ขอเชิญคณาจารย์ บุคลากร และนิสิตวิศวฯ ร่วมตอบแบบสำรวจความพึงพอใจต่อการดำเนินงานของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2562

ขอเชิญคณาจารย์ บุคลากร และนิสิตวิศวฯ ร่วมตอบแบบสำรวจความพึงพอใจต่อการดำเนินงานของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ประจำปีการศึกษา 2562

Satisfaction survey in Academic Year 2019

https://forms.gle/W5ULXBQfh61pcFYaA

เริ่มดำเนินการในวันที่ 16 มีนาคม 2563 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2563

เพื่อเป็นการลดโอกาสการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 คณะวิศวฯ จุฬาฯ สนับสนุนให้คณาจารย์จัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ด้วยระบบ myCourseVille ร่วมกับระบบ Video Conferencing

เพื่อเป็นการลดโอกาสการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สนับสนุนให้คณาจารย์จัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ด้วยระบบ myCourseVille ร่วมกับระบบ Video Conferencing เช่น zoom.us หรือ MS Teams เพื่อให้การเรียนการสอนเกิดขึ้นได้แบบออนไลน์และผู้เรียนยังสามารถมีปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียนได้แบบ Real-time คณาจารย์ที่สนใจสามารถเรียนรู้วีธีการดังกล่าวผ่านวีดีโอแนะนำตามลิงค์ในประกาศนี้ โดยมีเนื้อหา 3 ตอน ได้แก่
ตอนที่ 1: แนะนำภาพรวม เครื่องมือที่ใช้ ทดลอง Live
ตอนที่ 2: แนะนำวิธีการในการนัดหมายและสื่อสาร เพื่อให้ผู้เรียนเข้าร่วมชั้นเรียนแบบ Live
ตอนที่ 3: สาธิตการเรียนการสอนออนไลน์แบบ Live โดยใช้ LMS สนับสนุนในการเช็คชื่ิอ สร้างปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียน และ บันทึกร่องรอยจากการเรียนการสอน
คณาจารย์ที่ยังไม่ได้เปิดรายวิชาใน myCourseVille สามารถติดต่อได้ทางหมายเลข 02-218-6407, 086-373-7337 หรือ อินบ๊อกซ์ที่ Facebook page: https://www.facebook.com/mycourseville/
https://youtu.be/SAlqOPFf8NU?list=PLY7dt-k436CIcGIGYJbebaS43SuXAApj1

ขอความร่วมมือนิสิตและบุคลากร คณะวิศวฯ จุฬาฯ ที่เดินทางกลับมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค COVID-19 หรือใกล้ชิดกับผู้ที่เดินทางกลับมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง ให้ลาเพื่อเฝ้าระวังอาการ 14 วัน

ขอความร่วมมือนิสิตและบุคลากร คณะวิศวฯ จุฬาฯ ที่เดินทางกลับมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค COVID-19 หรือใกล้ชิดกับผู้ที่เดินทางกลับมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง ให้ลาเพื่อเฝ้าระวังอาการ 14 วัน ซึ่งเป็นมาตรการในการป้องกันการแพร่กระจายของโรค

สำหรับนิสิต
การลาเพื่อเฝ้าระวัง ไม่ถือว่าเป็นการขาดเรียน ขาดสอบ

สำหรับบุคลากร
ไม่ถือว่าเป็นการขาดการปฏิบัติงาน และไม่นับเป็นวันลา

ตามประกาศ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563)

ในกรณีที่จงใจปิดบังข้อมูลประวัติการเดินทางจากประเทศเสี่ยง ถือว่ามีความผิดตาม “พระราชบัญญัติโรคติดต่อแห่งชาติ”

Chula Engineering students and staff members who have traveled to countries at risk of COVID-19 infection or have been in close contact with the said students and staff members should take a leave of absence for 14 days according to the Protective Measures Against the Spread of COVID-19.

For students Such absence shall not be counted as absence from class and examination.

For staff members Such absence shall not be counted as absence from work and leave days. (according to the announcement form Chulalongkorn University issued on February 26, 2020)

ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563) เรื่อง มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 / กำหนดรายชื่อประเทศหรือเขตการปกครองที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค COVID-19 / แนวปฏิบัติในการตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังเชื้อโรค COVID-19

https://www.chula.ac.th/news/27752/?fbclid=IwAR18uIeiBNPC_5z7bHA1fAJSrY7YXj1kXq2zKV9ZWcbWR4JY6a0RQKaPsnI

 

ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงวันที่ 2 มีนาคม 2563

(1) ขยายเวลาตามประกาศออกไปจากเดิมวันที่ 19 เมษายน 2563 เป็นวันที่ 31 พฤษภาคม 2563

(2) กำหนดรายชื่อประเทศหรือเขตการปกครองที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค COVID-19 เพิ่มขึ้นอีก 2 ประเทศ คือฝรั่งเศส และ เยอรมนี

อ่านเพิ่มเติมที่ https://www.chula.ac.th/news/27840/

ประกาศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ เรื่อง ” มาตราการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ในห้องสอบ”

ประกาศ คณะวิศวกรรมศาสตร์

เรื่อง ” มาตราการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ในห้องสอบ”

จุฬาฯ เปิดโครงการผลิตบัณฑิตแพทย์ 2 ปริญญา ภายในเวลา 6 ปี ป.ตรี แพทย์ – ป.โท วิศวกรรมชีวเวช

ศ. นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ คณบดี คณะแพทยศาสตร์ พร้อมด้วย ศ. ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันแถลงข่าว จุฬาฯ เปิดโครงการผลิตบัณฑิตแพทย์ 2 ปริญญา ภายในเวลา 6 ปี ป.ตรี แพทย์ – ป.โท วิศวกรรมชีวเวช จัดขึ้น วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 11.00-12.00 น. ณ ห้องเธียเตอร์ ชั้น 1 อาคารหอสมุดคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศ. นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ คณบดี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงวิสัยทัศน์ และรายละเอียดการเปิดโครงการผลิตบัณฑิตแพทย์ 2 ปริญญานี้ว่า คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งเป็นสถาบันต้นแบบทางการแพทย์ที่มีคุณธรรม และสร้างมาตรฐานระดับนานาชาติ โดยนับตั้งแต่ปี 2560 ทางสถาบันได้มีการปรับหลักสูตรการเรียนการสอน โดยมุ่งเพิ่มช่วงเวลาที่นิสิตสามารถเลือกเรียนวิชาเลือก วิชาที่ตนเองสนใจได้มากขึ้น เพื่อให้นิสิตค้นพบตัวเอง รวมถึงเสริมสร้างความถนัดในด้านที่ตนเองต้องการ เช่น ด้านวิจัย ด้านบริหาร

และในปี 2563 นี้ นับเป็นการเปลี่ยนแปลง และการเริ่มต้นครั้งใหม่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เปิดโครงการหลักสูตรควบข้ามระดับข้ามศาสตร์ หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตและหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สหสาขาวิศวกรรมชีวเวช จุดเด่นคือ บัณฑิตที่จบการศึกษาจะได้รับ 2 ปริญญา คือ ปริญญาตรี แพทยศาสตรบัณฑิต และ ปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สหสาขาวิศวกรรมชีวเวช โดยใช้ระยะเวลาในการศึกษาเพียง 6 ปี เป็นหลักสูตรมุ่งผลิตบัณฑิตที่เชี่ยวชาญทั้งสาขาแพทยศาสตร์ และวิศวกรรมชีวเวช ให้สามารถสร้างสรรค์ผลงานวิชาการ องค์ความรู้ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งเหมาะกับนิสิตแพทย์ที่มีศักยภาพ และความสนใจด้านวิศวกรรมชีวเวช ต้องการเป็นแพทย์นักวิชาการ นักวิจัยชั้นนำ ผู้เชี่ยวชาญทั้งสาขาแพทยศาสตร์และวิศวกรรมชีวเวช ที่สร้างสรรค์ผลงานวิชาการ องค์ความรู้ วิจัยและนวัตกรรม ต่อไป

นิสิตในโครงการนี้ จะเรียนรายวิชาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) เช่นเดียวกับนิสิตแพทย์คนอื่น โดยนิสิตสามารถเลือกลงทะเบียนเรียนรายวิชาการศึกษาทั่วไป วิชาเฉพาะ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน และ/หรือเลือกเสรีในสาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวช ที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตให้การรับรองได้ตามความสนใจ เพื่อเป็นวิชาพื้นฐานสำหรับการศึกษาในระดับปริญญาโท และเมื่อเรียนรายวิชาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตครบ 120 หน่วยกิต และมีคุณสมบัติตามที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรกำหนด จะมีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สหสาขาวิศวกรรมชีวเวช ที่ใช้เวลาเรียนไม่น้อยกว่า 2 ปีได้ จากนั้นนิสิตที่ได้รับการคัดเลือก จะเรียนรายวิชาชั้นปีที่ 4-6 ในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตร่วมกับนิสิตในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตคนอื่นควบคู่ไปกับการสัมมนา และการทำวิทยานิพนธ์ในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ในช่วงเวลาวิชาเฉพาะเพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน หรือช่วงนอกเวลา

สำหรับเรื่องค่าใช้จ่ายในการเรียน จะจัดเก็บค่าเล่าเรียนทั้งสองหลักสูตรในอัตราตามประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง อัตราการเรียกเก็บเงินค่าเล่าเรียน และเงินเรียกเก็บประเภทอื่น ๆ สำหรับนิสิต ในส่วนของแผนการรับนิสิต โครงการฯ จะคัดเลือก และให้ทุนแก่นิสิตในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ที่มีคุณสมบัติครบถ้วน เข้าศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวช 10 คน ต่อปีการศึกษา

ในส่วนของการรับสมัครนิสิตเข้าสู่โครงการ สำหรับนิสิตในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตปัจจุบันชั้นปีที่ 1 และ 2 คาดว่าจะสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการดังกล่าวได้ในปีการศึกษา 2563 เป็นต้นไป และในส่วนของผู้ที่สนใจเข้าศึกษาในโครงการที่เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สามารถสมัครสอบคัดเลือกได้ตามระบบ TCAS รอบที่ 3 โดยสมัครผ่านระบบ TCAS63 ในวันที่ 17-27 เมษายน 2563 โดยรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่ อีเมล aamdcu@gmail.com หรือ 02 256 4478 ฝ่ายวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

ทางด้าน ศ. ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้กล่าวว่า หลักสูตรสหสาขาวิศวกรรมชีวเวช คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เป็นหลักสูตรบัณฑิตศึกษาที่ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2549 โดยริเริ่มขึ้นจากความร่วมมือหลักระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์

จุดเด่นของหลักสูตรวิศวกรรมชีวเวชคือ ความร่วมมือที่เข้มแข็งของทั้งสองคณะ ที่ร่วมกันพัฒนาโจทย์วิจัยที่ท้าทาย และตอบโจทย์หรือแก้ไขปัญหาที่พบอยู่จริงในการแพทย์ในปัจจุบัน นิสิตที่เรียนในหลักสูตรฯ จะมีอาจารย์ที่ปรึกษา 2 ท่าน ท่านหนึ่งจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเทคโนโลยี และอีกท่านหนึ่งจากคณะแพทยศาสตร์ซึ่งเป็นผู้ใช้เทคโนโลยี และเข้าใจปัญหาที่แท้จริงของเทคโนโลยีการแพทย์ นอกจากนี้ หลักสูตรยังได้รับความร่วมมือจากคณาจารย์ของคณะวิทยาศาสตร์สายสุขภาพอื่น ๆ อีกด้วย อาทิ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ และ คณะสหเวชศาสตร์ เป็นต้น

หลักสูตรวิศวกรรมชีวเวช ประกอบไปด้วย 6 สาขาวิจัย ได้แก่ สาขา Medical instruments and biosensors, สาขา Biomechanics, สาขา Rehabilitation, สาขา Medical Imaging, สาขา Tissue engineering and Drug delivery system และสาขา Bioinformatics ซึ่งทั้ง 6 สาขาวิจัยนี้ ครอบคลุมเทคโนโลยีการแพทย์ตั้งแต่การตรวจวินิจฉัย วิเคราะห์โรค การรักษาโรค การฟื้นฟูผู้ป่วย รวมถึงการป้องกันการเกิดโรค จะเห็นได้ว่า ทุกศาสตร์ทุกสาขาของแพทย์ ล้วนใช้ศาสตร์วิศวกรรมชีวเวชเข้าไปช่วยพัฒนาได้ทั้งสิ้น

ที่ผ่านมาหลักสูตรเราได้สร้างสรรค์ research innovations จำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น medical device, sensor ตรวจวัดค่าต่าง ๆ ที่บ่งชี้การเกิดโรคของร่างกาย ระบบนำส่งยารักษาโรค และอวัยวะเทียม อวัยวะสังเคราะห์ต่าง ๆ

ตัวอย่างผลงานที่เป็น Lab prototypes หรือเป็น certified products ที่เป็นผลงานของหลักสูตรวิศวกรรมชีวเวช ร่วมกับภาควิชาต่าง ๆ ภายในคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์ ได้แก่ โครงเนื้อเยื่อสำหรับการสร้างหลอดเลือด และการสร้างกระดูก, micro needle ที่สามารถควบคุมการปลดปล่อยยาได้, ไม้เท้าที่มีสัญญาณเสียง แสงและการสั่นเพื่อกระตุ้นการเดินของผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน และเท้าเทียม ข้อสะโพกเทียมที่มีการออกแบบเหมาะสมสำหรับสรีระผู้ป่วยคนไทย และคนเอเชีย เป็นต้น

ศ. ดร.สุพจน์ ยังได้กล่าวทิ้งท้ายว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมามีแพทย์เฉพาะทางเข้ามาเรียนต่อปริญญาโท/เอกที่หลักสูตรเราอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่จบการศึกษาไปแล้ว และที่กำลังศึกษาอยู่ กว่า 20 ท่าน ซึ่งแต่ละท่านมีโอกาสทำงานวิจัยที่แก้ไขโจทย์ปัญหาที่พบจริงในโรงพยาบาล

สำหรับโครงการผลิตบัณฑิตแพทย์ 2 ปริญญานี้ เปิดโอกาสให้นิสิตแพทย์ระดับปริญญาตรี ที่มีความสนใจด้านวิศวกรรมชีวเวช สร้างสรรค์ผลงานวิชาการองค์ความรู้วิจัยและนวัตกรรม

นิสิตและบุคลากร คณะวิศวฯ ที่เดินทางกลับมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค COVID-19 หรือใกล้ชิดกับผู้ที่เดินทางกลับมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง ขอให้ดูแลรักษาสุขภาพและปฏิบัติตามประกาศของจุฬาฯ อย่างเคร่งครัด

นิสิตและบุคลากร คณะวิศวฯ จุฬาฯ ที่เดินทางกลับมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค COVID-19 หรือใกล้ชิดกับผู้ที่เดินทางกลับมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง ขอให้ดูแลรักษาสุขภาพและปฏิบัติตามประกาศ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563) อย่างเคร่งครัด

All Chula Engineering students and staff members who have traveled to countries at risk of COVID-19 infection or have been in close contact with the said students and staff members shall take care of their health and strictly comply with the announcement from Chulalongkorn University issued on February 26, 2020.

 

ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563) เรื่อง มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 / กำหนดรายชื่อประเทศหรือเขตการปกครองที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค COVID-19 / แนวปฏิบัติในการตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังเชื้อโรค COVID-19

https://www.chula.ac.th/news/27752/?fbclid=IwAR18uIeiBNPC_5z7bHA1fAJSrY7YXj1kXq2zKV9ZWcbWR4JY6a0RQKaPsnI

 

Chulalongkorn University Announcement on Guidelines for the Screening and Monitoring of COVID-19/ Protective Measures Against the Spread of COVID-19/ Names of Countries or Administrative Areas at Risk of COVID-19 Infection (Dated 26 February 2020)

https://www.chula.ac.th/en/news/27778/

คณะวิศวฯ และสถาบันการขนส่ง จุฬาฯ จับมือ AEC บ.ที่ปรึกษาชั้นนำ ร่วมลงนาม MOU ทางวิชาการด้านวิศวกรรม

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2563 คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จับมือ บริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด (AEC) บริษัทที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมชั้นนำของประเทศ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ทางวิชาการ โดย ศ. ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รศ. ดร.มาโนช โลหเตปานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ พลโท ดร.สบโชค ศรีสาคร รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ความร่วมมือทางวิชาการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ข้อมูล การวางแผน การศึกษา สนับสนุนข้อมูลทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์ การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งโครงการที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งและโลจิสติกส์ พร้อมทั้งสนับสนุนและส่งเสริมให้บุคลากรได้ศึกษาและทำงานร่วมกัน อาทิ การจัดหลักสูตร การสัมมนา การฝึกอาชีพให้นิสิตได้ศึกษาและเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานอย่างแท้จริงกับทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญของบริษัท บริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นศูนย์กลางองค์ความรู้ในการศึกษาด้านวิศวกรรมสาขาต่าง ๆ  อาทิ วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมสำรวจ วิศวกรรมขนส่งและจราจร ตั้งแต่ปี พ.ศ.2456 ได้ผลิตวิศวกรที่มีคุณภาพมาแล้วกว่า 20,000 คน และ สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เป็นศูนย์กลางงานวิจัยและการศึกษาด้านการขนส่งทั้งผู้โดยสารและสินค้า ครอบคลุมรูปแบบทางบก น้ำ ราง อากาศ และท่อ

สำหรับ บริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด เป็นบริษัทที่ปรึกษาวิศวกรรมโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศและภูมิภาคอาซียนที่ได้รับความไว้วางใจจากรัฐบาลและเอกชนมายาวนานกว่า 43 ปึ และมีผลงานทั้งโครงการขนาดเล็กและขนาดใหญ่กว่า 400 โครงการ ซึ่งปัจจุบันรับผิดชอบงานออกแบบและควบคุมการก่อสร้างในโครงการภายในประเทศและต่างประเทศ จำนวน 55 โครงการ ได้แก่ รถไฟฟ้า รถไฟ สนามบิน ทางด่วน สะพาน ท่าเรือ และทางหลวง

ดังนั้น การร่วมมือทางวิชาการของทั้ง 3 ฝ่ายครั้งนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาขีดความสามารถของบุคคลากรด้านวิศวกรรมศาสตร์ให้ได้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในวิชาชีพและสามารถนำไปต่อยอดเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระดับประเทศให้มีประสิทธิภาพต่อไป

คณะวิศวฯ จัดกิจกรรม “Crafting the Future of Chula Engineering:Beyond Strategic Alignment to the New Horizon” ครั้งที่ 2

เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563 ณ ห้อง 601 ชั้น 6 อาคารวิศวฯ 100 ปี ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำทัพผู้บริหารและผู้แทนอาจารย์ ร่วมกิจกรรม “Crafting the Future of Chula Engineering:Beyond Strategic Alignment to the New Horizon” ครั้งที่ 2 เดินหน้าสร้างแรงขับเคลื่อน “Drivers for Changes” พัฒนาคณะวิศวฯ จุฬาฯ และสร้างการมีส่วนร่วมของผู้บริหาร นิสิต บุคลากร รวมถึงนิสิตเก่า เน้นเสริมสร้างคุณลักษณะบัณฑิต และสมรรถนะหลัก เพื่อยกระดับคณะวิศวฯ ให้บรรลุวิสัยทัศน์การเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมและแนวทางแก้ไขปัญหาด้วยวิศวกรรมเพื่อประชาคมโลก

ISE SUMMER SCHOOL AY 2019

ISE SUMMER SCHOOL AY 2020 application is now open until this 29 March.
Discover a variety of our interesting courses such as
A) Regular Program: Calculus, Physics and Chemistry
B) Intensive Program: Introduction to Robotics and Game Design and Development.
Application is open to all students and interested public.

ทัวร์รายวิชา by DR. NATT : รายวิชา 0295100 ท่องโลกวิศวกรรมชีวเวช (Exploring Biomedical Engineering World)

ทัวร์รายวิชา by DR. NATT : รายวิชา 0295100 ท่องโลกวิศวกรรมชีวเวช (Exploring Biomedical Engineering World)

โดย อาจารย์ ดร.ณัฏฐ์ ลีละวัฒน์
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวฯ จุฬาฯ
กลุ่มวิจัยระบบสารสนเทศการจัดการภัยพิบัติและความเสี่ยง จุฬาฯ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้

บันทึกการตั้งค่า