คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดกิจกรรม CSR มอบอุปกรณ์กีฬาและอุปกรณ์การเรียน พร้อมทั้งมอบและติดตั้งเครื่อง Sensor ตรวจวัดสภาพอากาศ มลภาวะและค่าฝุ่น PM 2.5 ภายใต้โครงการ Sensor for all ปีที่ 4 ณ จังหวัดภูเก็ตและจังหวัดพังงา

เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2565 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.เกษม ชูจารุกุล รองคณบดี ศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย ชรินพานิชกุล รองคณบดี พร้อมด้วย นางสงวน ภู่ระหงษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร และบุคลากร ได้ไปทำกิจกรรม CSR มอบอุปกรณ์กีฬาและอุปกรณ์การเรียน พร้อมทั้งมอบและติดตั้งเครื่อง Sensor ตรวจวัดสภาพอากาศ มลภาวะและค่าฝุ่น PM 2.5 ภายใต้โครงการ Sensor for all ปีที่ 4 ณ จังหวัดภูเก็ตและจังหวัดพังงา โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม CSR เพื่อลดปัญหามลพิษ รักษาสิ่งแวดล้อมและช่วยเหลือสังคมอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสังคม และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ Sensor for all ตลอดจนสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างหน่วยงานและองค์กรที่แข็งแกร่งในอนาคต โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • คณะวิศวกรรมศาสตร์มอบและติดตั้งเครื่อง Sensor ตรวจวัดสภาพอากาศ มลภาวะและค่าฝุ่น PM 2.5 ภายใต้โครงการ Sensor for all ปีที่ 4 ณ ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต โดยมีนายณรงค์ วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นางสาวคณาธิป สุขเจริญ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดภูเก็ต และ คุณกรทิชาต์ วัฒนพันธุ์ นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดภูเก็ต เป็นผู้รับมอบและให้การต้อนรับ
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์มอบอุปกรณ์กีฬาและอุปกรณ์การเรียน พร้อมทั้งมอบและติดตั้งเครื่อง Sensor ตรวจวัดสภาพอากาศ มลภาวะและค่าฝุ่น PM 2.5 ภายใต้โครงการ Sensor for all ปีที่ 4 ณ โรงเรียนเกาะสิเหร่ จังหวัดภูเก็ต โดยมี นางเภาพรรณ วงค์ไทย ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนเกาะสิเหร่ เป็นผู้รับมอบและให้การต้อนรับ
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์มอบอุปกรณ์กีฬาและอุปกรณ์การเรียน ณ โรงเรียนบ้านอ่าวน้ำบ่อ จังหวัดภูเก็ต โดยมีนายจารุวัฒน์ วิกรมธีรานันท์ ผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านอ่าวน้ำบ่อ เป็นผู้รับมอบและให้การต้อนรับ
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์มอบและติดตั้งเครื่อง Sensor ตรวจวัดสภาพอากาศ มลภาวะและค่าฝุ่น PM 2.5 ภายใต้โครงการ Sensor for all ปีที่ 4 ณ โรงเรียนเกาะปันหยี จังหวัดพังงา โดยมีนางพนารัตน์ สุรียพันธุ์ รักษาราชการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเกาะปันหยี เป็นผู้รับมอบและให้การต้อนรับ

โดยกิจกรรม CSR ที่ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์จัดขึ้นเป็นกิจกรรมที่มุ่งส่งเสริม Sustainable Development Goals (SDGs) ในเป้าหมายที่ 3 : การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี เป้าหมายที่ 4 : รับรองการศึกษาที่เท่าเทียมและทั่วถึง ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่ทุกคน และเป้าหมายที่ 11 : ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความครอบคลุม ปลอดภัย มีภูมิต้านทานและยั่งยืน

ทั้งนี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้สอบถามความคิดเห็นของคนในชุมชนต่อกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) ซึ่งสรุปความเห็นโดยรวมได้ ดังนี้

การติดตั้ง Sensor ตรวจวัดสภาพอากาศ มลภาวะและค่าฝุ่น PM 2.5 ให้กับสถานที่ทั้ง 7 แห่ง นั้น สมาชิกในชุมชนมีความเข้าใจถึงประโยชน์ของการติดตั้ง Sensor ตรวจวัดสภาพอากาศ มลภาวะและค่าฝุ่น PM 2.5  ซึ่งจะทำให้มีข้อมูลสำหรับวางแผนพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาคุณภาพอากาศได้ เป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของทุกคนในชุมชนให้ดีขึ้น

เนื่องจากสภาพแวดล้อมในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป ทำให้ทรัพยากรทางทะเลเสื่อมโทรมลงอย่างมากและรวดเร็ว ส่งผลกระทบให้ปูในทะเลมีการขยายพันธุ์น้อยลง เนื่องจากกสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย  ดังนั้น การปล่อยพันธุ์ปูสู่ทะเลจึงเป็นการเพิ่มจำนวนปูให้มีปริมาณมากขึ้น เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเล ประชาชนได้มีปูไว้บริโภคและสร้างรายได้  อีกทั้ง เพื่อให้บุคลากรของคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และเล็งเห็นถึงความสำคัญของทรัพยากรทางทะเล จึงจัดกิจกรรมปล่อยปูสู่ทะเล ณ บริเวณพื้นฐานของศูนย์อนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ เกาะปันหยี จ.พังงา

บุคลากรและนักเรียนโรงเรียนทั้ง 4 แห่ง มีความประทับใจต่อกิจกรรมการมอบอุปกรณ์การเรียนและอุปกรณ์กีฬาเป็นอย่างมาก ทำให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอน และนักเรียนเห็นคุณค่าของการออกกำลังกาย ส่งเสริมให้พัฒนาทักษะด้านวิชาการและด้านกีฬา  อีกทั้งยังได้รับความรู้ความเข้าใจเรื่องมลภาวะและค่าฝุ่น PM 2.5 อีกด้วย

คณะวิศวกรรมศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับนิสิตวิศวฯ จุฬาฯ ในโอกาสที่ได้รับรางวัลจากการแข่งขันระดับนานาชาติ

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีกับนิสิตวิศวฯ ในโอกาสที่ได้รับรางวัลจากการแข่งขันระดับนานาชาติ ดังนี้

ทีม CUHAR ได้รับรางวัล Runner Up จากการร่วมแข่งขันจรวดความเร็วเสียงระดับนานาชาติ “Spaceport America Cup 2022” ซึ่งเป็นงานแข่งขันวิศวกรรมจรวดระดับอุดมศึกษาที่ใหญ่ที่สุดในโลก ผ่านผลงาน Chulalongkorn University Research Sounding Rocket 1 หรือ CURSR-I (Cursor One) ณ เมืองลาสครูเซส รัฐนิวเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา

ทีม EIC Chula จากชมรมหุ่นยนต์จุฬาฯ EIC Chula ที่เป็นตัวแทนนิสิตคณะวิศวฯ จุฬาฯ ในการเข้าร่วมการแข่งขัน RoboCup@Home 2022 โดยผลงานหุ่นยนต์ Walkie ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ ประเภท Open Platform League จากผู้เข้าแข่งขันหลายร้อยทีมทั่วโลก ในงาน RoboCup 2022 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทคบางนา

สามารถติดตามทั้งสองทีมได้ผ่านทาง
https://www.facebook.com/cu.highaltitude
https://www.facebook.com/eicchulalongkorn

พิธีส่งมอบฝายวิศวพัฒน์ 5 ณ ฝายห้วยต้างฮ้อ จังหวัดน่าน

เมื่อวันที่ 27-31 พฤษภาคม 2565 นิสิตค่ายวิศวพัฒน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เดินทางไปทำกิจกรรมร่วมกับชาวบ้าน โดยได้ทำการทดสอบระบบปั๊มน้ำโซล่าเซลล์สำหรับดึงน้ำเพื่อใช้ในแปลงเกษตร ได้ทำการสำรวจข้อมูลของชาวบ้านสมาชิกกลุ่มน้ำเพี้ยโมเดลทั้งแปลงต้นแบบ และแปลงขยายผล เพื่อนำมาสรุปเพื่อต่อยอดการทำกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ต่อไป

ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2565  มีพิธีส่งมอบฝายวิศวพัฒน์ 5 ณ ฝายห้วยต้างฮ้อ โดยฝายดังกล่าวได้ดำเนินการสร้างในช่วงเดือนมกราคม 2565 ในพิธีส่งมอบฝาย นำโดย ผศ. ดร.ชัยพร ภู่ประเสริฐ  รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วย รศ. ดร.สรรเพชญ ชื้อนิธิไพศาล รองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ นิสิตค่ายวิศวพัฒน์ ผู้บริหารการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ผู้แทนบริษัท SCG โดยมี นายนพพร เรืองสว่าง นายอำเภอนาน้อย นายฤทธา ทาใจ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสันทะ หน่วยงานท้องถิ่นและชาวบ้านรับมอบฝายดังกล่าวเพื่อใช้ในสาธารณประโยชน์ของชุมชน และได้ร่วมปลูกต้นทุเรียนในไร่ของเกษตรกรในพื้นที่

กล่าวคือชาวบ้าน บ้านเชตะวัน ตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน แต่เดิมส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตรกันมารุ่นสู่รุ่น แต่ด้วยลักษณะของปริมาณน้ำฝนที่ไม่เอื้อต่อการเกษตรมากนักคือ ช่วงหน้าแล้งจะแล้งหนักและกินเวลานาน ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงสามารถปลูกได้เพียงข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ทนแล้ง แต่มีราคาต่ำ นอกจากนี้ด้วยความที่ปลูกได้เพียงข้าวโพดทำให้ชาวบ้านต้องบุกรุกพื้นที่ป่ามากขึ้น การใช้ยาฆ่าหญ้าและยาฆ่าแมลงที่ทำให้ดินเสีย และการเผาซังข้าวโพด

จากปัญหาที่กล่าวมาจะเห็นว่าปัญหาที่เป็นแกนหลักของเรื่องนี้คือปัญหาการขาดแคลนน้ำ  ซึ่งปัญหานี้จะสามารถแก้ไขได้โดยการทำฝายชะลอน้ำเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงหน้าแล้ง

โดยตั้งแต่ปี 2561 – 2564 ค่ายวิศวพัฒน์ได้ทำการลงพื้นที่ต่อเนื่องและได้สร้างฝายกักน้ำ ฝายดักตะกอน ฝายน้ำบริโภคและมีการต่อท่อเข้าพื้นที่การเกษตรของชาวบ้านเป็นระยะทางร่วม 1.4 กม. ซึ่งจากการทำฝายดังกล่าวให้กับพื้นที่ แต่เดิมชาวบ้านปลูกข้าวโพด 100 %  จนปัจจุบันการใช้พื้นที่ปลูกข้าวโพดลดลง โดยชาวบ้านได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกโดยหันมาปลูกไม้ยืนต้น เช่น ทุเรียน  โกโก้ อินทผาลัม ฯลฯ

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดกิจกรรม CSR มอบอุปกรณ์กีฬาและอุปกรณ์การเรียน พร้อมทั้งมอบและติดตั้งเครื่อง Sensor ตรวจวัดสภาพอากาศ มลภาวะและค่าฝุ่น PM 2.5 ภายใต้โครงการ Sensor for all ปีที่ 4 ณ จังหวัดพังงา

เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2565 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.เกษม ชูจารุกุล รองคณบดี พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร.ไพศาล กิตติศุภกร รองคณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.เสวกชัย ตั้งอร่ามวงศ์ ผู้ช่วยคณบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐ์ ลีละวัฒน์ ผู้ช่วยคณบดี นางสงวน ภู่ระหงษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร และบุคลากร ได้ไปทำกิจกรรม CSR มอบอุปกรณ์กีฬาและอุปกรณ์การเรียน พร้อมทั้งมอบและติดตั้งเครื่อง Sensor ตรวจวัดสภาพอากาศ มลภาวะและค่าฝุ่น PM 2.5 ภายใต้โครงการ Sensor for all ปีที่ 4 ณ จังหวัดพังงา โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม CSR เพื่อลดปัญหามลพิษ รักษาสิ่งแวดล้อมและช่วยเหลือสังคมอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสังคม และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ Sensor for all ตลอดจนสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างหน่วยงานและองค์กรที่แข็งแกร่งในอนาคต โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • คณะวิศวกรรมศาสตร์มอบและติดตั้งเครื่อง Sensor ตรวจวัดสภาพอากาศ มลภาวะและค่าฝุ่น PM 2.5 ภายใต้โครงการ Sensor for all ปีที่ 4 ณ ศูนย์ราชการจังหวัดพังงา โดยมีนายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา และนายเถลิงศักดิ์ นุชประหาร รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา เป็นผู้รับมอบและให้การต้อนรับ
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์มอบและติดตั้งเครื่อง Sensor ตรวจวัดสภาพอากาศ มลภาวะและค่าฝุ่น PM 2.5 ภายใต้โครงการ Sensor for all ปีที่ 4 ณ สถานีตำรวจชุมชนวังหม้อแกง
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์มอบอุปกรณ์กีฬาและอุปกรณ์การเรียน พร้อมทั้งมอบและติดตั้งเครื่อง Sensor ตรวจวัดสภาพอากาศ มลภาวะและค่าฝุ่น PM 2.5 ภายใต้โครงการ Sensor for all ปีที่ 4 ณ โรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง โดยมี นางศุภรัตน์ ทรายทอง ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง เป็นผู้รับมอบและให้การต้อนรับ
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์มอบอุปกรณ์กีฬาและอุปกรณ์การเรียน ณ โรงเรียนเกาะปันหยี โดยมีนางพนารัตน์ สุรียพันธุ์ รักษาราชการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเกาะปันหยี และนายไพศาล วารีศรี อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนเกาะปันหยี เป็นผู้รับมอบและให้การต้อนรับ
  • กิจกรรมปล่อยปูสู่ทะเล ณ ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ เกาะปันหยี

โดยกิจกรรม CSR ที่ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์จัดขึ้นเป็นกิจกรรมที่มุ่งส่งเสริม Sustainable Development Goals (SDGs) ในเป้าหมายที่ 3 : การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี เป้าหมายที่ 4 : รับรองการศึกษาที่เท่าเทียมและทั่วถึง ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่ทุกคน และเป้าหมายที่ 11 : ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความครอบคลุม ปลอดภัย มีภูมิต้านทานและยั่งยืน

ทั้งนี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้สอบถามความคิดเห็นของคนในชุมชนต่อกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) ซึ่งสรุปความเห็นโดยรวมได้ ดังนี้

การติดตั้ง Sensor ตรวจวัดสภาพอากาศ มลภาวะและค่าฝุ่น PM 2.5 ให้กับสถานที่ทั้ง 7 แห่ง นั้น สมาชิกในชุมชนมีความเข้าใจถึงประโยชน์ของการติดตั้ง Sensor ตรวจวัดสภาพอากาศ มลภาวะและค่าฝุ่น PM 2.5  ซึ่งจะทำให้มีข้อมูลสำหรับวางแผนพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาคุณภาพอากาศได้ เป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของทุกคนในชุมชนให้ดีขึ้น

เนื่องจากสภาพแวดล้อมในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป ทำให้ทรัพยากรทางทะเลเสื่อมโทรมลงอย่างมากและรวดเร็ว ส่งผลกระทบให้ปูในทะเลมีการขยายพันธุ์น้อยลง เนื่องจากกสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย  ดังนั้น การปล่อยพันธุ์ปูสู่ทะเลจึงเป็นการเพิ่มจำนวนปูให้มีปริมาณมากขึ้น เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเล ประชาชนได้มีปูไว้บริโภคและสร้างรายได้  อีกทั้ง เพื่อให้บุคลากรของคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และเล็งเห็นถึงความสำคัญของทรัพยากรทางทะเล จึงจัดกิจกรรมปล่อยปูสู่ทะเล ณ บริเวณพื้นฐานของศูนย์อนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ เกาะปันหยี จ.พังงา

บุคลากรและนักเรียนโรงเรียนทั้ง 4 แห่ง มีความประทับใจต่อกิจกรรมการมอบอุปกรณ์การเรียนและอุปกรณ์กีฬาเป็นอย่างมาก ทำให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอน และนักเรียนเห็นคุณค่าของการออกกำลังกาย ส่งเสริมให้พัฒนาทักษะด้านวิชาการและด้านกีฬา  อีกทั้งยังได้รับความรู้ความเข้าใจเรื่องมลภาวะและค่าฝุ่น PM 2.5 อีกด้วย

#ChulaEngineering #InnovationTowardSustainability
#SensorForAll

วิศวฯ จุฬาฯ ในสื่อ : “เคอร์เซอร์-1 จรวดความเร็วเสียง” ผลงานเด็กไทยคว้ารางวัลระดับสากล

วิศวฯ จุฬาฯ ในสื่อ : “เคอร์เซอร์-1 จรวดความเร็วเสียง” ผลงานเด็กไทยคว้ารางวัลระดับสากล

นาย ภูวิศ เชาวนปรีชา (เอิร์ท) ประธานชมรม CUHAR นาย พีรวิชญ์ จิระคุณากร (โอ๊ค) นางสาว รชยา ดีเลิศกุลชัย (ไอโกะ) และ นางสาว พรธีตรา รัตนพันธุ์ศรี (ชิงชิง) ผู้แทนทีม CUHAR – Chulalongkorn University High Altitude Research Club ให้สัมภาษณ์ นิสิตหลักสูตรวิศวกรรมนานาชาติ ISE Aerospace Engineering รุ่นที่ 15 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์ผ่านทางรายการข่าวค่ำ ช่อง TNN16 เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2565

ในโอกาสที่ทีม CUHAR ได้รับรางวัลระดับโลกจากการร่วมแข่งขันจรวดความเร็วเสียงระดับนานาชาติ “Spaceport America Cup 2022” ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 23-25 มิถุนายน 2565 ณ เมืองลาสครูเซส รัฐนิวเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา

Chulalongkorn University Research Sounding Rocket 1 หรือ CURSR-I (Cursor One) จรวดลำแรกของทีม CUHAR – Chulalongkorn University High Altitude Research Club และ ลำเดียวจากประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย ที่ได้รับคัดเลือกเป็น Runner Up ของ รางวัล Dr.Gil Moore Award ด้านความเป็นเลิศแห่งนวัตกรรมการออกแบบ (ร่วมกับทีมจาก Cornell University, USA และ University of Leeds, UK) ในงานแข่งขัน Spaceport America Cup 2022 ซึ่งเป็นงานแข่งขันวิศวกรรมจรวดระดับอุดมศึกษาที่ใหญ่ที่สุดในโลก

รับชมคลิปสัมภาษณ์ได้ที่
https://www.youtube.com/watch?v=EXzP74Z8Z5E

ขอขอบคุณที่มา : TNN16

รายละเอียดเพิ่มเติม

http://www.ise.eng.chula.ac.th/news/detail?id=1552&gid=1-008-002-001

ขยายเวลารับผู้สนใจสมัครเรียนโครงการ Chula Engineering สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) รอบที่ 2

ขยายเวลารับผู้สนใจสมัครเรียนโครงการ Chula Engineering
สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) รอบที่ 2
ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2565 ในรายวิชา ดังต่อไปนี้

1 ชื่อรายวิชา Environmental Trend, Technology, and Innovation
2 ชื่อรายวิชา Integrated Water Resources Management
3 ชื่อรายวิชา Dynamics of Structures
4 ชื่อรายวิชา Carbon credits for oil and gas business sector
5 ชื่อรายวิชา New CO2 and Methane emissions target for oil and gas industries
6 ชื่อรายวิชา Carbon farming strategies
7 ชื่อรายวิชา Carbon Action Partnership

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่เว็บไซต์ https://www.eng.chula.ac.th/th/academics/lifelong-learning-program

#ChulaEngineering #LifelongLearning #ACTNOW

ขอแสดงความยินดีกับนิสิตที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จากกิจกรรมการแข่งขันนำเสนอผลงานในโครงการ The Comprehensive Course in Japanese Business Innovation Program 2022

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีกับนิสิตที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จากกิจกรรมการแข่งขันนำเสนอผลงานในโครงการ The Comprehensive Course in Japanese Business Innovation Program 2022 ภายใต้หัวข้อ Innovation for Touchless Society (นวัตกรรมเพื่อสังคมไร้การสัมผัส) จัดโดยหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพ (JCC) เมื่อวันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน 2565 ณ โรงแรม The Landmark Bangkok (ห้อง Ballroom ชั้น 7) ภายในงานประกอบด้วยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตัดสินการประกวดแข่งขัน ได้แก่ คุณสุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ คุณเทตซึยะ โฮริอิ ประธานคณะกรรมการฝ่ายการพัฒนาบุคลากร หอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ คุณโนบูยูกิ อิชิอิ กรรมการผู้จัดการ หอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ คุณโมริฮิโระ อุตสึกิ รองเลขาธิการ หอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ คุณพรชัย ยงวัฒนสุนทร กรรมการบริหาร สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)

กิจกรรมในครั้งนี้มีผู้แทนนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ผ่านการคัดเลือก เข้าร่วมการแข่งขันจำนวน 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม Apple Consulting และ กลุ่ม วิศวะรวมใจ โดยกลุ่มที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ กลุ่ม Apple Consulting นำเสนอผลงานชื่อ “Physible” เป็นแนวคิดในการรักษาอาการเจ็บป่วยทางกายภาพโดยปราศจากการสัมผัส เนื่องจากในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ทำให้ผู้ป่วยที่ต้องพบนักกายภาพบำบัดทำได้ลำบาก กลุ่มจึงมีแนวคิดพัฒนาอุปกรณ์สำหรับการออกกำลังกายเพื่อแก้ปัญหาทางกายภาพที่สามารถวัดแรงได้ มาพร้อมกับแอพพลิเคชั่นที่จะสามารถสร้างรูปแบบการออกกำลังกายเพื่อป้องกันและใช้กับผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรงมาก โดยจะตรวจสอบว่าการออกกำลังกายนั้นทำได้อย่างถูกต้องหรือไม่

ชื่อทีม : Apple Consulting (รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2)
ผลงาน : Physible
สมาชิกกลุ่ม :

  1. นายไมโล อรินทร์พล ศรีภคากร ชั้นปีที่ 2 คณะวิศวกรรมศาสตร์
  2. นายยศพนธ์ เกรียงศิริพงศ์ ชั้นปีที่ 2 คณะวิศวกรรมศาสตร์
  3. นางสาวรมิดา เทียนมหาสาทิศ ชั้นปีที่ 2 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
  4. นางสาวนภัสสร อามินเซ็น ชั้นปีที่ 2 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

ชื่อทีม : วิศวะรวมใจ
ผลงาน : Shed-to
สมาชิกกลุ่ม :

  1. นางสาวเมธาพร เสือป่า ชั้นปีที่ 2 คณะวิศวกรรมศาสตร์
  2. นางสาวชิดชนก นามเจริญ ชั้นปีที่ 2 คณะวิทยาศาสตร์
  3. นายนพรุจ พูลทรัพย์อนันต์ ชั้นปีที่ 2 คณะวิศวกรรมศาสตร์
  4. นายสายสินธ์ รุ่งโรจน์ทรัพย์ ชั้นปีที่ 2 คณะวิศวกรรมศาสตร์
  5. นายสิทธิชัย รุ่งบรรณาพันธ์ ชั้นปีที่ 2 คณะวิศวกรรมศาสตร์

พิธีปิดค่ายฟันเฟืองสานฝัน ครั้งที่ 20 ณ โรงเรียนพนมทวนชนูปถัมภ์ จังหวัดกาญจนบุรี

เมื่อวันที่ 22-24 มิถุนายน 2565 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สรรเพชญ ชื้อนิธิไพศาล รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต อาจารย์ ดร.สุรัฐ ขวัญเมือง ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กิจการนิสิตได้เดินทางไปเยี่ยมเยียนและเข้าร่วมพิธีปิดค่ายฟันเฟืองสานฝัน ครั้งที่ 20 ณ โรงเรียนพนมทวนชนูปถัมภ์ จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งได้รับการต้อนรับจากคณาจารย์โรงเรียนพนมทวนชนูปถัมภ์ต้อนรับอย่างอบอุ่น โดยกิจกรรมครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากโรงเรียน นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี

ค่ายฟันเฟืองสานฝัน ครั้งที่ 20 เป็นค่ายสอนหนังสือ สร้างความรู้ความเข้าใจ แนะแนวทางในการศึกษาต่อในคณะวิศวกรรมศาสตร์ และสร้างแรงบันดาลใจให้กับน้อง ๆ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จัดโดยนิสิตชมรมวิชาการ คณะวิศวกรรมศาสตร์

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างบริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศูนย์เชี่ยวชาญพิเศษเฉพาะด้านเทคโนโลยีไฟฟ้ากำลัง คณะวิศวกรรมศาสตร์

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2565 รองศาสตราจารย์ ดร.แนบบุญ หุนเจริญ รักษาการแทนผู้อำนวยการ ศูนย์เชี่ยวชาญพิเศษเฉพาะด้านเทคโนโลยีไฟฟ้ากำลัง คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างบริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศูนย์เชี่ยวชาญพิเศษเฉพาะด้านเทคโนโลยีไฟฟ้ากำลัง คณะวิศวกรรมศาสตร์ ณ ห้องประชุมสวนรวมใจ 2 ตึก 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วิจารณ์ หวังดี นักวิจัยอาวุโส ศูนย์เชี่ยวชาญพิเศษเฉพาะด้านเทคโนโลยีไฟฟ้ากำลัง พร้อมด้วยคณาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า และนายเกรียงไกร อยู่ยืน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ฝ่ายส่งเสริมคุณภาพองค์กรและพนักงาน บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ร่วมเป็นสักขีพยาน

บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างบริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ ศูนย์เชี่ยวชาญพิเศษเฉพาะด้านเทคโนโลยีไฟฟ้ากำลัง คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันศึกษาความเป็นไปได้เพื่อพัฒนาความรู้ทางวิชาการ พัฒนาบุคลากร และพัฒนาองค์ความรู้ในการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับไฟฟ้าและพลังงาน

บทความทางวิชาการ : จากวิกฤตพลังงานโลก: ทราบแล้วเปลี่ยน สู่การบริโภคที่ยั่งยืน

จากวิกฤตพลังงานโลก: ทราบแล้วเปลี่ยน สู่การบริโภคที่ยั่งยืน
.
โดย รัชนัน ชำนาญหมอ1, ดร.ทักษิณา โพธิ์ใหญ่1, ดร.ณัฐวิญญ์ ชวเลิศพรศิยา1 และศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล2.
.
1คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติและเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
.
พฤติกรรมการบริโภคอย่างยั่งยืน : กำลังเป็น 1 ในกลไกสำคัญที่จะนำพา ไม่เฉพาะคนไทย และเป็นประชากรโลกกว่า 7 พันล้านคน มีภูมิต้านทานในช่วงวิกฤตพลังงานโลก ที่น่าจะอยู่กับพวกเราไปอีกระยะนึงเลยทีเดียว
.
บทความวิชาการฉบับนี้ จึงได้ถูกเขียนขึ้นบนความมุ่งมั่นและตั้งใจอย่างยิ่งของผู้เขียน ที่จะส่งต่อแนวทางการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากที่สุด (ทั้งในและต่างประเทศ) ซึ่งผลประโยชน์ไม่ได้เกิดกับเราและครอบครัวของเราเท่านั้น แต่ยังส่งผลดีต่องบประมาณโดยรวมของประเทศ และที่สำคัญ ยังเป็นแรงขับเคลื่อนหลักในการนำพาพวกเราไปสู่ ความเป็นกลางทางคาร์บอน ในปี 2050 อีกด้วย
.
ขอฝากทุกท่านที่มีโอกาสได้เห็น ข้อความและบทความวิชาการชิ้นนี้ :
1) ช่วยกันลงมือปรับเปลี่ยนเล็ก ๆ น้อย ๆ ในแบบที่เราพอทำได้ และ
2) ส่งต่อและร่วมเผยแพร่เรื่องราวดี ๆ ในบทความนี้ ในวงกว้าง เพื่อเรา เพื่อโลก และเพื่อคนรุ่นต่อไป ครับ
.
ขอบคุณครับ
ทีมผู้เขียน

อ่านบทความทางวิชาการ : จากวิกฤตพลังงานโลก: ทราบแล้วเปลี่ยน สู่การบริโภคที่ยั่งยืน
ได้ที่ https://anyflip.com/dfaj/waps/

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้

บันทึกการตั้งค่า