนอม Sustainability Development Division Manager บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) เป็นวิทยากร และได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีกล่าวเปิดงาน

ประกาศการคัดเลือกผู้สมควรรับการเสนอชื่อเพื่อขอรับพระราชทานทุน แผนกวิศวกรรมศาสตร์ มูลนิธิอานันทมหิดล ประจำปี 2563

ประกาศการคัดเลือกผู้สมควรรับการเสนอชื่อเพื่อขอรับพระราชทานทุน แผนกวิศวกรรมศาสตร์ มูลนิธิอานันทมหิดล ประจำปี 2563

นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่กำลังจะจบการศึกษาและคาดว่าจะได้รับเกียรตินิยมอันดับ 1 ทุกคน ที่มีคุณสมบัติตามที่ระบุ สามารถยื่นขอความจำนงขอรับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล ประจำปี 2563 ได้โดยกรอกแบบฟอร์มออนไลน์ กำหนดส่งเอกสารการสมัคร ระหว่างวันที่ 13-24 มกราคม 2563

https://docs.google.com/…/1FAIpQLSdSE8ucYabehMjZ4Z…/viewform

คุณสมบัติ
1. มีสัญชาติไทย
2. มีผลการศึกษาดีเยี่ยม ได้รับปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3. อายุไม่เกิน 25 ปีบริบูรณ์ในวันสิ้นปีปฏิทิน
4. มีความประพฤติดีเพียบพร้อมด้วยคุณธรรมและจริยธรรมอันดีงาม
5. มีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์ โดยจะต้องมีเอกสารแสดงผลการตรวจสุขภาพในวันสัมภาษณ์
6. มีความตั้งใจและมีศักยภาพที่จะศึกษาวิชาการขั้นสูง
7. มีการแสดงผลการทดสอบภาษาต่างประเทศ ซึ่งเป็นที่ยอมรับจากสถาบันที่จะไปศึกษาต่อ (TOEFL หรือ IELTS)

https://www.eng.chula.ac.th/th/26207

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้

บันทึกการตั้งค่า